จีพีเอสซี แจงสี่เบี้ยโต้ “กรณ์” ซื้อหุ้นโกรว์พลังงานไม่ขัดรัฐธรรมนูญ

0
140
จีพีเอสซี แจงสี่เบี้ยโต้ “กรณ์” ซื้อหุ้นโกรว์พลังงานไม่ขัดรัฐธรรมนูญ เป็นการซื้อทรัพย์สินต่างชาติมาเป็นของคนไทย เงินปันผลปีละกว่า6พันล้านก็อยู่ในมือคนไทย และสนองตอบนโยบายรัฐบาลในอีอีซี
นายสุรงค์ บูลกุล ประธานกรรมการ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด(มหาชน) หรือ จีพีเอสซีเปิดเผย ถึงกรณีที่นายกรณ์ จาติกวนิช คัดค้านการเข้าซื้อหุ้นของบริษัท โกลว์ พลังงาน จำกัด(มหาชน) หรือ GLOW ของจีพีเอสซี ว่าการเจรจาซื้อขายหุ้น (ดีล) ครั้งนี้เป็นการซื้อขายเชิงพาณิชย์ตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ซึ่ง จีพีเอสซี ในฐานะผู้ซื้อที่ต้องการเข้าเป็นผู้ถือหุ้น ไม่ใช่ในฐานะเป็นผู้บริหาร และเป็นราคาประเมินจากทั้ง2บริษัทและนักวิเคราะห์ทางการเงินของบริษัทหลักทรัพย์ ที่มีความเป็นกลาง ต่างเห็นตรงกันว่า ราคาที่จะซื้อจะขายมีความเหมาะสม ไม่ ในสถานการณ์ขณะนี้ และไม่มีนอกมีนัยทางการเมืองแต่อย่างใด เพราะเป็นเรื่องของผู้ขายอยากขายและผู้ซื้ออยากซื้อ  แต่หากลูกค้าของโกลว์ ไม่เข้าใจ ก็ต้องเป็นหน้าที่ที่จีพีเอสซีจะต้องชี้แจงทำความเข้าใจ  และยอมรับว่า มีความเป็นห่วงที่ขณะนี้มีความพยายามจะดึงประเด็นนี้ไปเชื่อมโยงกับการเมือง
นายสุรงค์ กล่าวว่า การซื้อขายเพื่อควบรวมกิจการครั้งนี้ หากสามารถเดินหน้าต่อไปได้ เท่ากับว่าเป็นการซื้อทรัพย์สินของต่างชาติให้กลับมาอยู่ในมือของคนไทย และทำตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ประเทศไทยเข้าสู่ไทยแลนด์4.0 และรองรับการลงทุนของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิ เศษภาคตะวันออก(อีอีซี) เพราะอีอีซีคือเป้าหมายของกลุ่มปตท.ธุรกิจของปตท.เกือบทั้งหมดอยู่ในอีอีซี  ปตท.จึงต้องจัดหาพลังงานทุกประเภทให้พร้อม เพื่อการันตีความเชื่อมั่นจากนักลงทุนที่จะเข้ามาในอีอีซีว่ามีพลังงานน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ไฟฟ้าเพียงพอ
ดังนั้น การซื้อขายหุ้นครั้งนี้จึงไม่น่าจะขัดต่อรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 75 (2) ที่ห้ามรัฐวิสาหกิจทำธุรกิจแข่งกับเอกชน เนื่องจากจีพีเอสซีเป็นบริษัทจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และประกอบธุรกิจในลักษณะเอกชน มีประชาชนเป็นผู้ถือหุ้นนับหมื่นราย ที่เป็นผู้มีส่วนได้เสียใน จีพีเอสซีรวมทั้งยังไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กำกับกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 มาตรา 8 และ 72 เนื่องจากส่วนแบ่งการตลาดของทั้ง2 บริษัทเมื่อควบรวมกันแล้วจะมีกำลังการผลิตเพียง 6.9% ของกำลังการผลิตทั้งประเทศ ในขณะที่ประเทศไทยมีผู้ผลิตไฟฟ้ากว่า40 ราย จึงไม่เข้าข่ายการผูกขาดหลังการควบรวมธุรกิจ โดยมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่อันดับ 3 ของประเทศ ทั้งยังมีแหล่งผลิตไฟฟ้าในต่างประเทศทั้งญี่ปุ่น ลาว และพม่า
ขณะเดียวกัน ผู้ถือหุ้น 99.98% ของจีพีเอสซี ก็ได้ให้ความ เห็นชอบให้ธุรกรรมนี้ได้ และยืนยันว่าการดำเนินการไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นการซื้อทรัพย์สินในส่วนธุรกิจไฟฟ้าบริษัท เอ็นจี้ โกลบอล เดเวลลอปเม้นท์ จำกัด ในฐานะบริษัทแม่ที่ถือหุ้นอยู่ในโกลว์ จึงเท่ากับเป็นการซื้อหุ้นจากต่างชาติกลับมาประเทศ ที่มีเงินปันผล 5,000-6,000  ล้านบาท ต่อปี ก็อยู่ในประเทศไทยไม่ไหลออกนอกประเทศเพราะแบ่งปันให้ผู้ถือหุ้น

สำหรับ ประเด็นที่มีความเป็นห่วงว่าเมื่อควบรวมกิจการกันแล้ว กำลังการผลิตรวมกว่า4,800 เมกกะวัตต์ จะทำให้กลุ่มปตท.ผูกขาดกำลังการผลิตไฟฟ้าที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดจังหวัดระยอง  ขอยืนยันว่าจีพีเอสซี  เราไม่มีเจตนาที่จะผูกขาดธุรกิจการผลิตไฟฟ้าในพื้นที่มาบตาพุด เพราะเราไม่ได้ความสามารถในการดำเนินงานมากขนาดนั้น เนื่องจากแนวโน้มธุรกิจมีการเปิดเสรี ทำให้มีผู้ผลิตไฟฟ้าหลายราย ลูกค้ามีทางเลือก อีกทั้งธุรกิจไฟฟ้าไม่ใช่ธุรกิจปกติ ถ้าคนไม่ใช่ก็สูญ เก็บไม่ได้ ถ้าไม่มีคนซื้อก็เจ๊ง
“ในพื้นที่มาบตาพุดมีทั้งบริษัท บีแอลซีพี พาวเวอร์ จำกัด หรือBLCP บริษัท บางกอกโคเจนเนอเรชั่น จำกัด การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และบริษัทในกลุ่มเครือปูนซิเมนต์ไทย หรือเอสซีจี ซึ่งจีพีเอสซื้อก็  ได้ทำหนังสือแจ้งกลุ่มปูนซิเมนต์ไทย และเอกชนรายอื่นรวมถึงคณะกรรมกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เพื่อยืนยันไม่ต้องการสร้างความได้เปรียบเสียเปรียบในพื้นที่ เพราะไม่ใช่เป้าหมายของธุรกิจ จึงไม่มีความจำเป็นที่จีพีเอสซี  ต้องดำเนินการเช่นนั้น แต่เราดำเนินการภายใต้หลักความยุติธรรม อีกทั้งผมได้เข้าชี้แจงกรณีดังกล่าวแก่กลุ่มปูนซิเมนต์ และบริษัท ดาวเคมิคอล ประเทศไทย จำกัด เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันเมื่อวันที่ 18ก.ย.ที่ผ่านมา ”