วันพุธ, เมษายน 24, 2024

TDRI เผย ทำอย่างไร เมื่อไทยกำลังโต ในสินค้าที่กำลังจะตาย

บทความโดย : ศศิพงศ์ สุมา นักวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)   การส่งออกเป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย แต่ที่น่าสนใจคือ เครื่องยนต์หลักเครื่องนี้กลับทำงานช้าลงในปัจจุบัน เนื่องจากสินค้าส่งออกหลายอย่างของไทยเป็นสินค้าตกรุ่น สะท้อนภาพชัดเจนว่า “ไทยกำลังโต ในสินค้าที่กำลังจะตาย” เพราะไทยยังขาดการพัฒนาสินค้า และมีมูลค่าต่ำ ในระยะนี้และต่อจากนี้ เราจึงจะได้ยินคำว่า “ยุทธศาสตร์ชาติการค้า” มากยิ่งขึ้น จากความตั้งใจขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ดังกล่าว โดยสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นหน่วยงานหลักที่ร่วมกับทีดีอาร์ไอ ปักธง ดันไทยเป็นชาติการค้า...

จาก GPS …ถึงขนส่งข้ามแดนแลกรถ 500 คัน สะดุดตอกึก !

ขณะที่รัฐบาลกำลังป้ำผีลุกปลุกผีนั่งกับสารพัดมาตรการล้อมคอกความปลอดภัยทางถนน ไล่ดะตั้งแต่มาตรการที่ถูกสังคมเปรียบเปรยเป็นระดับชุมชนจนถึงระดับชาติ ที่ขนาดนายกฯลุงตู่ยังต้องงัด ม.44 หวังเป็นกฎหมายบังคับลดอุบัติเหตุบนท้องถนน อีกทั้งยังเป็นการพุ่งชนเป้าหมายหวังให้ไทยสลัดอาการอับอายชาวโลกกรณีติดอันดับ 2 คนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุดในโลกให้จงได้   การติดตั้ง GPS อีกหนึ่ง “มาตรการล้อมคอก” ที่ขนส่งออกข้อบังคับให้รถโดยสารสาธารณะทุกประเภทและรถตู้ (ยกเว้น รถสองแถว, รถหมวด 4 และรถหมวด 1 ภูมิภาค) รถลากจูง และรถบรรทุกขนาดใหญ่ (10 ล้อขึ้นไป) ที่จดทะเบียนใหม่ตั้งแต่...

ผู้บริหาร “ขัดตาทัพ” จากรถไฟ….ถึงการบินไทย!

แม้ที่ผ่านมารัฐบาล คสช.ชุดนี้จะพยายามทำคลอดนโยบายเร่งรัดการลงทุนมากมาย ทั้งการให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีต่างๆ การปลดล็อคกฎหมายที่เกี่ยวข้องและโดยเฉพาะล่าสุดการปลุกเขตเศรษฐกิจพิเศษในภาคตะวันออก หรือ“อีอีซี” แต่กระนั้นดูเหมือนเครื่องยนต์ลงทุนของภาคเอกชนยังสตาร์ทไม่ติด  ขณะที่เครื่องยนต์ในภาคส่งออกที่คาดหวังว่าจะพลิกฟื้นกลับมาในปีนี้ ก็ยังดูจะริบหรี่จากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ยังไม่ฟื้นตัวดีนัก แถมยังเกิดความตรึงเครียดในภูมิภาคต่างๆ ขึ้นมาด้วยอีก ทั้งยังเจอกับฤทธิเดชความบ้าระห่ำของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่เที่ยวอาละวาดฟาดหางเศรษฐกิจโลกเข้าให้อีก ความหวังเดียวของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยามนี้จึงพุ่งเป้าไปที่การลงทุนของภาครัฐ และภาคการท่องเที่ยว โดยเฉพาะในส่วนของโครงการลงทุนของรัฐและรัฐวิสาหกิจทั้งหลายแหล่ แต่เมื่อสแกนลงไปยังหน่วยงานรัฐวิสาหกิจต่างๆ ที่ถือเป็นกลไกหลักของการขับเคลื่อนโครงการลงทุนของรัฐทั้งหลาย หลายฝ่ายต่างแสดงความกังวลเพราะวันนี้ล้วนอยู่ในสภาพขาดหัวเรือต่างต้องอาศัยผู้บริหาร “ขัดตาทัพ” ขับเคลื่อนองค์กรแทบทั้งสิ้น! รถไฟ-รฟม. ส่อลากยาวกระบวนการสรรหา ไล่ดะมาตั้งแต่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ที่ก่อนหน้านายกฯและหัวหน้า คสช. เพิ่งงัด ม.44 ปลดกราวรูดทั้งบอร์ดและผู้บริหารการรถไฟฯ...

คลี่สัมปทานพิสดารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนขยาย

เปิดเส้นทางสุดพิสดารสัมปทานรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ก่อนรัฐประเคนโครงการ 8.3 หมื่นล้านให้กลุ่มช.การช่างแถมงุบงิบต่อสัมปทานรถไฟฟ้าใต้ดินเดิมให้อีก 45 ปี พร้อมปิดทางป.ป.ช.-สตง.ขุดคุ้ย หลังจากนายวิลาศ จันทรพิทักษ์ อดีต ส.ส.ปชป.ออกโรงแฉเส้นทางสุดพิสดารโครงการรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ที่มติคณะรัฐมนตรี (ครม.)เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2560 ได้ให้ความเห็นชอบอนุมัติผลการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในโครงการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย(หัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ตามที่กระทรวงคมนาคมนำเสนอ โดยเห็นชอบให้เอกชนรายเดิมคือบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ...

‘Uber’แลกหมัด ‘ขนส่ง’ ท้ารัฐผ่าตัดใหญ่ “กม.ไดโนเสาร์”

ยังเป็น Talk of the town ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์สนั่นตามหน้าสื่อหลักและขยายกินพื้นที่สื่อในโลกออนไลน์ไม่เลิกหลังเจ้าหน้าที่ขนส่งสนธิกำลังทหารตำรวจตบเท้าปฏิบัติการในหลายพื้นที่เมืองกรุงล่อซื้อจับกุมรถโดยสารสาธารณะอูเบอร์(Uber)ที่นัยว่าเพียงวันเดียวจับกุมไปถึง 18 คันแล้วทำการเปรียบเทียบปรับ 2 ข้อหาตามพรบ.รถยนต์ 2522 ทั้งข้อหาใช้รถไม่ตรงตามประเภทที่ได้จดทะเบียน และข้อหาใช้รถโดยไม่จดทะเบียนทำการบันทึกจดทำประวัติแล้วสั่งอบรมเข้มข้อกฎหมาย ก่อนที่จะขยายผลล่อซื้อตามหัวเมืองหลักทั่วประเทศ แท้จริงแล้วปมปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และแม้จะเกิดขึ้นซ้ำซากเพียงใดขนส่งก็ยังยืนนั่งยันว่า “ผิดกฎหมาย” ไม่ยอมให้จดทะเบียนดำเนินการเป็นอันขาด ทางกลับกันขนส่งเองก็ยังแก้ไม่ตกกับการกำกับดูแลและล้มเหลวในการแก้ปัญหารถแท็กซี่ในกำกับหลายแสนคัน ทั้งพฤติกรรมปฏิเสธรับผู้โดยสาร ไล่ผู้โดยสารลงกลางทาง แสดงวาจาไม่สุภาพ ขาดวินัยที่ดีในการขับรถ โกงมิเตอร์...

คลี่สัมปทานพิสดารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนขยาย

เปิดเส้นทางสุดพิสดารสัมปทานรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ก่อนรัฐประเคนโครงการ 8.3 หมื่นล้านให้กลุ่มช.การช่างแถมงุบงิบต่อสัมปทานรถไฟฟ้าใต้ดินเดิมให้อีก 45 ปีพร้อมปิดทางป.ป.ช.-สตง.ขุดคุ้ย มติคณะรัฐมนตรี (ครม.)เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2560 ที่ผ่านมากับการอนุมัติผลการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในโครงการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย(หัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ตามที่กระทรวงคมนาคมนำเสนอ โดยเห็นชอบให้เอกชนรายเดิมคือบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM (เครือ ช.การช่าง)...

ยกเครื่องรถไฟ…ต้องไปให้สุดซอย

หลังจาก “บิ๊กตู่-พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกฯและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) งัด ม.44 ปลดฟ้าผ่าผู้ว่าการการรถไฟฯและสั่งโละบอร์ดรฟท.ชุดเดิมยกกระบิก่อนตั้งบอร์ดรถไฟฯชุดใหม่เข้ามาโม่แป้งขับเคลื่อนองค์กรรถไฟ   พร้อมตั้งคณะกรรมการชุดพิเศษหรือ “ซุปเปอร์บอร์ด” ที่มี นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล อดีตผู้ว่าการแบงก์ชาติเป็นประธาน ขึ้นมากำกับดูแลการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจที่มีวงเงินเกิน 5,000 ล้านบาทเพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ประเดิมด้วยโครงการประมูลก่อสร้างรถไฟรางคู่ 7 โครงการมูลค่ากว่า 1.36 ล้านบาท ทุกฝ่ายต่างคาดหวังจะเห็นเหลือบไรในการรถไฟถูกขจัดให้หมดสิ้นไปเสียที!   การใช้อำนาจ ม.44 ปลดกราดรูดผู้ว่ารถไฟและสั่งโละบอร์ดรถไฟยกชุดทั้งยังสั่งให้“ซุปเปอร์บอร์ด” เข้าไปตรวจสอบการดำเนินโครงการรถไฟรางคู่ 7...

“ดาบสองคม” ผุดซูเปอร์บอร์ดคุมจัดซื้อ ตอกย้ำนโยบาย Drifting Policy

 ทันทีที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ใช้อำนาจตาม ม.44 ออกคำสั่ง คสช.ที่10/2560 ล้างบางคณะกรรมการ(บอร์ด)การรถไฟแห่งประเทศไทย และปลด “นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร” พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟฯก่อนแต่งตั้ง อานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รองอธิบดีกรมทางหลวง เป็นรักษาการผู้ว่าการการรถไฟฯ ทั้งยังออกคำสั่งคสช.ที่ 11/2560 จัดตั้งคณกรรมการชุดพิเศษ(ซูเปอร์บอร์ด) ขึ้นมากำกับการจัดซื้อจัดจ้างในโครงการที่มีมูลค่า 5,000 ล้านบาทขึ้นไปเพื่อป้องกันการทุจริต โดยมีนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เป็นประธาน ให้คณะกรรมการชุดพิเศษเข้าไปดูขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างของโครงการที่เข้าข่าย ประเดิมด้วยการสั่งให้สแกนโครงการประมูลก่อสร้างรถไฟทางคู่ 7...

ย้อนรอย 4 คดีอื้อฉาว! บทเรียนไล่เบี้ยความรับผิดทางละเมิดก่อนฟัน “จำนำข้าว”

  ย้อนรอย 4 คดีอื้อฉาวที่รัฐงัดพรบ.ความรับผิดทางละเมิดฯปี 2539 ไล่เบี้ยความเสียหายนักการเมือง-ขรก.ก่อน “ลุงตู่” งัดคำสั่งทางปกครองเจริญรอยตาม ทั้งเรือขุดเอลลิคอตต์-คลองด่าน-ดับเพลิง กทม. และสวอปค่าเงินธปท. เผยนับ 10 ปีนับแต่มีกฎหมายนี้ยัง “จั่วลม” ไม่ได้คืนสักบาท หลังจากนายกฯและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)สั่งให้หน่วยงานรัฐออกคำสั่งทางปกครองตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ พ.ศ.2539 ไล่เบี้ยอดีตนายกฯ “น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ให้ชดใช้ความเสียหายที่เกิดจากโครงการรับจำนำข้าว 35,717  ล้านบาทหรือ 20%...

ขึ้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันเครื่องบิน อีกหนึ่งนโยบายสะท้อน Drifting Policy

เป็นอีกเรื่องที่รัฐบาล “ลุงตู่” เสียรู้คลัง ด้วยความเป็นนายทหารมืออาชีพที่ไม่มีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ เลยทำให้นายกฯ หวังพึ่ง “ทีมเศรษฐกิจ” ของรัฐบาลที่มี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ เป็นหัวหน้าทีม เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนนโยบายรัฐ ซึ่งที่ผ่านมาหลายต่อหลายนโยบายต้องถูกแทรกแซง เผชิญแรงเสียดทาน อย่างนโยบายปราบปรามทัวร์ศูนย์เหรียญ ทลายเครือข่ายทัวร์ศูนย์เหรียญที่ทำลายภาพพจน์การท่องเที่ยวไทยที่รัฐบาลงัด ม.44 ดำเนินการปราบปรามอย่างจริงจังนั้น ก็เผชิญกับแรงเสียดทานจากเครือข่ายกลุ่มธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำและสัมปทานร้านปลอดภาษี ที่นัยว่ามีการอุปโลกน์ข้อมูลนักท่องเที่ยวได้โยกย้ายไปทัวร์ยุโรปและเพื่อนบ้าน แต่ด้วยความมุ่งมั่นของรัฐก็ไดพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ไม่ได้ทำให้การท่องเที่ยวไทยทรุดฮวบจนกอบกู้ไม่ได้ ล่าสุดสถานการณ์ท่องเที่ยวจากจีนเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติและทะยานกลับขึ้นมาเป็นบวกอีกครั้งแล้ว พร้อมกับความคาดหวังที่รัฐบาลเชื่อมั่นว่าการท่องเที่ยวในปีนี้จะกลับมาเป็นกลไกหลักของการขับเคลื่อนประเทศได้อีกครั้ง แต่กระนั้นก็ดูเหมือนนโยบายดังกล่าวกำลังเผชิญกับแรงเสียดทานอย่างหนักจากการดำเนินนโยบายด้านการเงินการคลังของรัฐที่กำลังจ่อ “ถังแตก”...