สำรวจ 29 สนามบินแห่งใช้งานได้จริง.? ไม่เป็นสนามบินร้าง

0
1223

กลายปมร้อนซ่าทันที หลังเปิดศักราชใหม่ปี65 “ปีเสือดุ” ปมร้อน สนามบินเบตง จ.ยะลา สร้างเสร็จแล้วยังไม่สามารถเปิดใช้งานได้เต็มรูปแบบในเชิงพาณิชย์ และบางส่วนสะท้อนถึงความล่าช้า

สนามบินเบตงก่อสร้างในปี 60 สร้างเสร็จในปี62 แต่ยังไม่สามารถเปิดบินในเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบได้ รันเวย์สนามบินความยาว 1,800 เมตรไม่สามารถรองรับเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่ แต่รองรับเครื่องบินขนาดเล็ก ยาง ATR-72 ขนาด 80 ที่นั่งเท่านั้น

จนกลายเป็นความสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ เพราะสนามบินเบตงแห่งนี้ใช้งบลงทุนไปกว่า 1,900 ล้านบาทและส่อจะกลายเป็นสนามบินร้างในที่สุด

นอกจากนี้ ยังไม่มีคลังน้ำมันสำหรับเติมเครื่องบิน ทำให้เกิดคำถามอีกว่า กรณีเที่ยวบิน กรุงเทพฯ- เบตง หากใช้ได้แค่อากาศยานขนาดเล็ก เครื่องจะไม่สามารถบินไปกลับได้ทันทีเพราะต้องแวะเติมน้ำมันที่สนามบินอื่น หรือไม่ก็ขนส่งน้ำมันมาทางรถยนต์มาเติมที่สนามบิน

LOGISTICS TME จึงทำการสำรวจสนามบินอื่นๆของกรมท่าอากาศยาน ซึ่งมีอยู่กว่า 80 แห่งทั่วประเทศ และพบว่าในช่วงที่ผ่านมานั้นมีสนามบินภูธรในลักษณะเดียวกัน ที่รัฐลงทุนไปนับพันล้านบาท แต่กลับไม่ได้มีการใช้งานปล่อยให้เป็นสนามบินร้าง

บางแห่งนั้นกลายเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงวัวเลี้ยงควายมานับ 10 ปี ซึ่งจากการสำรวจเบื้องต้นพบว่ามีสนามบินอย่างน้อย 10 แห่ง ที่ปัจจุบัน แทบไม่มีเที่ยวบินขึ้นลง และถูกปล่อยทิ้งร้าง

อาทิ อากาศยานเพชรบูรณ์ ที่มีพื้นที่กว่า 4,100 ไร่ ไม่ได้มีการใช้งาน และไม่มีเที่ยวบินเปิดให้บริการแล้ว หลังจากผู้โดยสารส่วนใหญ่จะบินตรงไปลงที่ท่าอากาศยานพิษณุโลก และเดินทางโดยรถยนต์มากขึ้นส่งผลให้ท่าอากาศยานเพชรบูรณ์ถูกปล่อยร้างมา 10 กว่าปีโดยไม่ได้มีการใช้งาน

ก่อนหน้านี้ กระทรวงคมนาคมมีนโยบายที่จะให้โอนสนามบินที่ ยังคงพอมีศักยภาพไปให้บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)หรือทอท. ทำการบริหาร แต่ ล่าสุดพบว่า การโอนย้ายสนามบินของกรมท่าอากาศยาน(ทย.) 4 สนามบิน ได้แก่ สนามบินอุดรธานี สนามบินกระบี่ สนามบินชุมพร และสนามบินบุรีรัมย์ ให้ทอท. ปรากฏว่ากลับไปไม่ถึงฝั่ง เพราะติดขัดเรื่องการโอนย้าย ไหนจะข้อกฎหมายรองรับ สุดท้ายเรื่องเงียบหายเหมือนเป่าสาก

อย่างไรก็ตาม กรมท่าอากาศยานชี้แจงตอบโต้ว่า ตามที่เป็นข่าวไม่ทราบว่าผู้นำเสนอต้องการอะไร และคำว่า “สนามบินร้าง” ก็ไม่ทราบหมายถึงอะไร ทั้งที่ความจริงคือ กรมท่าอากาศยานกำกับดูแลสนามบินทั้งสิ้น 29 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งสนามบินทุกแห่งยังใช้ประโยชน์จริงไม่เป็นปัญหา หากไม่ใช้ในเชิงพาณิชย์ก็ใช้กิจการอื่นๆ เช่น การฝึกบินของนักบิน การบินเพื่อทำฝนหลวงเพื่อประโยชน์ทางการเกษตร

สนามบินที่ทำการบินเชิงพาณิชย์มีทั้ง 20 สนามบินประกอบด้วย สนามบิน ชุมพร ตาก กระบี่ ของแก่น ตรัง นครพนม น่าน พิษณุโลก ร้อยเอ็ด ลำปาง อุดรฯ อุบล นครศรีธรรมราช นราธิวาส บุรีรัมย์ ปาย แพร่ ระนอง สกลนคร สุราษฎร์ธานี นอกที่เหลืออีก 9 แห่งเป็นสนามบินที่ไม่มีสายการบินในเชิงพาณิชย์ ประกอบด้วย สายการบินลำปาง เพชรบูรณ์ แม่สะเรียง แม่ฮ่องสอน เลย นครราชสีมา หัวหิน ปัตตานี และเบตง

10 สนามบิน ทย.เชิงพาณิชย์หยุดชะงัก
นอกจากนี้ ภายหลังเกิดเหตุการณ์โรคระบาดโควิด-19 ธุรกิจการบินต้องหยุดชะงักทันที การใช้สนามในเชิงพาณิชย์ถูกระงับ กรมท่าอากาศยานยอมรับว่า สนามบินที่เคยใช้บินในเชิงพาณิชย์ต้องหยุดให้บริการตั้งแต่ปี 63 จนถึงปัจจุบันยังไม่เปิดใช้งานได้

เรื่องนี้ นายทวี เกศิสำอาง อธิบดีกรมท่าอากาศยาน (ทย.) เปิดเผยว่า ขณะนั้นยังมีประกาศการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2558 (พ.ร.ก ฉุกเฉิน) เพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ปริมาณผู้โดยสารที่เดินทางจึงน้อยลง และมีหลายสายการบินประกาศหยุดทำการบินทั้งเส้นทางภายในประเทศ และระหว่างประเทศ57’

“ขณะนี้ไม่มีเที่ยวบินพาณิชย์ และผู้โดยสารมาใช้บริการแล้ว จำนวน 10 สนามบิน ประกอบด้วย สนามบินแม่ฮ่องสอน, สนามบินน่านนคร,สนามบินเลย,สนามบินนครพนม,สนามบินร้อยเอ็ด,สนามบินหัวหิน,สนามบินนราธิวาส,สนามบินปาย,สนามบินนครราชสีมา และสนามบินเพชรบูรณ์”

ส่วนปมร้อนสนามบินเบตง จ.ยะลา การชี้แจงของกรมท่าอากาศยานต้องบอกว่าไม่ได้กระจ่างชัดเจน สรุปคือ กรมท่าอากาศยานเองยอมรับออกแบบมาขนาดความรันเวย์ 30 เมตรคูณ 1800 เมตร รองรับเครื่องบินขนาดเล็ก ATR72 เท่านั้น

ความจริงทุกวันนี้ เมืองไทยแทบจะไม่มีเครื่องบินขนาดเล็กบินแล้ว เท่าที่มีบินบ้างก็ที่สนามบิน ลำปาง พิษณุโลก ดังนั้น อนาคตจะต้องขนาดรันเวย์เพิ่มขึ้น 2,500 เมตร เพื่อรองรับเครื่องใหญ่ นี่จึงสะท้อนถึงความล่าช้าการทำงานรัฐบาล