สหพันธ์ขนส่งฯหนุนใช้เรือโร่- โร่ ค้านปรับเวลาสิบล้อเข้ากรุงเทพฯ

0
796

“รักสิบล้อ ต้องรอสิบโมง ”เป็นอย่างนี้มานานแล้ว เนื่องจากการกำหนดเวลา 10 โมง เพราะทุกคนเข้าที่ทำงานแล้ว และจะออกก่อนบ่ายสามโมง  ฉะนั้นการปรับเปลี่ยนเวลาใหม่ไม่น่ามีเหตุผล ” อภิชาติ ไพรรุ่งเรือง ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแ่หงประเทศไทย

ภายหลังเกิดความล่าช้าโครงการปรับปรุงทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 (ถนนพระราม 2) ตอนทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน – เอกชัย ตอน 3 บริเวณกิโลเมตรที่ 17+900 (ทางเข้าวัดพันท้ายนรสิงห์)

ขณะเดียวกัน ถนนสายนี้ใช้เป็นเส้นทางหลัก ทางหนึ่งเพื่อเดินทางสู่ภาคใต้ ที่มีปริมาณรถแต่ละประมาณ 2 แสนคัน  ที่ผ่านมาเกิดเป็นปัญหาการจราจรติดขัดสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนผู้ใช้ถนนเป็นจำนวนมาก 

จนกระทั่ง ล่าสุด นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมีแนวนโยบายสนับสนุนให้พิจารณาเส้นทางขนส่งสินค้าเส้นทางน้ำเป็นทางเลือกแทน โดยใช้เรือโร-โร่ (Roll On Roll Off :RORO) หรือแพขนาดยนต์ขนส่งรถขนส่งสินค้าจาก อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ถึงท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี 

อภิชาติ ไพรรุ่งเรือง ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย เปิดเผยกกับนิตยสาร LOGISTICS TIME  ว่า  โร-โร่ เป็นเรือมีขนาดใหญ่ ด้านบนเป็นพื้นที่บรรจุคน ขณะที่ด้านล่างเป็นพื้นที่บรรทุกรถขนส่งสินค้าหรือรถสองตอนได้มากถึง 185 คัน แต่หากเป็นรถตอนเดียว จะบรรทุกได้มากกว่า 300 คัน ถ้าเป็นรถยนต์หรือรถเก๋งบรรทุกได้ 700 -800 คัน เชื่อว่าจะช่วยบรรเทาการคับข้างการจราจรทางภาคใต้ได้ระดับหนึ่ง   เพราะจำนวนรถดังกล่าวจะไปขึ้นฝั่งที่ท่าเรือแหลมฉบัง  ท่าเรือมาบตาพุด หากมีการผลักดันสำเร็จ  นอกจากจะช่วยลดต้นทุนการขนส่งแล้ว ยังช่วยป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากการขับขี่บนท้องถนนด้วย เพราะการโดยสารเรือโร-โร่ ใช้ระยะเวลาเพียง 5-6 ชั่วโมงเท่านั้น ตั้งเป้าหมายไว้ให้มีการกองเรือโร โร่ ประมาณ 10 ลำ              

ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจาก รมว.คมนาคม ซึ่งมั่นใจว่าจะช่วยบรรเทาปัญหาจราจรติดขัดบนถนนพระราม 2 โดยตั้งเป้าหมายจะนำเข้ามาให้บริการประมาณ 2-3 ลำ และไม่เกิน 10 ลำ หากประสบความสำเร็จ จะขยายเส้นทางเดินเรือโร-โร่  และต่อไปอาจจะขยายไปยังจากท่าเรือสงขลา สุราษฎร์ธานี 

 “ ขณะนี้ติดขัดบริเวณท่าเรือ เพราะเรือต้องกินน้ำลึก 6 เมตร หากดำเนินโครงการนี้จริงจังก็ต้องทำการขุดลอกคลองให้ลึกลงอีก  เพื่อสะดวกต่อการนำเรือเข้าเทียบท่าขนถ่ายสินค้าโดยตรง  รถบรรทุกที่ใช้ขนส่งสินค้า โดยใช้รถบรรทุกผ่านถนนพระราม 2 ประมาณ 80% และอีกเส้นทางผ่านถนนเพชรเกษม แต่เส้นทางเพชรเกษมค่อนข้างจะไกล จึงนิยมใช้เส้นทางพระราม 2 เมื่อถนนเส้นนี้กำลังขยายเลนจราจรเพิ่มขึ้นอาจจะติดขัดบ้าง”

อภิชาติ กล่าวถึงแนวแก้ปัญหาจราจรติดขัดบริเวณถนนพระราม 2 อีกว่า  สหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทยได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ )  ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครกำหนดแนวทางแก้ไขอย่างบูรณาการ  เช่น ทางแยกวัดพันท้ายนรสิงห์ เส้นทางขาออกบริเวณวัดพันท้ายนรสิงห์รถจะคับข้างเราก็จะขยายเลนถนน พร้อมกับมีเจ้าหน้าที่ค่อยอำนวยความสะดวก จากเดิมรถติดขัดขณะนี้เริ่มคลี่คลายบ้างแล้ว   ตั้งเป้าหมายไว้ให้มีการกองเรือโร โร่ ประมาณ 10 ลำ                

อย่างไรก็ตาม หากดูปริมาณรถที่ใช้วิ่งถนนพระราม 2 ในปัจจุบันก็ยังมีปริมาณ 2 แสนคันต่อวันเท่าเดิม  หากรถบรรทุกไปใช้เรือโร โร่ ขนส่งรถบรรทุก  จำนวนรถส่วนเหลือน่าจะลดลงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ และอยู่ที่การดำเนินการใช้เรือโร โร่ ขนส่งรถประสบความสำเร็จหรือไม่  เราตั้งเป้าหมายไว้ให้มีกองเรือโร โร่ ประมาณ 10 ลำ เพื่อลดปัญหาการจราจร ขณะนี้เตรียมทดสอบนำร่องก่อน 10 ลำเรือ เริ่มต้นคาดว่าประมาณปลายปีนี้ ไม่เกินเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2563   เป้าหมายต้องการให้เร็วรวดที่สุด 

ค้านปรับเวลา ชี้กระทบต้นทุนสวนทาง AEC  

ประธานสหพันธ์ขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย กล่าวต่ออีกว่า  นอกจากนี้  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมยังมีแนวนโยบายอยากให้ปรับเวลาของรถบรรทุก ใหม่  โดยอยากให้เปลี่ยนเวลาวิ่งรถบรรทุกใหม่เป็นตั้งแต่ช่วงเวลาเที่ยงคืน จนถึงตีสี่  เพราะต้องการแก้ปัญหาการจราจรในชั่วเร่งด่วน  แนวทางดังกล่าวเท่ากับต้องการสกัดกั้นจำนวนรถบรรทุกไม่ให้เข้าวิ่งในพื้นกทม. ขอเรียนชี้แจงว่า  ทุกวันนี้การทำงานของรถบรรทุกน้อยลง  อีกทั้งการทำงานของรถบรรทุกยังยึดโยงกับพนักงานแรงงาน รวมทั้งบริษัท ห้างร้าน ซึ่งรอรับสินค้าจากรถบรรทุก   

ดังนั้น หากใช้นโยบายปรับเปลี่ยนช่วงเวลาใหม่จากกลางวันเป็นกลางคืนหรือตั้งแต่เที่ยงคืนถึงตีสี่  ความเป็นไปคิดคงเป็นไปได้ยาก  เพราะเราต้องเปลี่ยนเวลาใหม่ทั้งหมด  ส่งผลกระทบต้นทุนจ่ายค่าโอทีจะปรับขึ้นเท่าตัว   และร้านค้าจะยินยอมเปิดรับสินค้าช่วงกลางคืนหรือไม่  หรือจะให้รถบรรทุกรอร้านค้าเปิดก่อนก็ทำไม่ได้อีก เพราะรถบรรทุกเป็นรถขนาดใหญ่กีดข้างทางจราจร  ส่วนตัวเห็นด้วยกับนโยบาย รมว.กระทรวงคมนาคม  เพียงแต่ว่า ควรปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับระบบโลจิสติกส์ของประเทศที่กำลังเฟื้องฟูขณะนี้ 

ประการสำคัญ   การค้ากับต่างประเทศ ที่ผ่านมา ไทยได้ตกลงภายใต้กรอบ AEC ระบุไว้ตอนหนึ่งว่า  ประเทศสมาชิกจะเปิดให้รถแต่ละประเทศอาเซียนสามารถวิ่งผ่านไปมาระหว่างกันได้   แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าหากห้ามรถใหญ่เข้า กทม.จะกลายเป็นปัญหาขัดต่อกรอบข้อตก AEC ทันที   ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการรถบรรทุกเราจะบริหารจัดการในช่วงเวลาตีสี่ค่อยข้างยาก เพราะสถานที่ร้านค้ายังไม่เปิดทำการ  เราต้องเข้าใจกทม.เวลานี้มีการก่อสร้างมากมาย รถปูทำไมต้องวิ่งในชั่วโมงเร่วด่วน เพราะการก่อสร้างเกิดขึ้นในเวลากลางวันทั้งสิ้น

สำหรับแนวการแก้ไขควรหารือกับภาคส่วนต่างๆ เช่น หอการค้า สภาอุตสาหกรรม เพื่อให้การปรับเปลี่ยนตามแนวนโยบาย รมว.คมนาคมให้ตกผลึก ในส่วนของรถบรรทุกเองการทำงาน “รักสิบล้อ ต้องรอสิบโมง ”เป็นอย่างนี้มานานแล้ว เนื่องจากการกำหนดเวลา 10 โมง เพราะทุกคนเข้าที่ทำงานแล้ว และจะออกก่อนบ่ายสามโมง  ฉะนั้นการปรับเปลี่ยนเวลาใหม่ไม่น่ามีเหตุผล  รถบรรทุกสินค้าทำหน้าที่ขนส่งสินค้าให้กับศูนย์ค้า ร้านค้าต่างๆ เป็นประจำ  ส่วนการปรับแก้ไขปัญหาการจราจรในพื้นที่กทม. สิ่งที่ควรทำน่าให้เจ้าหน้าที่ตำรวจบังคับให้กฎหมายจราจรกวดขันผู้ใช้รถน่าจะเหมาะสมกว่า 

“ใคร่ขออยากเรียนประชาชนหรือผุ้ใช้สื่อโซเชี่ยลหันมาสนับสนุนผุ้ประกอบการรถบรรทุก   หากไม่แล้วต่อไปสินค้าอุปโภคบริโภคจะขาดแคลนในกรุงเทพฯ  สิ่งที่รัฐมนตรีคมนาคมนำเสนอเหมือน “การโยนหิน ถามทาง” หากทำอย่างนี้จะเดือนร้อนหรือไม่”