ประกาศคุมเข้มตู้กดน้ำ กทม.ทำป่วน!

0
266
ประกาศคุมตู้กดน้ำหยอดเหรียญกทม.ทำป่วน หลังกำหนดให้เจ้าของเครื่องตีทะเบียนใน 15 วันไม่งั้นเจอโทษทั้งจำ-ปรับเล่นเอาห้างฯ-เจ้าของอาพาร์ทเมนต์ หอพักระส่ำลัวโดนลูกหลง เผย“เทสโก้ โลตัส”จัดหนักถึงขั้นขู่เลิกสัญญากับเจ้าของตู้ทำเอาผู้ประกอบการป่ันป่วน เหตุขั้นตอนจดแจ้งเขตกทม.ต้องใช้เวลาแรมเดือนแถมโขกค่าธรรมเนีนยมสุดโหดตู้ละ2พันบาท/ปี
หลังจากกทม.มีนโยบายคุมเข้มตู้กดน้ำหยอดเหรียญที่กระจายอยู่ตาชุมชนต่างๆ โดยกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการตู้กดน้ำหยอดเหรียญดำเนินการจดแจ้งขออนุญาตติดตั้งกับสำนักงานเขตให้ถูกต้องภายใน 15 วันหลังจากสำรวจพบว่ามีตู้กดน้ำหยอดเหรียญที่จดแจ้งถูกกฎหมายอยู่เพียง 160 ตู้เท่าน้ันจากจำนวนตู้กดน้ำหยอดเหรียญเกือบ 4,000 ตู้ทั่วกทม.นั้น  
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าประกาศคุมเข้มตู้กดน้ำหยอดเหรียญของกทม.ดังกล่าวได้สร้างความป่ันป่วนให้แก่ผู้ประกอบการอย่างหนัก เพราะเมื่อสำนักงานเขตต่างๆ แจ้งไปยังเจ้าของหอพัก อาพาร์ทเมนต์ หรือสถานที่ติดตั้งตู้น้ำให้ดำเนินการให้ถูกกฎหมาย หาไม่แล้วจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนปรับไม่เกิน 50,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับตาม พรบ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 บรรดาห้างสรรพสินค้าต่างๆ ที่มีตู้กดดน้ำเหล่านี้ติดตั้งอยู่ อาทิ ห้างเทสโก้ โลตัส บิ๊กซี ต่างก็ตื่นตัวและมีหนังสือแจ้งไปยังผู้ประกอบการเจ้าของเครื่องให้ส่งเอกสารแสดงใบอนุญาตภายใน 15 วันเช่นกัน ไม่เช่นน้ันจะยกเลิกสัญญาหรือเรียกให้ผู้ประกอยการเจ้าของตู้กดน้ำดื่มรื้อหรือจัดเก็บเครื่องออกไป 
“ผลจากประกาศคุมเข้มตู้กดน้ำหยอดเหรียญของ กทม.ดังกล่าวทำให้เจ้าของสถานที่ติดตั้งตู้อย่างห้างสรรหสินค้าเทสโทสโก้ โลติสเกิดความหวาดกลัวจะมีความผิดไปด้วยจึงส่ังให้เจ้าของตู้น้ำหยอดเหรียญต้องแสดงใบอนุญาตจากกทม.ท้ังที่ข้ันตอนในการขอใบอนุญาตติดตั้งตู้กดน้ำหยอดเหรียญที่ว่าน้ัน ไม่รู้จะต้องใช้เวลาพิจารณากันนานแค่ไหน บางรายที่ทำกิจการตู้กดน้ำหยอดเหรียญกระจายอยู่ตามชุมชนต่างๆ ท่ัวกรุงเทพ-ปริมณฑล แม้จะติดตั้งอยู่แค่เขตละ  5-10 ตู้ แต่แค่ว่ิงไปยังสำนักงานเขต 50 เขตของกทม.ก็ต้องใช้วลาเป็นแรมเดือนแล้ว ส่วนกทม.จะพิจารณาคำขอและตรวจสอบตู้น้ำว่าได้มาตรฐานตามที่กำหนดหรือไม่น้ัน ยังต้องใช้เวลาอีกนานแค่ไหนไม่มีใครบอกได้ กลายเป็นความโกลาหลข้ึนมาทันที” 
แหล่งข่าวกล่าวว่าสาเหตุหลักหน่ึงที่ทำให้ที่ผ่านมาผู้ประกอบกิจการติดตั้งตู้กดน้ำหยอดเหรียญหลีกเลี่ยงการจดแจ้งน้ันก็เนื่องจากค่าธรรมเนียมในการจดแจ้งที่ กทม.เรียกเก็บนั้นสูงถึงปีละ 2,000 บาท/ตู้ ซ่ึงแพงเกินกว่าที่ผู้ประกอบการจะอยู่ได้ และแม้กทม.จะอ้างว่าอยู่ระหว่างการร่างข้อบังคับปรับลดค่าธรรมเนียมลงมาเหลือ 500 บาท/ปี แต่ก็ยังไม่มีผลใช้บังคับจึงเท่ากับบังคับให้ผู้ประกอบการต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในอัตราเดิมไปก่อน 
“ข้อกำหนดกทม.ที่ส่ังให้เจ้าของกิจการตู้กดน้ำหยอดเหรียญต้องไปขอจดแจ้ง หาไม่แสดงตน กทม.จะริบหรือยกตู้ออกจากพื้นท่ีในทันทีน้ัน ที่จริงไม่ได้เกี่ยวข้องกับเจ้าของสถานที่ตั้งหรือเจ้าของห้างแต่อย่างใด แต่ด้วยความคลุมเครือที่ออกมาก็ทำให้บรรดาเจ้าของอาพาร์ทเมนต์ ห้างร้า่นที่ตั้งตู้เกิดความหวาดกลัวไปด้วยพาลจะให้ยกเลิกการติดตั้งตู้กดน้ำหยอดเหรียญชุมชนไปก็มี ซ่ึงแทนที่จะเป็นการแก้ไขปัญหาสังคมก็กลับจะเป็นการสร้างปัญหาให้กับประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่ต้องพ่ึงตู้กดน้ำหยอดเหรียญเหล่านี้เสียอีก”  
แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่า ที่จริงการแก้ไขปัญหาตู้กดน้ำหยอดเหรียญที่ถูกต้องนั้น จะต้องควบคุมตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตตู้น้ำที่ต้องได้มาตรฐานมาตั้งแต่ต้น แต่ที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างไร้เจ้าภาพในการกำกับดูแลมาตรญฐานที่ว่านี้ และขาดความเข้าใจในหลักการทำงานของตู้น้ำหยอดเหรียญที่ดีพอ ทำให้ตู้กดน้ำหยอดเหรียญที่กระจายอยู่่ตามชุมชนต่างๆนับหมื่นตู้ท่ัวประเทศ ซ่ึงส่วนใหญ่ใช้ระบบกรองและดูดอากาศเข้าตู้ กลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค เพราะเมื่อใดที่ใช้หลักการดูดอากาศเข้าไปย่อมมีโอกาสที่จะดึงเอาเชื้อโรคเข้าไปในตู้และในน้ำดื่มด้วย จึงทำให้ในระยะหลายสิบปีที่ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะสุ่มตรวจตู้กดน้ำดื่มแห่งใดก็มักพบว่ากว่าร้อยละ 50 น้ันไม่ได้ปลอดเชื้อโรคอย่างแท้จริง