ทล.สร้าง Central Lab ด้านงานทางในภูมิภาคเอเชีย เปิดใช้ ก.ย. ปี 62

0
1289

กรมทางหลวง (ทล.) กระทรวงคมนาคม ก่อสร้างศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีงานทาง เพื่อบูรณาการองค์ความรู้ด้านงานทางสำหรับทดสอบ วิเคราะห์ และวิจัยงานทาง และระบบอำนวยความปลอดภัย รวมถึงการฝึกอบรมบุคลากรและการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีงานก่อสร้างและบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานทางการคมนาคมขนส่งของประเทศให้มีประสิทธิภาพ และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ พร้อมทั้งยกระดับให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเทคโนโลยีงานทางของภูมิภาค

นายธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง กล่าวว่า ทล. ให้ความสำคัญด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับงานออกแบบ ก่อสร้าง และบำรุงรักษาทาง โดยมีงานวิเคราะห์ วิจัยช่วยสนับสนุนและเพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการเปิดเสรีในภูมิภาคและการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ทั้งนี้ งานถ่ายทอดเทคโนโลยีงานทางและพัฒนาบุคลากร เป็นภารกิจที่เสริมศักยภาพการให้บริการงานวิจัยและพัฒนางานทาง โดยนำองค์ความรู้หลักทางวิศวกรรมงานทางจากผลงานทางวิชาการมาจัดทำโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีงานทาง เพื่อพัฒนาทักษะความรู้ด้านงานก่อสร้าง บูรณะบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน และงานอำนวยความปลอดภัยให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ และมีความรู้ความเข้าใจในรูปแบบและเทคนิคการวิจัยใหม่ ๆ ทล. ได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีงานทาง (Central Lab) บริเวณทางหลวงหมายเลข 35 (ถนนพระราม 2) ที่ กม.6+500 เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ พื้นที่ 20 ไร่ ประกอบด้วย อาคารบริการ เป็นอาคาร 2 ชั้น ใช้เป็นศูนย์รวมข้อมูลข่าวสารด้านงานทางหรือห้องสมุด จัดฝึกอบรมและแสดงนิทรรศการ และอาคารปฏิบัติการทดสอบ จำนวน 3 หลัง เป็นอาคาร 3 ชั้น มีห้องปฏิบัติการ จำนวน 36 ห้อง ใช้เป็นพื้นที่อำนวยการ ทดลองทางวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์ สำนักวิจัยและพัฒนางานทาง และสำนักอำนวยความปลอดภัย รวมพื้นที่ใช้สอย 28,746 ตารางเมตร งบประมาณก่อสร้าง 780,600,000 บาท กำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2562 สำหรับศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีงานทาง ประกอบด้วย
1. งานวิเคราะห์และวิจัยงานทาง เพื่อสนับสนุนและปรับปรุงการปฏิบัติงานของหน่วยงานด้านงานทางในประเทศและภูมิภาคให้มีคุณภาพดีและทันสมัย เป็นศูนย์กลางให้คำแนะนำแก่บุคลากรของ ทล. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

2. งานอำนวยความปลอดภัย เพื่อเสริมสร้างมาตรฐานความปลอดภัยในการออกแบบถนน สนับสนุนข้อมูลและเทคโนโลยีด้านความปลอดภัย ทดสอบทางฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้องกับงานทาง เช่น การวิเคราะห์ความปลอดภัยด้านการมองเห็น แสงที่ใช้ในถนน การออกแบบกำแพงกันเสียง (Sound Barrier) ทดสอบผลกระทบจากการชนของรถ (Impact Test) เป็นต้น
3. งานระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ (Intelligent Transport Systems : ITS) เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ของกระทรวงคมนาคมด้านการขนส่งและจราจร สามารถสร้างเสริมประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบขนส่งและการจราจรของประเทศ เพื่อมุ่งเน้นการแก้ปัญหาจราจร ป้องกันอุบัติเหตุ ลดปัญหามลภาวะ และประหยัดพลังงาน โดยนำระบบทดสอบ Test Track หรือเครื่องทดสอบทางแบบเร่งการใช้งาน (Accelerated Pavement Testing : APT) ที่สามารถควบคุมและจำลองสภาพการใช้งานของผิวทาง