เข้าใจผิดกันใหญ่ .. ถอดข้าวจาก UPOV 1991

0
166

 UPOV 1991   ซึ่งเป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ที่เกี่ยวข้องกับส่วนทรัพย์ทางปัญญา    และUPOV 1991  อยู่ภายใต้กรอบการค้าเสรี    CPTPP (comprehensive and progressive agreement for transpacific partnership ) หรือ ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก 

 ขณะที่ในระหว่างการศึกษาผลกระทบ ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบ CPTPP สภาผู้แทนราษฎร  ที่ประชุมคณะอนุกรรมาธิการฯ ทำการดีเบต เรื่องนี้  ปรากฏว่า มีผู้เสนอให้ “ ถอดข้าวไทยออกจาก UPOV 1991 ”หากไทยเข้าร่วมเจราจา CPTPP 

 ล่าสุด ไทยได้มีคำถามไปยัง UPOV  ว่า  หากไทยเข้าร่วมเจรจา CPTPP  ขอยกเว้นไม่นำ  ข้าวไทย  เข้าอยู่ในความตกลง CPTPP  แต่ได้รับคำตอบกลับจาก UPOV ว่า “ ไม่ได้ ”  ผู้เสนอเรื่องนี้จึงตั้งข้อสังเกตว่า “แปลก”แสดงว่า  มีพิรุธ มีวาระซ่อนเร้น 

 แต่อย่างไรก็ตาม  ในทางกลับกัน ประเด็นร้อนดังกล่าว ยังมีผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอ “ถอดข้าวไทยออกจาก UPOV 1991  ”  เหตุผลเพราะอะไร   และหนึ่งในผู้ที่ไม่เห็นด้วยเป็นที่ปรึกษานโยบายด้านการค้าและการลงทุน       

 นั่นคือ ดร.รัชดา เจียสกุล  ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทโบลลิเกอร์ แอนด์ คอมพานี(ประเทศไทย) จำกัด  ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านนโยบายสาธารณะ โดยเฉพาะนโยบายด้านการค้าและการลงทุน  เปิดเผยถึงเหตุผลทำไม่ไม่เห็นด้วย ว่า   อาจจะเข้าใจผิดในกันไปใหญ่แล้ว    คำถามว่า ถ้าเราเข้าร่วม CPTPP แล้วจะถอดข้าวไทยออกได้หรือไม่   คำตอบคือ การถอดข้าวออกจาก  CPTPP ได้หรือไม่   ซึ่งมี  2 มิตินั่นคือ มิติ  1 เราจะไม่กีดกันข้าวที่ดีออกจากความตกลงทำไม  และมิติ 2 เราจะไปกีดกันข้าวไทยออกจากสัญญา UPOV 1991  ซึ่งเป็นอนุสัญญาด้านทรัพย์สินทางปัญญาอยู่ภายใต้ความตกลง CPTPP  

 “เวลานี้ประเทศไทยยังไม่ได้เข้าร่วมทั้ง  UPOV 1991 และ CPTPP  การเจรจาจะเข้าร่วม CPTPP  ก็มีการเจรจาได้   และการจะเข้าร่วม UPOV 1991 หรือไม่ก็สามารถปรับตัวได้ในระยะยาว  ในมิติแรก การถอดข้าวไทยออกจาก CPTPP ได้หรือไม่  คำตอบตามหลักการ ไทยหากเจรจาการค้าระหว่างประเทศ  เราจะอยากเปิดเสรีขายข้าวได้มากขึ้น  โดยต่างประเทศซื้อข้าวไทยเพิ่มมากขึ้น 

 “ขณะเดียวกัน  เราก็ไม่อยากซื้อข้าวจากต่างประเทศ  แม้อัตราภาษีอากรนำเข้าลดเหลือศูนย์ก็ตาม  ปัจจุบันไทยมีมาตรการ  เช่น ใบอนุญาตหรือมาตรการที่ไม่ใช้ภาษีอื่นๆ แข็งแรง  ดังนั้น จะไม่มีการนำเข้าข้าว ทั้งข้าวเปลือก ข้าวสารไม่มีการนำเข้ามายังตลาดในประเทศ   อย่างไรก็ตาม การเขียนกีดกันการเจรจา FTA สามารถเขียนว่า ข้าวเป็นสินค้าอ่อนไหวของประเทศไทย  ดังนั้น มิติแรก กันข้าวไทยออกจาก CPTPP ได้หรือไม่  คำตอบคือ กันออกไป  มิติ 2 กันข้าวออกจาก UPOV 1991 ได้หรือไม่ คำตอบคือไม่ได้ 

  UPOV 1991 ตอบว่า ในช่วง 10 ปีแรก  จอดทะเบียนพันธุ์พืชได้ไม่น้อยกว่า 15 ชนิดเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องคุมครองทั้งหมด  แต่ระยะยาวต้องคุ้มครองทั้งหมด  ซึ่งการบอกว่าไปกัน ไม่คุ้มครองพืชใหม่ ชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือคุ้มครองบางชนิด   มันเป็นประโยชน์กับประเทศไทยจริงหรือไม่   ถอยกลับไป กันข้าวออกจาก UPOV 1991 ไม่ได้  แต่ถามว่า ต้องกังวลหรือเปล่า

  “ ดิฉันขอทำความเข้าใจกับ UPOV 1991   สิ่งที่เกษตรกรไทยจะขายข้าวไม่ได้นั้นไม่ต้องกังวล  และการจะนำเข้าข้าวมาไม่ได้ไม่น่ากังวล   แต่สิ่งที่น่ากังวลคือ พันธุ์ข้าวไทยในอนาคต ซึ่งเป็นฝีมือพัฒนาพันธุ์ของคนไทย จะไม่ได้รับการคุ้มครอง   อันนี้น่ากังวล  เพราะปัจจุบันความหลากหลายทางพันธุกรรมสำคัญต่อการวิจัยและพัฒนาพันธุ์   และการปรับปรุงเชื้อพันธุ์กรรมโดยอาศัยเชื้อพันธุ์ที่มีอยู่ ในประเทศอย่างเดียวไม่สำเร็จ   ดังนั้น จึงต้องนำเชื้อพันธุ์กรรมเข้ามาบ้าง  การแลกเปลี่ยนเชื้อพันธุ์กรรมเหล่านี้เป็นประโยชน์ของใคร

 อย่างไรก็ดี  อีกชุดข้อมูลที่สำคัญที่จะคลายความกังวลของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวก็คือ  ใครบ้างเป็นผู้ทรงสิทธิ์ของพันธุ์ข้าวที่ได้รับการจดทะเบียน พันธุ์พืชใหม่ ตามพ.ร.บ.พันธุ์พืช 2542 มีจำนวน 35 สายพันธุ์ เมื่อ  35 สายพันธุ์เป็นการจดทะเบียนโดยหน่วยงานราชการ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  อีก 5 สายพันธุ์เป็นการจดทะเบียนของมหาวิทยาลัย มีเพียง 1 สายพันธุ์เท่านั้นจดทะเบียนโดยภาคเอกชน จะเห็นว่า เกิน 90 %  เป็นหน่วยงานภาครัฐและภาคการศึกษา 

 ดังนั้น ไม่อยากให้ผู้ปลูกข้าวกังวลว่า ผู้เก็บสายพันธุ์เป็นอาชญากรรม  เพราะแม้ว่า เมล็ดพันธุ์ใหม่ที่เก็บไว้เป็นเมล็ดพันธุ์เดิมก็ตาม เป็นของภาครัฐส่วนใหญ่   

คลายข้อกังวล  3 ประเด็น UPOV 1991

ดร.รัชดา กล่าวว่า      เกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์พืช เรื่อง UPOV 199  ประเด็นแรก เก็บเมล็ดพันธุ์พืชเอวไว้ปลูกต่อจะเป็นอาชญากรรมหรือไม่   UPOV 1991 บอกว่า เป็นเมล็ดพันธุ์พืชใหม่ เท่านั้น  สำหรับพันธุ์เดิมพันธุ์เมืองต่างๆ  ไม่ใช่พันธุ์พืชใหม่ ซึ่งไม่เกี่ยวกับ UPOV 1991   การเก็บพันธ์พืชใหม่ที่ได้รับการคุ้มครองนำไปปลูกต่อน่าจะมีความเข้าใจไม่ครบถ้วน   รายละเอียดการเก็บเมล็ดพันธุ์พืชเพื่อปลูกต่อบอกว่า รายละเอียดส่วนตน และไม่ใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์    

อันนี้เก็บได้ ทำได้ เพราะรัฐบาลสามารถออกกฎหมายกำหนดรายละเอียด ระบุว่า พืชใดบ้างสามารถทำแบบนั้นได้   เช่น ประเทศสมาชิก UPOV 1991 ส่วนใหญ่อนุญาตให้พืชอาหารสำคัญๆ เช่น  ข้าว ข้าวโพด  เพื่อให้เกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกต่อและขายเมล็ดพันธุ์ได้  ซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 52 ของ UPOV 1991  

ทั้งนี้   ถามว่า ถอดข้าวไทยออกจาก UPOV 1991 ได้หรือไม่    อาจจะหมายถึงออกกฎหมายกำหนดรายละเอียด กำหนดว่า พืชสำคัญที่เป็นอาหารของไทย อนุญาตให้ปลูกต่อเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้  ระบุได้มากกว่าข้าวอีก  เรื่องนี้สำคัญ เพราะเกษตรกรจะได้คลายกังวลได้บ้าง

ถัดมาอีกประเด็น ที่คนกลัวกับนั่นคือ  กรณีต่างชาติวิจัยปรับปรุงพันธุ์  โดยใช้ข้าวไทยเป็นพันธุ์ปรับปรุง   หากกระทำในประเทศไทย   ผู้วิจัยต่างชาติก็ต้องขออนุญาตทางการไทยและทำข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ให้เรียบร้อยก่อน  คือ หมายถึง การทำการค้าผลประโยชน์ต้องแบ่งบันผลประโยชน์ให้กับพืชคุ้มครองของไทย  ขณะที่พืชข้าวพันธุ์คุ้มครองของไทยยังคงได้รับผลประโยชน์เหมือนเดิม   สิ่งนี้ก็อยากให้คลายความกังวล

 ประเด็นสุดท้าย  มีการเกรงกันว่า ชาวนาจะติดคุก   ถ้ามีแปลงข้างๆ เป็นข้าวพันธุ์ใหม่  เกสรปลิวมาข้างแปลงมาผสมกับข้าวแปลงเรา  กรณีนี้ไม่ต้องกังวล  เพราะว่าการผสมต่างสายพันธุ์   การผสมจะไม่เหมือนสายพันธุ์ที่ปลิวมา   1 บวก 1 เป็น 2  มันไม่ใช่ 1   ฉะนั้นโอกาสจะผสมข้ามสายพันธุ์มีเพียง 5% เท่านั้น  ที่จะผสมกันได้  ดังนั้น จึงไม่ต้องกลัวจะเป็นอาชญากรรม

 ดังนั้น อยากเรียนชี้แจงเกษตรกร ประชาชน การเข้าร่วม CPTPP หรือจะเข้าร่วม UPOV 1991 จะ-ไม่ทำให้ชาวนาข้าว กลายเป็นอาชญากร หมายถึงชาวนาที่เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ ก็จะไม่เป็นอาชญากรรม  ไม่ต้องกังวล เราสามารถปิดประตูเล็ก ใหญ่หลายประตู

ความสนใจตอนนี้ไม่อยากให้กังวลเกินไป เข้าใจโอกาสการทำตลาด ถ้าเมล็ดพันธุ์เรามีคุณภาพสูง วันนี้เกษตรกรสนใจมากๆ ความกังวลจะเปลี่ยนไปเป็นโอกาสได้  ส่วนการสร้างความเข้าใจของภาครัฐ  บางหน่วยงานอาจจะยังไม่ได้อ่านรายละเอียดที่มีมาก การพูดคุยชี้แจงข้ามหน่วย เราสามารถชี้แจงข้ามหน่วยงานได้