ถอดรหัสความสำเร็จ ‘เอสซีจี โลจิสติกส์’ขับเคลื่อนด้วยพลังดิจิทัล

0
494

“โลจิสติกส์” กลายเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่หลายคนจับตามอง เพราะเมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ธุรกิจขนส่งกลายเป็นส่วนหนึ่งงานบริการที่ต้องการความทันสมัย สะดวก รวดเร็ว แม่นยำ เอสซีจี โลจิสติกส์ เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ต้องพยายามก้าวเท่าทันโลกตลอดเวลาเช่นกัน จึงผลักดันด้วยการใช้ดิจิทัลขับเคลื่อน(Driven) โลจิสติกส์หรือดาต้าขับเคลื่อนโลจิสติกส์เพื่อรับมือกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป

ปัจจุบันเอสซีจี โลจิสติกส์ สามารถสร้างรายได้เป็นอันดับต้นๆ ของเมืองไทยประมาณ 1.5-1.6 หมื่นล้านบาท จากตลาดโลจิสติกส์โดยรวมในประเทศไทยทุกรูปแบบที่มีมูลค่าถึง 2 ล้านล้านบาท และด้วยความใหญ่ของตลาดดังกล่าวจะยิ่งทำให้เกิดเครือข่ายที่สามารถบริการได้แบบครบวงจร เป็นกระบวนการของการใช้ระบบ IoT     ที่มีการรวบรวมข้อมูลอย่างเร็วผ่านระบบสัญญาณ 5G และความรวดเร็วดังนี้เองจะทำให้เกิดการเปลี่ยนโฉมธุรกิจ โดยมี 5G เป็นตัวควบคุมที่สำคัญ เพื่อให้ IoT เกิดการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

“เมื่อดิจิทัลเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (Business information) ที่เป็นระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์การสื่อสาร และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการจัดการเกี่ยวกับข้อมูลทางธุรกิจ จึงทำให้ ทางบริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเม้นท์ จำกัด ได้วางแผนการทำงานอีก 5 ปี ด้วยระบบการทำงานอยู่ใน 3 แพลตฟอร์มหลัก คือ  ธุรกิจไปสู่ธุรกิจ (B2B) ธุรกิจไปสู่ผู้บริโภค (B2C) และดิจิทัลทรานสฟอร์เมชั่น (Digital transformation) โดยจะเป็นการใช้ดิจิทัลเข้ามาเปลี่ยนแปลงธุรกิจเพื่อให้เกิดรายได้ใหม่และนำพาเอสซีจี โลจิสติกส์ เติบโตกว่า 2 เท่าภายใน 5 ปี คุณไพฑูรย์ จิรานันตรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเม้นท์ จำกัด กล่าว

แม้ว่าปัจจุบัน เอสซีจี โลจิสติกส์ จะมีบิ๊กดาต้าขนาดใหญ่จากการให้บริการพันธมิตรทางการค้า เป็นรถที่วิ่งไปทั่วประเทศ ประมาณ 7,000 คัน และรับบริหารอีก 2,000 คัน ควบคุมและสั่งการโดยคนจากห้อง LCC หรือ Logistics Command Center  ทำงานตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ควบคุมรถในเรื่องความเร็ว และความปลอดภัย อย่างไรก็ตามในปีหน้าจะพัฒนาระบบเทคโนโลยีได้ทั้งหมด และควบคุมและสั่งการโดย AI : Artificial Intelligence   ส่วนอีกรูปแบบหนึ่งจะเป็น Virtual reality หรือ VR เป็นการจำลองสภาพแวดล้อมให้เสมือนจริงโดยทางเอสซีจี       มีโรงเรียนสอนขับรถอย่างปลอดภัย อยู่ที่จังหวัดสระบุรี สามารถนำมาสร้างรายได้เพิ่มเช่นเดียวกัน

กว่า 1 พันล้านบาท พัฒนาระบบซอฟแวร์รับอีคอมเมิร์ซโต

Fulfillment ที่เป็นระบบคลังสินค้า เก็บ-แพ็ค-ส่งสินค้า ครบวงจรตอบโจทย์ตั้งแต่ ร้านค้าออนไลน์ ไปจนถึง Chain ใหญ่เริ่มจากการนำสินค้าเข้ามาเก็บที่คลัง ตามด้วยขั้นตอนการนำออกมาแพ็คลงบรรจุภัณฑ์ และจัดส่งสินค้าไปยังลูกค้า ซึ่งเอสซีจี ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับธุรกิจอีคอมเมิร์ชที่กำลังโต ในขณะเดียวกัน ได้ร่วมมือกับ สตาร์ทอัพใหม่ ชื่อ มาย คลาวด์ (My Cloud) จัดเก็บเรื่อง Application Program Interface (API)    ที่เชื่อมต่อกับกลุ่มลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นพวกแพลตฟอร์มต่างๆ กลุ่มขายออนไลน์ โดยมี Marketplace หรือคลังสินค้าบนโลกออนไลน์ที่เป็นเว็บไซต์สื่อกลางสำหรับการติดต่อซื้อขาย ที่ได้รวบรวมสินค้า ร้านค้า จำนวนมากไว้ด้วยกัน ซึ่งถือว่าเป็นสังคมที่ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายมาเจอกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ขณะนี้มีกลุ่มลูกค้ามาใช้บริการแล้ว อาทิ บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด บริษัท แว่นท็อปเจริญ จำกัด บริษัท คิงเพาเวอร์ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ทางบริษัทฯ ได้เตรียมลงทุนด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ด้วยงบประมาณกว่า 1 พันล้านบาท กับการพัฒนาระบบซอฟแวร์

“Fulfillment โตตามอีคอมเมิร์ซ ในปีแรกตั้งเป้ารายได้ไว้ที่ประมาณ 100 ล้านบาท และอีก 5 ปีข้างหน้าน่าจะเพิ่มถึง 1,000 ล้านบาท โดยมีปัจจัยมาจากธุรกิจอีคอมเมิร์ชที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วน ดิจิทัล แพลตฟอร์มจะมาช่วยเรื่อง Robotic Process Automation คือ IT โรบอทสำหรับงานออฟฟิศที่ใช้การผสมผสานเทคโนโลยี Rule Engine, Image Recognition, Machine Learning และ AI เพื่อให้การทำงานเป็นแบบอัตโนมัติและเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเมื่อติดตั้งระบบ RPA แล้ว IT โรบอทสำหรับงานออฟฟิศจะทำงานในคอมพิวเตอร์แทนคน” คุณไพฑูรย์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม สำหรับการดำเนินงานในแพลตฟอร์ม B2B ของ เอสซีจีโลจิสติกส์ แม้ว่าการแข่งขันในตลาดจะค่อนข้างดุเดือด ยังสร้างกำไรได้น้อย และยังเป็นจุดอ่อนของการดำเนินธุรกิจ แต่ด้วยเอสซีจีโลจิสติกส์ มีธุรกิจอยู่ในหลายประเทศ เช่น พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย รวมถึงทางจีนตอนใต้ รวมถึงการทำงานร่วมกับบริษัทระดับโลก เช่น การท่าเรือของสิงคโปร์ เป็นการนำเสนอ M2M หรือ Machine to Machine เทคโนโลยีที่ถูกต่อยอดด้วยอีคอมเมิร์ช เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า จึงทำให้เอสซีจี มั่นใจในศักยภาพการให้บริการให้กับลูกค้าทุกรูปแบบ และพร้อมที่จะมองหาแหล่งสร้างรายได้ใหม่จากธุรกิจอื่นๆ โดยใช้ดิจิตอล ทรานสฟอร์เมชั่นเป็นตัวนำอีกด้วย

เพิ่มพันธมิตร เติมเต็มสิ่งที่ขาด

เพื่อรองรับตลาดที่โต เอสซีจี โลจิสติกส์ ได้ร่วมกับพันธมิตรในเรื่องของการเชื่อมต่อสัญญาณ 5G เข้ากับระบบการบริการ ขณะเดียวกันได้วางแผนเพิ่มจำนวนรถบรรทุก โดยอาศัยพันธมิตร อย่าง กลุ่มบริษัทสามมิตรมอเตอร์ส อาทิ บริษัทสามมิตรมอเตอร์สแมนูแฟคเจอริง จำกัด (มหาชน)ซึ่ง มีผลิตภัณฑ์ที่มีจุดเด่นด้านการใช้นวัตกรรมใหม่เช่นการใช้เหล็กพิเศษ “ไฮ เทนไซล์” (Hi Tensile) เจ้าเดียวในตลาด เพิ่มความแข็งแรงทนทาน แต่น้ำหนักเบาลงถึง 2 ตันหรือการใช้วัสดุที่เป็น Composite ที่มีน้ำหนักเบา สามารถขนของได้ในปริมาณที่เพิ่มขึ้น ทำให้ต้นทุนการขนส่งต่อหน่วยลดลง และสามารถสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้กลุ่มสามมิตร ยังมีบริษัทสามมิตรพีทีจี PRO TRUCK ศูนย์บริการรถบรรทุกและรถพ่วงที่ครบวงจรและมีเครือข่ายทั่วประเทศ มีอะไหล่และช่างที่มีมาตรฐาน สามารถดูแลรักษารถบรรทุกและรถเทรเลอร์เพื่อให้รถพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

ในอนาคตอาจจะเกิดความร่วมมือกับกลุ่มสามมิตรในเรื่องของ Sammitr Smart Mobility(SSM) Digital Plate Form เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยให้เกิดขึ้นกับการขนส่งและบนท้องถนน (Road Safety) เพื่อลดอุบัติเหตุ ลดความสูญเสียให้กับชีวิตและทรัพย์สินรวมทั้งให้เกิดการเชื่อมโยงและเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับภูมิภาค

“สำหรับ เอสซีจี โลจิสติกส์ชำนาญในเรื่องการดำเนินงาน หรือโอเปอร์เรชั่น ส่วนในเรื่องระบบจะเป็นหน้าที่ของ มาย คลาวด์ ที่เป็นสตาร์ทอัพ ซึ่งก็จะทำให้มีรายได้เพิ่มด้วยกันทั้งคู่ โดยในการทำงานจะร่วมกับพันธมิตรทั้งหมดเพื่อนำมาเติมเต็มในสิ่งที่ขาด ถึงแม้จะเป็นคู่แข่งทางธุรกิจก็ตาม  ยกตัวอย่างเช่น ดีเอชแอล ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) ถือเป็นคู่แข่งในธุรกิจเดียวกันกับเอสซีจี โลจิสติกส์ แต่สามารถเป็นพันธมิตรกันได้ในบางพื้นที่ ที่เราขาด” คุณไพฑูรย์ กล่าว