เกาไม่ถูกที่คัน!

0
534

ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา ลงวันที่ 16  ก.พ.2561 กำหนดให้ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และจักรยานยนต์เป็นธุรกิจควบคุมสัญญา พ.ศ.2561 มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 1ก.ค.2561 เป็นต้นไป 

ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา สำนักงาน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) ฉบับดังกล่าวมุ่งเน้นควบคุมผู้ประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์ และจักรยานยนต์แก่บุคคลทั่วไปไม่ครอบคลุมไปถึงการให้เช่าซื้อรถที่นำไปใช้เพื่อการพาณิชย์ หรือขนส่งเพื่อการค้า

รายละเอียดสำคัญของประกาศฉบับนี้ก็คือ การปรับเปลี่ยนวิธีคิดอัตราดอกเบี้ย จากเดิมที่กำหนดเป็น “อัตราดอกเบี้ยคงที่ Flat rate1” มาเป็นการคิดแบบ “ลดต้น ลดดอก” หรือ Effective rate เช่นเดียวกับสินเชื่อบ้านโดยทั่วไป

มีการประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการที่ สคบ.ยื่นมาเข้ามาควบคุมการทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์และจักรยานยนต์เหล่านี้ ให้ต้องดำเนินการตามสัญญามาตรฐานฉบับนี้ว่า จะทำให้บรรดาผู้ประกอบการเหล่านี้ญเสียรายได้ที่เคยได้รับ จากการทำสัญญาคิดดอกเบี้ยแบบคงที่ไปเป็นอักโข

โดยคาดว่าสถาบันการเงินหรือธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน(นอนแบงก์)ที่ประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และจักรยานยนตเหล่นี้น่าจะได้รับผลกระบ อาทิ ธนาคารทิสโก้ ,เกียรตินาคิน,กรุงศรีอยุธยา  ธนาคารไทยพาณิชย์ บริษัททุนธนชาต ตลอดจน”นอนแบงก์”โดยทั่วไปที่ให้บริการเช่าซื้อ บ.ฐิติกร บริษัทเอส 11 กรุ๊ป รวมทั้งผ้ประกอบการที่ให้บริการสินเชื่อส่วนบุุคคล โดยใช้ทะเบียนรถยนต์ และจักรยานยนตเป็นหลักประกัน อย่าง เมืองไทยลิสซิ่ง และศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น(SAWAD)

 สำหรับ “เนตรทิพย์”แล้วหาก สคบ.อยากคุ้มครองประชาชนไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบนัก ก็น่าจะ“ล้วงลูก” ลงไปดูไส้ในของสัญญาปล่อยเงินกู้ หรือสินเชื่อทั้งหลายที่ธุรกิจลิสซิ่ง เช่าซื้อรถยนต์-จักรยานยนต์ หรือที่ผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล ทั้งที่เป็นสถาบันการเงิน และไม่ใช่สถาบันการเงิน(นอนแบงก)เหล่านี้กระทำกับลูกค้า ด้วยว่าเนื้อแท้ของสัญญาที่ทำกับลูกหนี้นั้น เป็นไปตามกดบัตรกฎหมายหรือไม่  มีการเอารัดเอาเปรียบ โขกดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่

บอกได้เลยเกือบ “ร้อยทั้งร้อย”ตีกรรเชียง หลบเลี่ยงกฎหมายทั้งสิ้น!

สัญญาเช่าซื้อรถยนต์-จักรยานยนต์โดยทั่วไป หรือสินเชื่อส่วนบุคคลที่บรรดาธุรกิจปล่อยเงินกู้ทั้งที่เป็นบุคคล/นิติบุคคล ทั้งที่เป็นบริษัทลูกของแบงก์หรือสถาบันการเงินและ”นอนแบงก์” ห้องแถวทั้งหลายแหล่ที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด แปะนามบัตรไว้ข้างตู้โทรศัพท์ เสาไฟฟ้าทั้งหลายแหล่นั้น ล้วนแล้วแต่มีการจัดทำสัญญาที่เอาเปรียบลูกหนี้ประชาชนตาดำๆด้วยกันทั้งสิ้นครับ

เพราะหากจัดทำเป็นสัญญาเช่าซื้อรถปกติที่ต้องจัดทำสัญญาเช่าซื้อตามกฎหมายประกอบธุรกิจลิสซิ่งแล้ว สัญญาที่จัดทำขึ้นเหล่านี้ต้องมีการโอนกรรมสิทธิ์การถือครองรถยนต์-จักรยานยนต์  กำหนดตารางผ่อนชำระค่างวด เงินต้น ดอกเบี้ย หรือค่าธรรมเนียมใดๆ ก็ตามแต่ แต่ที่สำคัญยังต้องกำหนดให้ลูกหนี้ผู้กู้ต้องเสียภาษีแวตตามกฎหมายด้วย

แต่เท่าที่ตรวจสอบพบ ส่วนใหญ่แล้ว สัญญาที่ธุรกิจลิสซิ่งทำกับประชาชน หรือบรรดาธุรกิจปล่อยกู้เงินให้ประชาชน จะในรูปของสินเชื่อส่วนบุคคล เงินด่วน เถ้าแก่สั่งได้ คาร์ฟอร์แคช แคชฟอร์คาร์ หรือจะเรียกอะไรก็แล้วแต่ ล้วนแล้วแต่จัดทำเป็นสินเชื่อส่วนบุคคลแบบที่มีเงื่อนไขแนบท้ายให้มีการเรียกหลักประกันทั้งสิ้น

มันไม่ใช่สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ หรือสินเชื่อเพื่อรายย่อยที่เป็น Clean loan แต่อย่างใด เพราะตามกฎหมายประกอบธุรกิจทั้งในส่วนที่เป็นสถาบันการเงิน นอนแบงก์ จะเป็นสินอส่วนบุคคลโดยทั่วไป สินเชื่อส่วนบุคคลเพื่อรายย่อย “นาโนไฟแนนซ์”ที่ปล่อยกู้ได้ไม่เกิน 1 แสนบาทหรือสินเชื่อส่วนบุคคลรายย่อยในจังหวัด”พิโก้ ไฟแนนซ์” ปล่อยกู้ได้ไม่เกิน 50,000 บาท นั้น ส่วนเชื่อเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ต้องเป็น Clean loan ไร้หลักประกันทั้งสิ้นครับ

ดังนั้นการที่บรรดาธุรกิจลิสซิ่ง ธรกิจปล่อยเงินกู้ สินเชื่อส่วนบุคคลทั้งหลายแหล่ ที่หันมาทำสัญญาเช่าซื้อ ทำสัญญาเงินกู้ หรือสินเชื่อส่วนบุคคล แต่ไปกำหนดเงื่อนไขให้ต้องมีหลักประกันแนบท้ายใด ๆ ก็ตาม เมื่อทำเป็น “สินเชื่อส่วนบุคคลที่มีหลักประกัน” ไม่ใช่ Clean loan แล้ว

ย่อมไม่ถือเป็นสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ไม่ได้เป็นการให้สินเชื่อแบบนาโนไฟแนนซ์ พิโก้ ไฟแนน ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ทั้งนั้น จึงต้องถือเป็นการจัดทำสัญญาเงินกู้ตาม ปพพ.มาตรา 654 และเป็นสัญญาเงินกู้ที่ต้องอยู่ภายใต้บังคับ ของพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 และที่แก้ไขเพิ่มเติมปี พ.ศ.2560 ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยไวเกิน 15% ทั้งยังเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญาตามประกาศคณะกรรมการข้างต้นนี้ด้วย

เมื่อรู้ดังนี้แล้ว ลองหันไปตรวจสอบสัญญาเช่าซื้อรถ-จักรยานยนต์ และสัญญาเงินกู้ สินเชื่อส่วนบุคคลในเก๊ะ ในลิ้นชักที่ตนเองมีอยู่โดยด่วน ว่าเข้าข่ายที่ว่านี้ไหม ถ้าเป็นสัญญาสเงินกู้ที่กำหนดให้ต้องเอาหลักทรัพย์ เอารถ-หรือจักรยานยนต์ค้ประกันแล้ว กำหนดอัตราดอกเบี้ยทั้งหลายทั้งปวงต้องไม่เกินร้อยละ 15 เท่านั้น

เกินกว่านั้นผิดหมดครับ!

ก่อนจะกระโดดค้ำถ่อกำหนดให้ธุรกิจเหล่านี้ต้องเป็นธุรกิจควบคุมสัญญาหน่ะ ลองล้วงลูกลงไปตรวจสอบเนื้อแท้ของสัญญาพวกนี้ก่อนจะดีไหม ท่านเลขา สคบ.ที่เคารพ!!! 
 
บทความโดย : เนตรทิพย์