จับตาซูเปอร์บอร์ด คุมโครงการทางคู่ ย่ำกับที่

0
153

นิตยสาร LOGISTICS TIME  ประจำเดือนมีนาคม  2560   ถึงที่สุด  รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็งัดมาตรา 44 ทำการปลด วุฒิชาติ กัลยาณมิตร พ้นเก้าอี้ ผู้ว่าร.ฟ.ท. และแต่งตั้ง  อานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รองอธิบดีกรมทางหลวงมาเป็นรักษาการผู้ว่าการรถไฟฯ  พร้อมกับรื้อปรับเปลี่ยนบอร์ด ร.ฟ.ท.ใหม่ แล้วแต่งตั้งเพิ่มให้ครบทั้ง 9 คน  หลังถูกร้องเรียนเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง โครงการรถไฟทางคู่ส่งกลิ่นล็อกสเปกซ์  ไม่ไหว   ทั้ง ๆ ที่น่าจะดำเนินการเรื่องนี้ก่อนหน้านี้แล้ว   ไม่น่าปล่อยเอาไว้ลากยาวมาจนถึงปานี้เลย

… แต่ไฮไลต์สำคัญอยู่ที่ ม.44 คำสั่งคสช.ที่ 11/2560   ตั้งคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างโครงการรถไฟทางคู่ (ซูเปอร์บอร์ด ) ที่มี ประสาร ไตรรัตน์วรกุล  อดีตผู้ว่าฯแบงก์ชาติเป็นประธาน มีอำนาจหน้าที่เต็ม นับตั้งแต่  สั่งการยกเลิก ตรวจสอบข้อร้องเรียนต่างๆ โครงการได้ทันที  ประเดิมโครงการรถไฟทางคู่  7 สายทาง ก่อน  ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องจับตามอง   เพราะที่ผ่านมา รัฐบาลเพิ่งยกเลิกคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) เมื่อปี 2559   ซึ่งทำหน้าที่หน้าไม่แตกต่างกับซูเปอร์บอร์ดครั้งนี้มากนัก   การผุดขึ้นมาใหม่จากคำสั่ง ม. 44    อินทราภรณ์  คาดการณ์เอาไว้ก่อนล่วงหน้า ว่า   อาจจะทำให้โครงการรถไฟทางคู่  ยิ่งล่าช้า ย่ำกับที่   เพราะเดิมล่าช้าอึดเหมือนเรือเกลืออยู่แล้ว

…พลิกดูสินบนข้ามชาติผ่านมา 2 เดือนกว่าแล้ว  แต่ยังไม่คืบหน้า    เรื่องนี้ พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานคณะกรรมการป.ป.ช.ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานและเร่งรัดการดำเนินคดีทุจริตระหว่างประเทศ  บอกว่า เรื่องที่ป.ป.ช. ดำเนินการเกี่ยวกับสินบนระหว่างประเทศ มีทั้งสิ้น 12 คดี รวมถึงกรณีสินบนโรลส์รอยซ์  ด้วย   แต่ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อมูลจากเอสเอฟโอ เพราะยังไม่ได้ขอไปอย่างเป็นทางการ จึงต้องทำตามกฎหมาย    แปลความว่า ทางการไทย ยังต้องร้องเพลงรอกันต่อไป   เพราะข้อมูลจากสำนักงาน ป.ป.ช.อังกฤษ และกระทรวงยุติธรรม สหรัฐ ต่อไป  แต่ถึงอย่างไรก็ต้องฝากให้พล.ต.อ.วัชรพล  เร่งรัดติดตามความคืบหน้าทำคดีสินบนโรลส์ ให้เห็นผลโดยเร็ววันก็แล้วกัน

..วกมาที่ข่าวเด่นประเด็นร้อนโรงไฟฟ้าถ่านหิน กระบี่  ก่อนหน้ายังไม่ชัดเจน ว่าตรงปัดฝุ่น EIA และEHIA ใหม่ทั้งหมดหรือไม่ หรือแค่นำของเดิมมาทบทวนใหม่    แต่ล่าสุด พลโทสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  ยืนยันว่า  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา  นายกรัฐมนตรี สั่งการให้สำนักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ สผ. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีหนังสือไปถึงกระทรวงพลังงาน เพื่อแจ้งให้ กฟฝ. ยกเลิกการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA และผลการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือ EHIA ที่ดำเนินการไปก่อนหน้านี้  ในกรณีโครงการสร้าง โรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ และให้เริ่มต้นนับหนี่งกระบวนการศึกษาผลกระทบใหมทั้ง 2 ฉบับ

..ในเมื่อเดินตามนี้คำนวณระยะเวลาการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจะเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่คงต้องใช้ระยะเวลาอีกประมาณ 18-24 เดือน หรือ  2 ปี      แต่ถึงกระนั้น อินทราภารณ์ คนความรู้น้อยด้วยประสบการณ์ ยังคงมึนตึบกับคำสั่ง นายกรัฐมนตรี ที่โฆษก พล.ท.สรรเสริญ แถลงว่า นายกฯใช้อำนาจสั่งการให้ สผ.มีหนังสือไปถึงกระทรวงพลังงาน เพื่อแจ้งให้ กฟฝ.ยกเลิก EIA และEHIA นั้นนายกฯใช้อำนาจอะไร หรือในฐานะประธานคณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ (กพช.ก็ไม่น่าจะถูกต้องใช่หรือไม่

..   กรมสรรพสามิตได้ทีขยับปรับภาษีเหล้า เบียร์  ไวน์ อีกแล้ว คอเหล้าคอเบียร์ และคอไวน์ อ่วมไปตามๆกัน   สมชาย พุลสวัสดิ์ อธิบดีกรมสรรพสมมิต  ให้เหตุผลการปรับขึ้นภาษีว่า เพดานจัดเก็บภาษีจริงจะไม่สูงตามเพดานตามมติ ครม.ที่จะไม่ให้ส่งผลกระทบต่อกับผู้ประกอบการและประชาชน  อินทราภรณ์  ว่า ถ้าหากปรับขึ้นภาษีเหล้า เบียร์ ไวน์  เท่ากับเพื่อหารายได้จากการปรับเพดานภาษีเพิ่ม  เพื่อดึงเม็ดเงินภาษีเข้าคลังของประเทศ ใช่หรือไม่   แต่ไหนทีแรกรัฐบาลบอกว่า รัฐบาลถังแตก….ว่ากันตามจริง    ก่อนหน้ารัฐบาลรีดภาษีหรือถอนขนห่าน โดยเฉพาะกรมสรรพากร กรมสรรมสามิต ที่ผ่านมา  มีมาตรการปรับเพิ่มภาษีน้ำมันเครื่อง บิน ภาษีสุราและบุหรี่ ภาษีเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล  แต่ที่ฮืดฮามากที่สุด ภาษีสินสอด ยังเก็บเลย  . ..พูดภึงภาษีสินสอดก็จะสวนทางกับนโยบายกระทรวงวัฒนธรรมที่ส่งเสริมให้คนไทยมีบุตรเพิ่มขึ้น  หากเป็นเช่นนี้รัฐบาลน่าจะทำการทบทวนใหม่ ไม่เช่นนั้นนโยบายเพิ่มประชากรคงไม่จะไม่ได้ผล กลายป็นหมันเอาชะงั้น

… วกดูข่าวดีในแวดวง การค้าระหว่างประเทศ  พบว่า เดือนมกราคม ที่ผ่านมา  การส่งออกก็พุ่งลิ่วทีเดียว  ก็ต้องขอแสดงควยามยินดีกับพาณิชย์    มูลค่าการส่งออกเดือนมกราคม ทำยอดขยายตัวร้อยละ 8.8  หรือมีมูลค่า 1.7 หมื่นดอลลาร์ พิมพ์ชนก วอนพอพร  ผอ.สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า ชี้ว่า การขยายตัวส่งออกโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3    เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้น ถ้าเป็นอย่างนั้น เห็นที่ผู้ประกอบการส่งออกไทยคงหายใจหายคอสะดวกขึ้นกว่าปีที่แล้ว เชื่อว่า ตลอดทั้งปี 60 ส่งออกคงเป็นไปตามเป้าตามที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์เอาไว้อยู่ที่ร้อย 5

… ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิปิดซ่อนรันเวย์ 60 วัน เริ่มวันที่ 3 มีนาคม ไปจนถึง 2 พฤาภาคม นี้    ก็ฝากแจ้งข่าวคราวกันมาสำหรับผู้โดยสารที่เดินทางใช้บริหารสนามบินแห่งนี้ให้ทราบ     ศิ-โรฒน์  ดวงรัตน์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ  บอกว่า   ปิดปรับปรุงพื้นผิวทางวิ่งและทางขับฝั่งตะวันอกเป็นระยะทาง 935 เมตร ในทางอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นเวลา 60 วัน    แต่ยืนยันว่าจะไม่กระทบต่อการให้บริการผู้โดยสาร พร้อมทั้งเตรียมแผนรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน     และจัดให้ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภาเป็นสนามบินสำรองไว้แล้ว   อินทราภรณ์ ก็ได้แต่ภาวนาว่า  ในช่วงระหว่างทำการปิดซ่อมรันเวย์  ก็ให้ทุกอย่างดำเนินการไปอย่างราบรื่น   อย่าให้มีอุบัติเหตุอะไรเกิดขึ้น ที่จะกระทบกับผู้ใช้บริการสนามบินโดยสารเป็นอันใช้ได้

…นี่ก็ปิดซ่อมเช่นเดียวกัน   ปิดซ่อมสะพานไทย – เบลเยี่ยม  45 วัน หรือ 1 เดือนครึ่ง ว่างั้นเถอะ   หลังจากเกิดเหตุไฟไหม้สะพานไทย – เบลเยี่ยม  เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์  2560 ที่ผ่านมา  ทำให้โครงสร้างสะพานแห่งนี้มีปัญหา  สะพานแห่งนี้เปิดใช้งานมานานมากไม่ต่ำกว่า 40 ปี  (ถ้าจำไม่ผิด )    ในเรื่องนี้  จักกพันธุ์ ผิวงาม   รองผู้ว่าฯกทม. เปิดเผยว่า   ในช่วงที่ปิดซ่อมสะพาน 45 วัน จะปิดการจรจรทั้ง 2 ด้านของสะพานด้วยตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ.เป็นต้นไป    เพื่อความปลอดภัยของประชาชน    ปิดภนนซ่อมสะพาน แน่นอนการจราจรใน กทม. อัมพาตหนักเข้าไปอีกแน่ๆ    เชื่อว่า ส่งผลกระทบกับการใช้รถใช้ถนนในย่านนี้แน่ๆ      เพราะเดิมขณะนี้ช่องทางจราจรในกทม.ถูกปิดทางสาย เพื่อสร้างรถไฟฟ้า   อินทราภรณ์ ขอเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานจราจรหาทางรับมือแก้ปัญหาจราจรให้ชาว กทม.ด่วนที่สุด จะเป็นพระคุณเป็นอย่างยิ่ง

.. ..ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ค่อยสู้ดีมากนัก   แต่ก็ต้องขอแสดงความยินดีกับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ  เพราะว่า  ปี 2559  ที่ผ่ามมาสามารถฟันกำไร 33%  ทะลุเป้า สวนทางกระแสเศรษฐกิจ     ดิเรก ศรีประทักษ์   แถลงว่า   ปี 2559 ซีพีเอฟ มีผลประกอบการทำกำไรสุทธิ 14,703  เพื่อขึ้น 33 %    จากปีก่อนเป็นผลจากผลการดำเนินงานของธุรกิจสัตว์บกในประเทศไทยที่เข้าสู่ภาวะปกติ และการฟื้นตัวอย่างต่อนื่อง ของอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งในประเทศไทย  ซี่งกอ่นหน้านี้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค Early Mortality Syndrome และผลการดำเนินงานของบริษัทย่อมใหม่ในประเทศรัสเซีย และกัมพูชารวมทั้ง มาตรการในการบริหารจัดการใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพ