ต้อนรับ “ไฮสปีดเทรน” สถาบันการศึกษาเปิดหลักสูตรทางราง

0
126

วันนี้รัฐบาลกำลังส่งสัญญาแรงๆว่าประเทศไทยพร้อมแล้ว   ส่วนการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรเพื่อรองรับสิ่งใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นหลายสถาบันการศึกษาพร้อมแล้ว ”

นับเป็นก้าวสำคัญของประเทศว่าด้วยโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3  สนามบินประกอบการสนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินคลองอู่ตะเภา

อนึ่ง โครงการไฮสปีดเทรน ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง   เพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)  ซึ่งเปิดโอกาสให้นักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติร่วมลงทุนใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายหลักตามนโยบายรัฐบาล

ล่าสุด เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)เปิดขายซองประมูลผลปรากฏว่า มีเอกชนรายใหญ่ซื้อซองประมูลทั้ง 7 ราย  อย่างไรก็ตาม  เมื่อโครงการดังกล่าวพัฒนาเต็มรูปแบบ  หากไทยไม่ทำอะไรอาจจะเสียเปรียบต่างชาติ    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเตรียมพัฒนาคนพัฒนาบุตลากร  เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆที่จะเกิดในอนาคตกันใกล้นี้

ศ.ดร.สุชัชวีร์  สุวรรณสวัสดิ์  อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง (สจล.) เปิดเผยกับ ในรายการ “จุดประกาย ขยายประเด็น” ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย  FM 92.5 MHz. ถึงภาพรวมการเตรียมความพร้อมรองรับ “ไฮสปีดเทรน ”ภายใต้โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินไฮสปีดเทรน)  และโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)  ว่า  ขณะนี้ประเทศกำลังเดินหน้ากลายเป็นแหล่งการลงทุน  ศูนย์กลางการเดินทาง การบิน และการขนส่งทางทะเล   การเปิดประมูลไฮสปีดเทรนจะทำให้กำลังมีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นในประเทศไทยเหมือนกับประเทศพัฒนาแล้ว  อย่างประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน จีน เกาหลี  เป็นต้น

“ วันนี้รัฐบาลกำลังส่งสัญญาแรงๆว่าประเทศไทยพร้อมแล้ว   ส่วนการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรเพื่อรองรับสิ่งใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นหลายสถาบันการศึกษาเราพร้อมแล้ว    สมัยอดีตการพัฒนาระบบรางไม่มีความชัดเจน  แม้จะมีความพยายามก็ตามมหาวิทยาลัยต่างๆไม่ค่อยตื่นตัวผลิตบุคลากรทางด้านนี้  หากแต่วันนี้เมื่อ 2 ปีที่แล้วมีหลายมหาวิทยาลัยเปิดหลักสูตรเรื่อง การขนส่งทางราง  ประกอบด้วย สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ราชมงคล และอีกหลายๆสถาบันร่วมเปิดหลักสูตรขนส่งทาง เพื่อผลิตบุคลากรทางด้านนี้เพิ่มมากขึ้น  รวมทั้ง ยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับระบบรางเพิ่มมากขึ้น”

 เปิด 2 สาขาวิศวกรรมรถไฟความเร็วสูง

สำหรับหลักสูตรการศึกษาด้านการขนส่งรายละเอียดของหลักสูตร นักศึกษาได้เรียนรู้แบ่งเป็น 2 เรื่องหลัก  นั่นคือ 1. เรื่องเกี่ยวกับการก่อสร้าง เป็นการบูรณาการเรียกว่า  ด้านโยธา ระบบราง ระบบไฟฟ้า การขับเคลื่อนรถไฟ หรือเรียกว่า ด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน  และ 2. เรื่องเกี่ยวกับการควบคุมหรือการควบคุมระบบอาณัติสัญญาณ  การควบคุม การสื่อสารระหว่างสถานีกับรถไฟขณะวิ่งสวนกันไปมา   ดังนั้น หลักสูตร 2 เรื่องจึงถือเป็นหัวใจสำคัญที่สุด  ซึ่งบุคลากรการขนส่งทางรางจะต้องเรียนรู้เป็นการเรียนรู้ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ล้วนๆ   รถไฟความเร็วสูงจำเป็นต้องเรียนรู้บูรณาการหลายๆเรื่อง ทั้งเรื่องไฟฟ้า โยธา โทรคมนาคม  รวมทั้งวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

“ ความจริงแล้ว สจล.เองมีความพร้อมเกี่ยวกับเรื่องไฮเทคโนโลยี  อดีตต้องยอมรับว่า คนจบวิศวกรรมศาสตร์ แม้คนเรียนเก่ง มีความตั้งใจแค่ไหน แต่เรียนจบแล้วไม่มีงานรองรับ  เช่น คนเรียนจบด้านรถไฟความเร็ววันนี้มีคนเรียนจบแล้ว  แต่เอาเข้าจริงไม่มีงานรองรับ  สุดท้ายต้องไปทำงานกับอุตสาหกรรมรถยนต์  อีกทั้ง ประเทศไทยไม่ใช่อุตสาหกรรมต้นน้ำไม่ได้ทำอะไรเป็นความติดเชิงสร้างสรรค์  เหมือนกับวิศวกรต่างประเทศจึงทำให้ประเทศไทยศูนย์เสียวิศวกรหัวกะทิ   หากไม่เรียนต่อก็ต้องไปทำอาชีพเป็นนักการเงิน ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเสียดาย

“หากแต่ด้วยนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เป็นเรื่องดีเป็นการส่งสัญญาณอย่างแรง วันนี้ประเทศไทยจะเป็นทำอะไรที่เป็นไอเทค จะพึ่งพาคนเองแล้ว  จะไม่อยู่กับเศรษฐกิจที่ทำเยอะๆขายถูกๆ

แต่วันนี้จะทำอะไรที่มีความซับซ้อนและสามารถขายสินค้าให้ได้ราคาที่สูงขึ้น  ดังนั้น จึงทำให้วิศวกรที่เก่งสามารถมีงานทำไม่ว่าจะเป็นงานวิจัยขั้นสูง การผลิตการออกแบบทางต้นน้ำ  สิ่งต่างๆเหล่านี้มหาวิทยาลัยทั้งหมดตื่นตัวแล้ว ”

 ตลาดแรงงานขนส่งขยายตัวสูง  

อย่างไรก็ตาม  ขณะนี้ความต้องการบุคลากรขนส่งทางรางเริ่มต้องการมากในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา บีทีเอสขยายตัว รถไฟฟ้าใต้ดินกำลังขยายตัว  รถไฟเองกำลังพัฒนาไปสู่รถไฟทางคู่   แอร์พอร์ตลิงค์กำลังต้องการคนมากขึ้น  ทั้ง 3- 4 หน่วยงานแค่เพียงความต้องการก็ผลิตบุคลากรไม่ทันสำหรับวิศวกร  แต่ยังไม่รวมถึงการออกแบบ และการควบคุมระบบอาณัติสัญญาณที่เรายังทำได้ไม่ดี   หากแต่จะพูดถึงทำผลิตอะไหล่ หรือชิ้นส่วนบางอย่างยังต้องใช้เวลา

ส่วนการเรียนการสอนในระดับมหาวิทยาลัยที่ประสบวิกฤต เนื่องจากจำนวนนักศึกษามีน้อยกว่าที่นั่งในมหาวิทยาลัย  การเปลี่ยนของโลกยุดอินเทอร์เน็ต ใครก็ตามสามารถเรียนรู้ออนไลน์ได้  สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นการกระตุ้นเตือนให้มหาวิทยาลัยต้องปรับตัวเอง  ไม่ใช่เฉพาะเรื่องของรถไฟความเร็วสูงเท่านั้นวันนี้กำลังจะเกิดขึ้นจริงแล้ว

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องอื่นๆอีกมากมาย  ยกตัวอย่าง เช่น การสร้างรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ทดแทนรถยนต์สันดาปภายใน  อุตสาหกรรมการบินที่กำลังย้ายมาอยู่ที่สนามบินอู่ตะเภา และอื่นๆอีกมากมาย เทคโนฯทางชีวะการแพทย์  ทำอย่างไรให้ประเทศไทยสามารถยืนด้วยขาของตัวเองด้านสาธารณสุขได้ ไม่ต้องนำเข้าเทคโนฯจากต่างประเทศเข้ามา ประเทศไทยยังต้องต่อสู้ทางด้านเทคโนฯอีกมากไม่ใช่เฉพาะเรื่องรถไฟความเร็วสูงเท่านั้น  อย่างไรก็ตาม การผลิตบุคลากรหลายมหาวิทยาลัยเริ่มตื่นตัว  แต่อยู่ที่รัฐบาลจะเอาจริงผลักดันมากโครงการรถไฟความเร็วสูงมาก- น้อย แค่ไหน

ชี้ร.ฟ.ท.ปฏิรูปก่อนควบคุม “ ไฮสปีดเทรน”                 

เมื่อถามถึงหน่วยงานรัฐที่เหมาะสมทำหน้าที่กำกับดูแลรถไฟความเร็วสูง  ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กับคณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนาระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (บอร์ด EEC)  ศ.ดร.สุชัชวีร์ กล่าวว่า อันดับแรกหากรัฐบาลอยากให้ใครดูแลก็ต้องถามก่อนว่า การดูแลตรงนี้เรื่องอะไรบ้าง    การดูแลรถไฟความเร็วสูงเราต้องมองภาพให้แตก   ถ้ามองภาพเหมือนกับการกำกับดูแลรถไฟฟ้า BTS  กล่าวคือ  ทำเสร็จแล้ว รู้จักบริหารสัญญา ได้เงิน แล้วนำเงินนั้นว่าจ้างคนซ่อมบำรุงลักษณะแบบนี้เท่ากับการบริหารโครงการทั่วๆไป  แบบนี้ใครๆ ก็ได้

“ รถไฟความเร็วสูงไม่ใช่เรื่องการเชื่อมโยง 3 สนามบินและโครงการ EEC เท่านั้น   แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่  ประเทศไทยต้องเรียนรู้และทำให้เป็น  รถไฟความเร็วสูงในต่างประเทศสามารถผลิตเองได้  เช่น ญี่ปุ่นใช้ยี่ห้อ ฮิตาชิ โตชิบ้า  เกาหลีก็ใช้ยี่ห้อ KGS  เยอรมนีก็ใช้ยี่ห้อซีเมนส์   เพราะฉะนั้น  หากรัฐบาลมองรถไฟความเร็วสูงจะเป็นต้นแบบว่า ประเทศไทยก็ทำเองได้  ดังนั้น  หน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแล ก็ต้องเป็นหน่วยงานที่มีความรู้ ไม่ใช่แค่เรื่องการบริหารอย่างเดียว   หากแต่ต้องมีความรู้ครอบคลุมด้านเทคโนโลยีเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัย  เชื่อมโยงกับผู้ผลิต  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

“ แต่ยังเชื่อว่าการปฏิรูปการรถไฟฯทำได้  จากนั้นการรถไฟฯก็มีเป็นหน่วยงานที่มีความเหมาะสมทำหน้าที่บริหารจัดการรถไฟความเร็วสูง   แต่หากการรถไฟฯยังเป็นเหมือนเดิมแบบนี้รัฐบาลอาจจะไม่ไว้วางใจให้ทำหน้าที่ดังกล่าว    เพราะเกรงว่าดำเนินงานไม่ได้ประสิทธิภาพอาจเกิดสถานการณ์ “กลืนไม่เข้า คายไม่ออก”  แต่ยังมีความหวังว่า การรถไฟฯ สามารถยกระดับปฏิรูปองค์กรได้  ส่วนEEC  ได้ชื่อว่า เป็นลูกค้าหลัก  การเข้ามาของคณะกรรมการ EEC  จึงมีความเป็นความจำเป็นอย่างสูง   เพราะเป็นปลายทางของโครงการนี้นั่นเอง”