ทล.ซูมสถานการณ์น้ำท่วมทางหลวง 27แห่งยังผ่านไม่ได้ ศรีสะเกษหนักสุด8แห่ง

0
60

กรมทางหลวง(ทล.)สรุปสถานการณ์น้ำท่วมบนทางหลวง ประจำวันที่ 17 ตุลาคม 2565 พบทางหลวงถูกน้ำท่วม/ดินสไลด์ในพื้นที่ 12 จังหวัด ยังผ่านไม่ได้ 27 แห่ง ศรีสะเกษหนักสุด 8 แห่งรองอุบลฯ7แห่ว พร้อมทั้งเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อช่วยประชาชนอย่างทันท่วงที

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ ส่งผลให้ทางหลวงบางเส้นทางมีน้ำท่วมสูงเป็นเหตุให้ไม่สามารถใช้สัญจรได้ตามปกติ กรมทางหลวง (ทล.) ได้สั่งการให้ สำนักงานทางหลวง แขวงทางหลวง หมวดทางหลวงทั่วประเทศ เฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากพื้นที่ใดประสบปัญหาให้ระดมบุคลากร นำเครื่องจักรและวัสดุอุปกรณ์เข้าให้การช่วยเหลือ เพื่อเร่งระบายน้ำและบรรเทาความเดือดร้อนโดยเร็วที่สุด พร้อมกำชับให้ผู้บริหารในพื้นที่ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ ยังติดตั้งป้ายเตือนและอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยแก่ผู้ใช้เส้นทาง ในขณะที่บางจังหวัดก็มีการล้างทำความสะอาดถนนหลังจากน้ำลดลงแล้ว เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้รับความสะดวกปลอดภัยในการสัญจรโดยเร็วที่สุดอย่างต่อเนื่อง ตามข้อสั่งการของ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่มีความห่วงใยประชาชนผู้ประสบภัย พร้อมทั้งเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อช่วยประชาชนอย่างทันท่วงที

พร้อมกันนี้ ทล. ได้ทำการสรุปสถานการณ์อุทกภัยและดินสไลด์บนทางหลวง โดย สถานการณ์ประจำวันที่ 17 ตุลาคม 2565 เวลา 12.30 น. พบทางหลวงถูกน้ำท่วม/ดินสไลด์ ในพื้นที่ 12 จังหวัด ได้แก่ จ.ขอนแก่น ศรีสะเกษ นครราชสีมา หนองบัวลำภู อุบลราชธานี มหาสารคาม ยโสธร นครปฐม อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี และนครสวรรค์ จำนวน 28 สายทาง 38 แห่ง การจราจรผ่านไม่ได้ 27 แห่ง ดังนี้

1. จังหวัดขอนแก่น จำนวน 3 แห่ง ได้แก่

– ทางหลวงหมายเลข 2065 ตอน พล – ลำชี ในพื้นที่ อ.พล ช่วง กม.ที่ 33+150 – 34+000 ทางขาด ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน

– ทางหลวงหมายเลข 2131 ตอน บ้านสะอาด – เหล่านางาม ในพื้นที่ อ.เมือง ช่วง กม.ที่ 6+700 – 8+200 ระดับน้ำ 30 – 40 ซม. การจราจรไม่สามารถผ่านได้ ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน  

– ทางหลวงหมายเลข 2183 ตอน น้ำพอง – โคกท่า ในพื้นที่ อ.น้ำพอง ช่วง กม.ที่ 14+200 – 15+100 ระดับน้ำ 50 – 55 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงแยกโคกท่า กม.ที่ 25+600

 2. จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 8 แห่ง ได้แก่

– ทางหลวงหมายเลข 226 ตอน ศรีสะเกษ – ห้วยขะยุง ในพื้นที่ อ.กันทรารมย์ ช่วง กม.ที่ 311+000 – 313+384 ระดับน้ำ 60 – 70 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยง ทล.2178

– ทางหลวงหมายเลข 2083 ตอน หัวช้าง – สะเดา ในพื้นที่ อ.ราษีไศล ช่วงกม.ที่ 16+000 – 19+500 ระดับน้ำ 45 – 85 ซม. การจราจรไม่สามารถผ่านได้ ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน

– ทางหลวงหมายเลข 2086 ตอน บ้านด่าน – เมืองน้อย ในพื้นที่ อ.ราษีไศล ช่วง กม.ที่ 27+500 – 29+000 ระดับน้ำ 60 ซม. การจราจรไม่สามารถผ่านได้ ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน

– ทางหลวงหมายเลข 2086 ตอน บ้านด่าน – เมืองน้อย ในพื้นที่ อ.ราษีไศล ช่วง กม.ที่ 30+000 – 31+500 ระดับน้ำ 50 ซม. การจราจรไม่สามารถผ่านได้ ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน

– ทางหลวงหมายเลข 2086 ตอน บ้านด่าน – เมืองน้อย ในพื้นที่ อ.ราษีไศล ช่วง กม.ที่ 37+000 – 39+500 ระดับน้ำ 50 ซม. การจราจรไม่สามารถผ่านได้   

– ทางหลวงหมายเลข 2086 ตอน เมืองน้อย – กันทรารมย์ ในพื้นที่ อ.กันทรารมย์ ช่วง กม.ที่ 103+500 – 107+125 ระดับน้ำ 80 – 95 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน

– ทางหลวงหมายเลข 2373 ตอน โนนสำนัก – ดอนไม้งาม ในพื้นที่ อ.เมือง ช่วง กม.ที่ 12+000 – 16+050 ระดับน้ำ 50 – 85 ซม. การจราจรไม่สามารถผ่านได้ ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน

– ทางหลวงหมายเลข 2412 ตอน ท่าศาลา – ละทาย ในพื้นที่ อ.กันทรารมย์ ช่วง กม.ที่ 12+000 – 16+500 เป็นช่วง ๆ ระดับน้ำ 60 – 70 ซม. การจราจรไม่สามารถผ่านได้ ให้ใช้เส้นทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน

3. จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 1 แห่ง

– ทางหลวงหมายเลข 2285 ตอน ประทาย – ชุมพวง ในพื้นที่ อ.ชุมพวง ช่วง กม.ที่ 18+700 – 20+300 ระดับน้ำ 5 – 10 ซม. น้ำกัดเซาะพื้นผิวเป็นหลุมบ่อ ใช้ทางเลี่ยง ทล.2 ถึงแยกบ้านวัดเลี้ยวขวาเข้า ทล.207 ตัดเข้า ทล.202 เพื่อเข้าจังหวัดมหาสารคาม หรือ ใช้ ทล.2226 เพื่อเข้าจังหวัดบุรีรัมย์

4. จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 1 แห่ง

– ทางหลวงหมายเลข 2146 ตอน หนองบัวลำภู – เขื่อนอุบลรัตน์ ในพื้นที่ อ.เมือง ช่วง กม.ที่ 39+500 – 42+000 ระดับน้ำ 30 – 70 ซม. การจราจรไม่สามารถผ่านได้ ให้ใช้ทางเลี่ยง ทช.4013

5. จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 7 แห่ง

– ทางหลวงหมายเลข 23 ตอน เขื่องใน – อุบลราชธานี ในพื้นที่ อ.เมืองอุบลราชธานี ช่วง กม.ที่ 260+700 – 261+800 ระดับน้ำ 60 ซม. ใช้ทางเลี่ยง ทล.2383

– ทางหลวงหมายเลข 23 ตอน เขื่องใน – อุบลราชธานี ในพื้นที่ อ.เมืองอุบลราชานี ช่วง กม.ที่ 274+840 น้ำกัดเซาะข้างท่อเหลี่ยม ทำให้ถนนทรุด (ปิดการจราจรขาออก ใช้ทางเบี่ยงขาเข้าให้รถวิ่งสวนทาง)

– ทางหลวงหมายเลข 24 ตอน วารินชำราบ – อุบลราชธานี ในพื้นที่ อ.วารินชำราบ ช่วง กม.ที่ 418+400 – 419+600 ระดับน้ำ 110 – 115 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยง ทล.217 ทางแยกต่างระดับบัวเทิง เลี้ยวซ้ายไปสะพานข้ามแม่น้ำมูล เข้าสู่ตัวเมืองอุบลราชธานี

– ทางหลวงหมายเลข 226 ตอน ห้วยขะยุง – วารินชำราบ ในพื้นที่ อ.วารินชำราบ ช่วง กม.ที่ 313+400 – 313+700 ระดับน้ำ 70 ซม. ใช้ทางเลี่ยง ทล.2178

– ทางหลวงหมายเลข 226 ตอน ห้วยขะยุง – วารินชำราบ ในพื้นที่ อ.วารินชำราบ ช่วง กม.ที่ 319+600 – 319+800 ระดับน้ำ 135 – 140 ซม. ใช้ทางเลี่ยง ทล.2178

– ทางหลวงหมายเลข 231 ถนนวงแหวนรอบเมืองอุบลราชธานี ในพื้นที่ อ.เมือง ช่วง กม.ที่ 3+600 – 8+200 ระดับน้ำ 80 – 130 ซม. ใช้ทางเลี่ยงถนนวงแหวนด้านทิศตะวันออก ทล.231

– ทางหลวงหมายเลข 2404 ตอน เขื่องใน – นาคำใหญ่ ในพื้นที่ อ.เขื่องใน ช่วง กม.ที่ 14+120 – 14+550 ระดับน้ำ 50 – 65 ซม. ให้ใช้เส้นทางเลี่ยง ทล.2382

6. จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 1 แห่ง

– ทางหลวงหมายเลข 2391 ตอน กู่ทอง – บ้านเขื่อน พื้นที่ อ.โกสุมพิสัย ช่วง กม.ที่ 17+300 – กม.18+000 ระดับน้ำ 20 ซม. ให้ใช้ทางเลี่ยง ทล.12 ช่วง กม.ที่ 567+900

7. จังหวัดอ่างทอง จำนวน 2 แห่ง

  – ทางหลวงหมายเลข 3501 ตอน อ่างทอง – บางหลวงโดด ในพื้นที่ อ.ป่าโมก ช่วง กม.ที่ 9+900 – 10+400 ระดับน้ำนอกคันกั้นดิน 80 ซม. น้ำท่วมผิวจราจร 10 – 20 ซม. การจราจรไม่สามารถผ่านได้

– ทางหลวงหมายเลข 3501 ตอน อ่างทอง – บางหลวงโดด ในพื้นที่ อ.ป่าโมก ช่วง กม.ที่ 10+400 – 11+000 ระดับน้ำนอกคันกั้นดิน 80 ซม. น้ำท่วมผิวจราจร 10 – 20 ซม. การจราจรไม่สามารถผ่านได้

8. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 1 แห่ง

– ทางหลวงหมายเลข 3412 ตอน อยุธยา – บางบาล ช่วง กม.ที่ 9+793 – 15+950 ระดับน้ำ 40 ซม. ให้ใช้ทางเลี่ยง เลี้ยวซ้ายเข้าวัดบ้านขวางออกทางหลวงชนบท 4038

9. จังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 3 แห่ง

– ทางหลวงหมายเลข 311 ตอน แยกวัดสนามไชย – วัดกระดังงา ในพื้นที่ อ.เมือง ช่วง กม.ที่ 32+022 – 35+100 ระดับน้ำ 100 ซม. (ทางโค้งด้านใน) การจราจรไม่สามารถผ่านได้ ให้ใช้ทางเลี่ยงทางหลวงชนบท สห.3030

– ทางหลวงหมายเลข 311 ตอน วัดกระดังงา – บ้านม้า ในพื้นที่ อ.อินทร์บุรี ช่วง กม.ที่ 39+900 – 44+100 ระดับน้ำ 80 ซม. การจราจรไม่สามารถผ่านได้ ให้ใช้ทางเลี่ยงทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเชีย)

– ทางหลวงหมายเลข 3030 ตอน ดงมะขามเทศ – บางระจัน ในพื้นที่ อ.เมือง ช่วง กม.ที่ 0+000 – 0+100 ระดับน้ำ 35 ซม. ให้ใช้ทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน

ทั้งนี้ ทล. ได้สั่งการให้ สำนักงานทางหลวง แขวงทางหลวง หมวดทางหลวงทั่วประเทศ เฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากมีพื้นที่ใดประสบปัญหา เจ้าหน้าที่จะเข้าพื้นที่เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนทันที นอกจากนี้ ทล ได้ติดตั้งป้ายเตือนและอุปกรณ์ความปลอดภัย อุปกรณ์นำทาง ในบริเวณทางหลวงที่ถูกน้ำท่วม พร้อมเฝ้าระวังสถานการณ์จนกว่าจะคลี่คลาย โดยขอให้ประชาชนผู้ใช้ทางโปรดใช้ความระมัดระวังในการเดินทาง ปฏิบัติตามป้ายเตือน ป้ายแนะนำ และคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด

หากประชาชนต้องการสอบถามสภาพเส้นทาง สภาพการจราจร หรือ ต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อ ได้ที่สำนักงานทางหลวง แขวงทางหลวง หมวดทางหลวงในพื้นที่ และสายด่วนกรมทางหลวง 1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง) และสามารถติดตามการรายงานสถานการณ์สภาพเส้นทางและเส้นทางเลี่ยงได้ที่ทวิตเตอร์ กรมทางหลวง @prdoh1