นักวิชาการ TDRI ชี้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ระยะยาว ต้องแก้ “ต้นทาง”

0
158

ไม่ใช่ปัญหาไกลตัวอีกต่อไปสำหรับปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่นับวันยิ่งพุ่งสูงสร้างปัญหาต่อสุขภาพประชาชนคนไทยมากยิ่งขึ้น กลายเป็น “มหันตภัยเงียบ”ที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหานี้ ไม่ใช่เช่นจะส่งผลร้ายต่อสุขภาพระยะยาวของประชาชนคนไทย โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่กำลังเผชิญกับเจ้าฝุ่นจิ๋วแต่แฝงด้วยมหันภัยร้าย

ความคาดหวังจึงพุ่งเป้าไปที่รัฐบาลว่าจะคลอดมาตรการแก้ปัญหานี้อย่างไร ล่าสุด คณะรัฐมนตรี(ครม.)นัดสัญจรที่จังหวัดนราธิวาส (21 ม.ค.63)ได้เห็นชอบ 12 มาตรการแก้ไขตามปัญหาที่ทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)ได้นำเสนอเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปสู่ภาคบังคับหวังสกัดต้นตอฝุ่น PM2.5 ในทุกด้านให้อยู่หมัด

1 ใน 12 มาตรการที่ถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุด คงเป็นมาตรการที่ว่ากันว่าเป็น “ยาแรง”คือการห้ามรถยนต์เข้ามาวิ่งในเขตเมืองหลวง ภายใต้ 12 มาตรการล้อมคอกฝุ่น PM2.5 นี้ รถบรรทุกสิบล้อจะเป็นรถประเภทแรกที่จะถูกจำกัดเวลาและพื้นที่วิ่ง กล่าวคือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.)จะออกข้อกำหนด  “ห้ามสิบล้อ”วิ่งเข้ากรุงในวันคี่ เริ่มตั้งแต่เวลา 06.00 น. – 21.00 น. และให้เข้าได้ในช่วงหลังเวลา 21.00น. – 05.00 น.ยกเว้นรถบรรทุกอาหารสดเท่านั้น ส่วนวันคู่สามารถเข้าได้ตามช่วงเวลาปกติ

ทั้งนี้ มีการข้อเสนอลดการใช้รถยนต์หลังกรมควบคุมมลพิษเผยต้นตอฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพมหานครกว่าร้อยละ 72.5 มาจากการคมนาคมขนส่ง เป็นรถบรรทุกกว่าร้อยละ 28 ร้อยละ 7 มาจากรถบัส ร้อยละ 21 มาจากรถกระบะ ร้อยละ10 มาจากรถยนต์ส่วนตัว และอีกร้อยละ 5 มาจากรถมอเตอร์ไซค์ ซึ่งต้นตอปัญหาที่ถูกระบุชัดได้นำไปสู่ข้อเสนอว่าด้วยการจำกัดจำนวนรถเข้าในเขตใจกลางเมือง

ทว่า ด้วยบริบทความพร้อมของประเทศไทยเรายังมีข้อจำกัด อีกทั้งปัญหาที่เป็นต้นตอฝุ่น PM2.5 ยังถูกหมักหมมไว้โต้พรมมาโดยตลอด ทุกรัฐบาลขาดแผนและแนวทางทั้งระยะสั้นและระยะยาวในการแก้ไข แก้ปัญหาแบบไฟไหม้ฟาง ขาดการบรูณการการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน

ยุติใช้เครื่องยนต์ดีเซล ขึ้นภาษีน้ำมันดีเซล

รศ.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI สะท้อนว่ามาตรการกำหนดจำนวนรถยนต์เข้าเมืองเป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด เป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น การกำหนดให้รถยนต์วิ่งวันคู่วันคี่ รวมถึงการจำกัดเวลา เป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น เพราะปัญหาระยะยาวคือ รถยนต์รถยนต์ใช้น้ามันดีเซล กล้าแก้ปัญหาเรื่องภาษี เรื่องการลดจำนวนรถลงหรือไม่ ระยะสั้นอาจะจำกัดวันรถยนต์ได้แต่นอกเวลาก็จะมีรถยนต์วิ่งเข้าเมืองทำให้รถติดมากยิ่งขึ้นก็เป็นปัญหาอีก เพราะมีเปลี่ยนแปลงปัญหาจากเวลาหนึ่งไปอีกเวลาหนึ่ง

“ใครก่อมลพิษ คนนั้นต้องรับภาระ เป็นหลักการสำคัญที่รัฐบาลควรนำมาใช้ในการจัดลำดับความสำคัญของการแก้ปัญหาฝุ่นจากการขนส่งและคมนาคม  เช่น การขึ้นภาษีน้ำมันดีเซล การยุติการใช้เครื่องยนต์ดีเซลเก่า แต่มาตรการเหล่านี้ก็ต้องใช้ความกล้าหาญของรัฐบาลในการเดินหน้าเพื่อสร้างความเข้าใจ และทำให้การแก้ปัญหาฝุ่นที่ต้นทางเกิดขึ้นจริง”

การป้องกัน-ลดการเกิดมลพิษที่ต้นทาง

รศ.นิพนธ์ ยังระบุถึงแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง;มีมาตรการที่ 2 การป้องกันและลดการเกิดมลพิษที่ต้นทาง (แหล่งกำเนิด) มุ่งให้ความสำคัญในการควบคุมและลดการระบายมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิด รวมถึงลดจำนวนแหล่งกำเนิดมลพิษ 2 มาตรการระยะสั้นและระยะยาว

“การควบคุมและลดมลพิษจากยานพาหนะมาตรการระยะสั้น (พ.ศ. 2562 – 2564) ประกอบด้วยให้ใช้มาตรการจูงใจเพื่อส่งเสริมให้มีการนำน้ำมันเชื้อเพลิงมีกำมะถันไม่เกิน 10 ppm มาจำหน่ายก่อนกฎหมายมีผลบังคับใช้บังคับใช้มาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศจากรถยนต์ใหม่ Euro 5 ภายในปี 2564 ให้เร่งรัดให้มีการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะ ทั้งระบบหลักและระบบรองให้มีประสิทธิภาพ ปลอดมลพิษ และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ เพิ่มความเข้มงวดมาตรฐานและวิธีการตรวจวัดการระบายมลพิษจากรถยนต์ ปรับลดอายุรถที่จะต้องเข้ารับการตรวจสภาพรถประจำปี”

นอกจากนี้ ยังต้องพัฒนาระบบการตรวจสภาพรถยนต์ให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลผลการตรวจสภาพให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพิ่มทางเลือกในการเดินทางสัญจรให้ประชาชนที่สะดวกและปลอดภัย เช่น ทางจักรยาน ทางเดินเท้าที่สะดวกและปลอดภัย เป็นต้น 

ส่งเสริมผลิต-ใช้รถยนต์ไฟฟ้า

รศ.นิพนธ์ สำทับอีกว่าการศึกษาความเหมาะสมในการจำกัดอายุการใช้งานรถยนต์ รวมถึงระบบการจัดการซากรถยนต์ที่หมดอายุการใช้งาน การจัดการคมนาคมขนส่งด้าน Demand Side Management ให้ควบคุมการนำรถยนต์ใช้แล้วในต่างประเทศ (ใช้ส่วนตัว) เข้ามาในประเทศ การควบคุมการนำเข้าเครื่องยนต์เก่าใช้แล้ว (ทั้งรถและเรือ) โดยต้องเป็นไปตามมาตรฐานการระบายมลพิษสำหรับรถผลิตใหม่ที่ประเทศไทยบังคับใช้อยู่ ณ เวลาที่นำเข้า และต้องมีอายุไม่เกิน 5 ปีใช้มาตรการจูงใจเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมการผลิตและการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ให้กำหนดพื้นที่และมาตรการในการจำ กัดจำนวนรถเข้าในเขตใจกลางเมืองให้มีการซื้อทดแทนรถราชการเก่าด้วยรถยนต์ไฟฟ้า

อย่างไรก็ดี รศ.นิพนธ์  ระบุถึงภาครัฐต้องขับเคลื่อนตามมาตรการระยะยาว (พ.ศ. 2565 – 2567) ประกอบด้วยปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีกำมะถันไม่เกิน 10 ppm ให้แล้วเสร็จภายในปีพ.ศ. 2566 และบังคับใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีกำ มะถันไม่เกิน 10 ppm ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป บังคับใช้มาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศจากรถยนต์ใหม่ Euro 6 ภายในปี2565 ใช้มาตรการจูงใจเพื่อสนับสนุนส่งเสริมการผลิตและการใช้รถยนต์ไฟฟ้า การเชื่อมโยงโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่ง