รักษาการฯผู้ว่ารฟท.คนใหม่ ยันสายสีแดงเปิดให้บริการต.ค.63

0
174
รักษาการฯผู้ว่ารฟท.คนใหม่อััพเดตความคืบหน้าโครงการรถไฟสายสีแดง มั่นใจเปิดให้บริการตุลาคม 63  แม้จะสร้างล่าช้า-ปัญหาถาโถมไม่ขาดสาย ทั้งไม่สามารถเข้าพื้นที่สร้างสกายวอลก์ในพื้นที่กทม.ให้บอร์ดรับทราบก่อนเสนอรมว.คมนาคมเร่งแก้ไข  
นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26.3 กม.ว่า ภาพรวมคืบหน้าไปอย่างมากแม้จะติดขัดปัญหาการก่อสร้างบางช่วงที่ขณะนี้การรถไฟยังไม่สามารถเข้าพื้นที่ก่อสร้างทางเดินยกระดับลอยฟ้า(สกายวอลก์) ในบางสถานีได้ รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงระบบอาณัติสัญญาณในสัญญา 3 แต่ภาพรวมโครงการยืนยันจะทันเปิดให้บริการได้ภายในเดือนต.ค. 63 อย่างแน่นอน ถึงกระนั้นรการถไฟฯจะรวบรวมปัญหาทั้งหมดเสนอให้บอร์ด รฟท. ที่มีนายกุลิศ สมบัติศิริ เป็นประธานพิจารณาก่อนที่จะเสนอให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้ โครงการรถไฟสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26.3 กม.แบ่งออกเป็น 3 สัญญาด้วยกันประกอบด้วย สัญญาที่ 1 งานสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง เริ่มงานก่อสร้างเมื่อ 4 มี.ค. 56 โดยมีกลุ่มกิจการร่วมค้า SU (ซิโน-ไทย  และยูนิค) เป็นผู้ก่อสร้าง มีผลงาน70.52% ล่าช้าจากแผนงานอยู่ประมาณ 1%และตามกำหนดจะต้องแล้วเสร็จในเดือนพ.ย.62
สัญญาที่ 2 งานโครงสร้างทางวิ่งยกระดับและระดับพื้นงานสถานี 8 แห่ง และถนนเลียบทางรถไฟมีบริษัท อิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์ เป็นผู้ดำเนินการรับผิดชอบ เริ่มงานตอกเข็มเมื่อวันที่ 4 มี.ค. 56 ปัจจุบันมีความคืบหน้ากว่า 97.94% ล่าช้าจากแผนงานเล็กน้อย  สัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้า เครื่องกลและจัดหาตู้รถไฟฟ้า สำหรับช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และบางซื่อ-รังสิต ซึ่งมี กลุ่มมิตซูบิชิ-ฮิตาชิ-สุมิโตโม จากประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้ดำเนินการ เริ่มงานเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 59 ล่าสุดมีความคืบหน้า 28.95% ล่าช้าจากแผน 25.63% ตามสัญญาจะแล้วเสร็จในเดือน มิ.ย. 63
สำหรับปัญหาที่ส่งผลให้การก่อสร้างล่าช้าคือ ในสัญญาที่ 2 การรถไฟไม่สามารถเข้าพื้นที่ที่เกี่ยวเนื่องกับ กรุงเทพมหานคร ในการก่อสร้างทางยกระดับลอยฟ้าได้ 2-3 สถานีเนื่องจากสำนักระบายน้ำกทม.เกรงจะส่งผลให้การระบายน้ำของกทม.มีปัญหาได้ เบื้องต้นการรถไฟฯมีการเจรจากับกรมทางหลวง เพื่อขอใช้เขตทางในการก่อสร้าง
ส่วนปัญหาหลักที่ส่งผลให้การดำเนินการในสัญญา 3 มีปัญหาและล่าช้าคือ รฟท.มีการปรับระบบอาณัติสัญญาณใหม่จากเดิมเป็นระบบ ATO ซึ่งจะรองรับเฉพาะรถไฟฟ้าของญี่ปุ่นมาเป็นระบบอาณัติสัญญาณแบบ ETCS ซึ่งจะเปิดกว้างมากขึ้น ทำให้บริษัทซัพพลายเออร์จะต้องออกแบบรถใหม่ รวมถึงได้ส่งผลกระทบต่อการเปิดไลน์ผลิตซัพพลายเออร์ผลิตรถให้ไม่ทัน  อีกทั้งยังมีเรื่องของการจ่ายกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ที่ขณะนี้เพิ่งจะเริ่มสร้างสถานีจ่ายกระแสไฟฟ้าในโครงการ และจะใช้เวลาสร้างกว่า 2 ปี จึงจะสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้โครงการได้ จึงทำให้การทดสอบระบบรถไฟฟ้าล่าช้าตามไปด้วย