ผ่าแผนลงทุนคมนาคมขนส่งระยะเร่งด่วนปี 60 (Action Plan)ปี 60 จำนวน 36 โครงการ วงเงินกว่า 895,757 ลบ.

0
505

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แถลงข่าวผลการประชุมคณะรัฐมนตรีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงคมนาคม (วันที่ 13 ธันวาคม 2559)ว่าครม. รับทราบแผนปฏิบัติการลงทุนด้านคมนาคมขนส่ง ระยะเร่งด่วน ปี 2560 (Action Plan) เพื่อขับเคลื่อนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานให้เป็นไปตามแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้ในร่างกรอบยุทธศาสตร์ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และร่างแผนยุทธศาสตร์พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) รวมทั้งยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย (พ.ศ. 2558 – 2565) โดยมีโครงการที่มีความพร้อมในการดำเนินการในปีงบประมาณ 2560 จำนวน 36 โครงการ  วงเงินรวม 895,757.55 ล้านบาท  ซึ่งจะเป็นการลงทุนระบบราง 73.28%  ทางพิเศษและทางหลวงพิเศษ 18.67% ส่วนที่เหลือจะเป็นทางน้ำ ศูนย์ขนถ่ายสินค้า และสนามบิน   แบ่งออกเป็นกลุ่มโครงการ ดังนี้

-กลุ่มโครงการที่พร้อมให้บริการได้  จำนวน 2 โครงการ วงเงิน 1,355.34 ล้านบาท ได้แก่
1.โครงการเดินเรือเฟอร์รี่ (Ferry) เชื่อมอ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันออก-ตะวันตก
2.โครงการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม

-กลุ่มโครงการที่เริ่มก่อสร้างได้ จำนวน 5 โครงการ วงเงิน 54,798.50 ล้านบาท ได้แก่
1.โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ  เชียงราย
2.โครงการการพัฒนาท่าอากาศยานในภูมิภาค
3.โครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอก ด้านตะวันตก
4.โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงหัวหิน–ประจวบคีรีขันธ์ (ครม.อนุมัติ เมื่อวันที่ 1 พ.ย.2559)
5.โครงการปรับปรุงระบบลำเลียงสัมภาระท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

-กลุ่มโครงการที่เสนอครม./คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ(PPP)พิจารณาจำนวน 8 โครงการ วงเงิน 298,004.67 ล้านบาท ได้แก่
1.โครงการรถไฟทางคู่ช่วงเด่นชัย –เชียงราย-เชียงของ
2.โครงการรถไฟทางคู่ช่วงบ้านไผ่–นครพนม
3.โครงการรถไฟชานเมือง สายสีแดงอ่อน ส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศิริราชและตลิ่งชัน-ศาลายา
4.โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3
5.โครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 และ E-W Corridor
6.โครงการทางพิเศษ สายกระทู้-ป่าตอง
7.โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายนครปฐม-ชะอำ
8.โครงการศูนย์การขนส่งชายแดน จ.นครพนม

-กลุ่มโครงการสำคัญที่ต้องการผลักดัน จำนวน 2 โครงการ วงเงิน 24,049.00 ล้านบาท ได้แก่
1.โครงการการพัฒนาจุดพักรถบรรทุกตามเส้นทางหลัก
2.โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต

-กลุ่มโครงการที่จะประกวดราคาได้ จำนวน 15 โครงการ วงเงิน 468,564.48 ล้านบาท ได้แก่
1.โครงการจัดซื้อรถโดยสารรถไฟฟ้า จ้านวน 200 คัน และสถานีประจุไฟฟ้า
2.โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย  ช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4
3.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ส่วนต่อขยาย ช่วงสมุทรปราการ-บางปู
4.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ส่วนต่อขยาย  ช่วงคูคต-ลำลูกกา
5.โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม  ส่วนตะวันตก ช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมฯ
6.โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยาย (ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท)
7.โครงการรถไฟชานเมือง สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต
8.โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงปากนำ้โพ–เด่นชัย
9.โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี
10.โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงขอนแก่น–หนองคาย
11.โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงชุมพร–สุราษฎร์ธานี
12.โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงสุราษฎร์ธานี–สงขลา
13.โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงหาดใหญ่–ปาดังเบซาร์
14.โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงเด่นชัย –เชียงใหม่
15.ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (Maintenance Repair and Overhaul หรือ MRO) ที่ท่าอากาศยานอู่ตะเภา         -กลุ่มโครงการที่เตรียมข้อเสนอโครงการ จำนวน 4 โครงการ วงเงิน 48,985.56 ล้านบาท ได้แก่
1.โครงการการพัฒนาท่าเรือเฟอร์รี่เชื่อมอ่าวไทยตอนบน (ระยะยาว)
2.โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายหาดใหญ่-ชายแดนไทย/มาเลเซีย
3.โครงการการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาค (ชายแดน 9 จังหวัด)
4.โครงการการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาค (เมืองหลัก 8 จังหวัด
ทั้งนี้ ในปี 2560 กระทรวงฯ มีแผนการดำเนินงานแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ โครงการต่อเนื่องจากปี 2559 และโครงการปี 2560 ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และกระทรวงฯ จะเร่งรัดและผลักดันการดำเนินงานโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศโดยเร่งด่วนต่อไป