อุ้มแบงก์ควบรวม…ความเหมือนที่แตกต่างกับมือถือ!

0
169
เป็นไปตามคาด…
หลังถูกนักวิชาการ “ทีดีอาร์ไอ” และเครือข่ายเอ็นจีโอดาหน้าถล่มความพยายามของรัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ที่จะออกม.44 ออกมาตรการเยียวยาให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลและมือถือพักชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามที่กสทช.เสนอ
โดยระบุว่าเป็นการยกผลประโยชน์ของประเทศชาติไปให้เอกชนบ้าง เป็นการทุจริตเชิงนโยบายไม่สอดรับกับการปฏิรูปบ้าง บริษัทมือถือมีกำรี้กำไรจะไปอุ้่มสมกันทำไม จนทำให้หัวหน้าคสช.ต้องถอยกรูด ท้ายที่สุดที่ประชุมคสช.ต้องยอมถอยกรูดทำคลอดได้แต่มาตรการเยียวยาผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลเท่านั้น ส่วนผู้ประกอบการมือถือนั้นยังต้อง “หาวเรอ” รอกันไปก่อน 
ก็ให้น่าแปลก ขณะที่รัฐบาลและนักวิชาการแสดงความกังวลต่อการที่จะงัดม.44 ช่วยเหลือผู้ประกอบการมือถือ ด้วยข้ออ้างที่ว่า ผู้ประกอบการมือถือยังคงสามารถประกอบการมีกำรี้กำไรและยังคงอยู่ในสถานะที่จะจ่ายค่าธรรมเนียมประมูลคลื่นความถี่ได้ จึงไม่มีเหตุผลที่รัฐจะงัดมาตรการอุ้มสมเอกชน  
แต่วันวานคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 17 เมษายน 61 กลับไฟเขียวอนุมัติมาตรการสนับสนุนการควบรวมกิจการธนาคารพาณิชย์ โดยให้ยกเว้นภาษีและค่าธรรมเนียมสารพัดเพื่อสนับสนุนการควบรวมแบงก์หรือโอนกิจการระหว่างกันตามที่กระทรวงการคลังเสนอ 
ประกอบด้วยการยกเว้นภาษีเงินได้ให้ผู้ถือหุ้น ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์สำหรับการควบรวม การให้หักค่าใช้จ่ายที่เกิดข้ึนจากการควบรวมตั้งแต่ 1.25 ไปจนถึง 2 เท่าและยังมีมาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิภายใต้ประมวลกฎหมายที่ดิน ค่าธรรมเนียมการโอนทะเบียนรถ และค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเครื่องจักรตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องจักรอะไรต่อมิอะไรอีกเป็นกระตั๊ก  
คำถามก็คือที่ผ่านมาสถานะแบงก์ขาดทุนบักโกรกกระนั้นหรือ? แบงก์ประสบปัญหาในการทำธุรกิจจนถึงกับต้องประเคนมาตรการต่างๆเหล่านี้ให้กระน้ันหรือ?
เปล่าเลย!ขอโทษขนาดแบงก์จุดพลุฟรีค่าธรรมเนียมสารพัดเอากับลูกค้า ทั้งระบบธนาคารพาณิชย์ยังกำไรทะลัก เฉพาะป ี2560 นั้นทั้งระบบธนาคารพาณิชย์ก็มีกำไรไม่ต่ำกว่า 150,000 ล้านบาทอย่างธนาคารไทยพาณิชย์แม้มีกำไรลดลงจากปีก่อน แต่ก็ทะลักไปถึง 43,000 ล้าน ,แบงก์กรุงเทพ 33,000 ล้านบาท ,กสิกรไทย 34,338 ล้านบาท กรุงศรี 23,200 ล้าน ,ทีเอ็มบี 8,687 ล้าน เอาว่าแค่ 3 แบงก์ใหญ่ก็ฟาดกำไรไปแล้่วกว่า 100,000 ล้าน
ขณะที่ไตรมาสแรกของปี 61 นี้ แบงก์ทั้งระบบก็ยังคงมีกำไรมากกว่า 50,000 ล้านบาท ไทยพาณิชย์โอ่ผลกำไรไตรมาสแรก 11,364 ล้านเพิ่มขึ้น 6.6%จากปีก่อน กสิกรไทย 10,766 ล้านเพิ่มข้ึน 5.84% ธนาคารกรุงศรีอยุธยากำไรไตรมาสแรก 6,200 ล้านเพิ่มขึ้น 10.1% กลุ่มทิสโก้แบงก์ กำไร 1,766 ล้านเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแอกร่ง 18%และธนชาต 3,779ล้านเพิ่มข้ึน 2.86% ส่วนทีเอ็มบี(TMB)ที่บอกอยู่ในเป้าหมายควบรวมด้วยนั้นกำไร 5,109 ล้านเพิ่มข้ึน 7%  (อ้างอิง  https://www.thairath.co.th/content/1261151)
แล้วกระทรวงการคลังและรัฐไปประเคนมาตรการโอบอุ้มแบงก์เพื่ออะไรกันหรือ ยอมสูญเสียเม็ดเงินภาษีและค่าธรรมเนียมเป็น 100 ล้านหรือนับพันล้านให้แบงก์เศรษฐีเหล่านี้เพื่ออะไรกัน
ที่สำคัญมาตรการครม.อนุมัติให้ไปน้ันแตกต่างไปจากที่นักวิชาการ “สุมหัว”ก่นด่าว่ารัฐกำลังอุ้มสมผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลและธุรกิจมือถือตรงไหน? ตรงกันข้ามกับจะหนักกว่าเสียด้วยซ้ำเพราะมาตรการอุ้มสมแบงก์ที่รัฐให้ไปน้ัน มันคือการเถือเนื้อเถือภาษีรัฐโดยตรง ต้องสูญเม็ดเงินภาษีกันเป็น 100 ล้าน 1,000 ล้าน  ขณะที่ส่ิงที่ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลและมือถือร้องขอนั้น ก็แค่ยืดเวลาการจ่ายค่าธรรมเนียมการประมูลออกไปจากเดิม 3-5 ปีเท่านั้น โดยที่รัฐยังคงมีรายได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย ทั้งยังมีรายได้จากดอกเบี้ยจากการยืดเวลาจ่ายค่าธรรมเนียม 1.5% โดยในส่วนของค่ามือถือนั้นกว่า 3,500 ล้านบาท  
ขณะที่มาตรการอุ้มสมแบงก์ที่มติ ครม.ประเคนกันออกไปน้ันมีอะไรที่แบงก์หรือสถาบันการเงินเหล่านี้ให้คืนกลับมาแก่ประเทศบ้างนอกจากอ้างเพื่อความแข็งแกร่งของระบบ ซ่ึงก็ไม่รู้ว่าจะให้แบงก์แข็งแกร่งกันไปถึงไหนอีก ไอ้ที่สัมหัวรีดดอกเบี้ยค่าธรรมเนียมเอาจากประชาชนจนจน “พุงปลิ้น” ปีละนับแสนล้านบาทนี้ยังไม่สาแก่ใจกันอีกหรือ?!!! 
 
:เนตรทิพย์