ฉลองครบรอบ 14 ปี LOGISTICS TIME จัดแข่งขันกอล์ฟกระชับมิตร วันที่ 24 ส.ค.61

0
190

นิตยสาร LOGISTICS TIME  ฉบับประจำเดือนกรกฎาคม  2561  เผลอแป๊บเดียวใกล้ถึงวันก่อตั้งหนังสือฉบับนี้อีกแล้ว   คณะผู้บริหารและพนักงานกำหนดจัดการแข่งขันกอล์ฟกระชับมิตรขึ้นในวันที่ 24 สิงหาคม 2561 เวลา 12.00 น. (Shotgun Start ) ณ สนามกอล์ฟ กรุงกวี เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารนิตยสาร LOGISTICS TIME ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในแวดวงขนส่ง และโลจิสติกส์ เนื่องในโอกาสนิตยสาร LOGISTICS TIME ฉลองครบรอบ 14 ปีก้าวขึ้นสู่ปีที่ 15 …อย่างไรก็ตาม การจัดงานการแข่งขันกอล์ฟกระชับมิตรประจำปี 2018 นี้  อินทราภรณ์   หวังเป็นอย่างเป็นยิ่งว่าจะได้รับสนใจร่วมงานกันอย่างคับคั่งจากเหล่าบรรดาเพื่อนพ้องน้องพี่ เหมือนเช่นทุกครั้งที่ผ่านมา  ปีนี้รางวัลสำหรับทีมชนะเลิศและรองชนะชิงถ้วยรางวัล อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม และไพรินทร์  ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม และรางวัลอื่นๆอีกเพรียบ   ใครสนใจรีบติดต่อขอร่วมงานการแข่งขันกอล์ฟกระชับมิตร ครั้งนี้ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

…..กลายเป็น Talk of Town ไปแล้ว และกลายเป็นทุกข์ของคนกุรงเทพฯประชาชนผู้ใช้รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีเขียว หลังเกิดเหตุการณ์ต่างหยุดชะงักทำผู้โดยสารเดินทางล่าช้า   สาเหตุเกิดจากรถไฟฟ้าบีทีเอสขัดข้องกันสัปดาห์เดียวขัดข้องตั้งแต่ตอนเช้ายันเย็น เหตุเกิดในช่วงปลายเดือนมิ.ย.2561 ที่ผ่านมา   ขณะเกิดเหตุผู้โดยสารรับฟังประกาศแค่เพียงว่า  ขออภัยในความล่าช้า   เนื่องจากระบบอาณัติสัญญาณขัดข้องในสายสุขุมวิท และสายสีลม   ส่งผลกระทบให้บางขบวนเกิดความล่าช้า

….พูดก็พูดเถอะการประกาศของบีทีเอสผู้โดยสารบางคนยังไม่ทราบด้วยซ้ำไปว่า “ระบบอาณัติสัญญาณ ”มันคืออะไร   คราวหน้าหากเกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยเดิมอีก   ขอโปรดกรุณาช่วยชี้แจงขยายความให้ชัดเจนกว่านี้  ประชาชนชาวบ้านบางคนเค้าไม่ทราบจริงๆ ….หลังจากนั้นระบบอาณัติสัญญาณขัดเข้อง ผู้บริหารบีทีเอสออกโรงกล่าวคำว่า “ขออภัย”. โดย  สุรพงษ์  เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บอกว่า บริษัทขออภัยผู้โดยสารกรณีเกิดเหตุขัดข้องในการเดินรถไฟฟ้าที่เกิดในเช้าวันที่ 25 มิถุนายน 2561 และติดต่อกันในระยะ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา

ส่วนสาเหตุปัญหาขัดข้องที่แท้จริงๆ มันเกิดอะไรขึ้นกันแน่หรือ  ฐากร  ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.เรียกผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือแต่ค่ายเคลียร์ปัญหา   ใช้เวลาถกกันยาวนานนับชั่วโมง  สรุปแล้วกสทช.สั่งให้ บีทีเอส ย้ายช่องความถี่เคลียร์ปัญหาคลื่นกวนระบบอาณัติสัญญาณของรถไฟฟ้าบีทีเอส  เพราะก่อนหน้านี้ถูกคลื่นสื่อสาร หรือคลื่นที่บริษัท ทีโอที เปิดให้บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชัน หรือดีแทค รับสัมปทานคลื่น 2300 MHz ไปนั่นเอง  เป็นไปตามที่ผู้บริหารบีทีเอสแจ้งไว้จริง ซึ่งแม้ว่าจะมีการเว้นช่วงคลื่นการใช้งานของระบบไว้ถึง 30 MHz แต่ก็ยังเกิดปัญหาอีก

ดังนั้น กสทช. จึงแนะนำให้ บีทีเอส ไปเปลี่ยนอุปกรณ์รับสัญญาณใหม่ และสั่งให้ย้ายการทำงานช่วงคลื่นความถี่เดิม จากช่วง 2400 MHz ไปใช้งานที่ช่วงคลื่นความถี่2485-2495 MHz แทน ซึ่งเป็นช่วงคลื่นที่ใกล้เคียงคลื่น 2500 MHz และยังไม่มีการใช้งานทางด้านโทรคมนาคม เพื่อเป็นการเว้นระยะห่างการใช้งานคลื่นให้มากที่สุด พร้อมทั้งเห็นว่า บีทีเอสควรเปลี่ยนตัวรับอุปกรณ์ จากโมโตโรลา มาใช้ระบบของม็อกซ่าMoxa แทน  ฟังแนวทางแก้ปัญหาถามว่าจบข่าวไหมแบบนี้

…. อินทราภรณ์ คนที่ไม่ค่อยได้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสเป็นประจำเท่าไร     แต่ก็เป็นห่วงชะตากรรมคนใช้รถโดยสารสาธารณะด้วยกันไม่ได้  เป็นห่วงเพราะอนาคตการเดินทางโดยสารรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลจะมีเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมราว 10 สายทาง    ทั้งรถไฟฟ้าใต้ดินและรถไฟฟ้าบนดินเชื่อมโยงเป็นใยแมงมุม   หากเกิดปัญหาขัดข้องอะไรขึ้นอีกคราวนี้เดือนร้อนวุ่นวายเป็นเท่าทวีคูณกว่าบีทีเอส สายสีเขียวเป็นแน่ อยากฝากถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีมาตรการป้องกันให้ชัดเจนไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นก่อนแล้วแก้ทีหลัง

..มาแล้วบัตรแมงมุม ขยุมรถไฟฟ้า หลังจากก่อนหน้านี้เจ้ากระทรวงคมนาคม ตีปี๊บร้องเป่าประกาศเตรียมใช้บัตรแมงมุมเมื่อกลางปีที่แล้ว    แต่สุดท้ายไปๆมาๆฝันค้างต้องชะลอออกไปก่อนเหตุใดหรืออย่าไปฟืนฝอยหาตะเข็บเสียเวลา   ล่าสุดปีนี้กลับมาใหม่  เมื่อวันที่ 22 มิ.ย.2561  ที่ผ่านมา  อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานเปิดตัวตั๋วร่วมครั้งแรกของไทย ผ่านการใช้งานบัตรแมงมุม ซึ่งบัตรจะแบ่งผู้ใช้งานเป็น 3 กลุ่ม 3 สี คือ สีน้ำเงิน สำหรับบุคคลทั่วไป, สีทอง สำหรับผู้สูงอายุ และบัตรสีเทา สำหรับนักเรียน นักศึกษา โดยจะทยอยประกาศสิทธิประโยชน์บัตรแต่ละประเภทให้รับทราบต่อไป
ด้านการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)ระบุว่า รฟม.จะแจกตั๋วเดิมทางร่วมหรือ “บัตรแมงมุม”จำนวน 2 แสนในให้กับประชาชาทั่วไป จำนวน 1 คน ต่อ 1 ใบผ่านช่องทางขายตั๋วสถานีรถฟ้าสายสีม่วง  โดยจะต้องเติมเงินขั้นต่ำ 150 บาทและมีมูลค่าเงินในบัตร 100  บาท ส่วน 50 บาทจะเป็นค่ามัดจำบัตร… บัตรแมงมุมจะใช้ได้เพียงเฉพาะรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT และเดือนต.ค.2561  จะสามารถใช้บัตรแมงมุมได้กับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ ( ARL) และรถเมล์ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)ได้

…แต่ไม่อาจใช้ได้กับรถไฟฟ้า BTS  เหตุผลเพราะอะไร   อาณัติ อาภาภิรมย์ ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษา บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ ชี้แจงว่า  จนถึงขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับส่วนแบ่งรายได้ จึงทำให้ไม่สามารถตอบได้ว่า BTS จะร่วมเชื่อมต่อเส้นทางผ่านการใช้บัตรแมงมุมหรือไม่   ส่วนผู้โดยสารรถไฟฟ้า BTS  ก็ยังใช้บัตรกระต่าย Rabbit Card กันต่อไปได้เหมือนเดิม… อินทราภรณ์..ขอสรุปว่าบัตรแมงมุมปีนี้น่าจะราบรื่นทุกอย่างเป็นไปตามปฏิทินทุกประการ ยกเว้นการใช้บัตรแมงมุมจะไม่ครอบคลุม BTS  แต่จะเป็นเมื่อไหร่ โปรดรอติดคามกันต่อไป…