ม.หอการค้าฯ แนะรัฐขยายฐานร้านค้า จูน Balance รองรับ “เราชนะ” สแกนปรื้ดๆ

0
136

ช่องทางใช้สิทธิตามโครงการ “คนละครึ่ง” ผู้ใช้สิทธิสูงกว่า  15 ล้านคน  ส่วนร้านค้าลงทะเบียนเพียง   1.1 ล้าน เกิดปัญหาขาดสมดุล  กระทบบริการสะดุดหยุดรอคิวบ้าง   เผยเหตุเบื้องต้นพบขั้นตอนขอยื่นคำขอใช้สิทธิ แบงก์รัฐบางสาขาใช้เวลาตรวจสอบนานครึ่งค่อนวันต่อราย 

ขณะที่ ม.หอการค้าฯ แนะรัฐปรับแก้ปัญหาขาดสมดุลควรทำงานเชิงรุก  เพื่อขยายฐานพ่อค้า แม่ขาย  เปิดช่องลงทะเบียนผ่านหน่วยงานรัฐระดับจังหวัด อำเภอ อบต. เชื่อกระตุ้นยอดใช้จ่ายเงินสอดรับเป้ากระตุ้นเศรษฐกิจประเทศในช่วงแพร่ระบาดโควิด รอบใหม่

เสียงสะท้อนผู้ประกอบการร้านค้ารายหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพฯ เปิดเผยขั้นตอนร่วมโครงการ “คนละครึ่ง”ว่า ผู้ร่วมโครงการต้องเดินทาง ณ ที่ทำการธนาคารกรุงไทย แห่งเดียวเท่านั้น  โดยเลือกสาขาใกล้บ้านที่สุด  เริ่มจากจับบัตรคิวรอทำธุรกรรม  สังเกตคนมารอคิวแถวยาว  เจ้าที่หน้าบริการมีน้อยคน   ขณะเดียวกันก็ต้องมีหลักฐานเอกสาร เช่น สมุดบัญชีธนาคารกรุงไทย ถ้ายังไม่มีต้องเปิดบัญชีก่อน  สิ่งสำคัญภาพถ่ายรูปตนเองคู่กับร้านค้า เพื่อยื่นประกอบคำร้องขอร่วมโครงการคนละครึ่ง   

ส่วนเจ้าหน้าที่ธนาคารจะค่อยช่วยอำนวยความสะดวก  เช่น ดาวน์โหลดแอปฯกรุงไทยเข้าสู่ระบบโทรศัพท์มือถือตนเอง  เมื่อยื่นคำขอพร้อมเอกสารต่อเจ้าหน้าที่แล้วต่อจากนั้นก็กลับบ้าน เพื่อทำการเปิดสัญญาณ GPS ปักมุดแผนที่บ้านส่งเข้าสู่ระบบธนาคารกรุงไทย   ขั้นสุดท้าย รอรับส่งข้อความธนาคารยืนยัน “คำขอได้อนุมัติแล้ว ”กดรับคำยันยัน เป็นอันจบขั้นตอนสมบูรณ์  สรุปขั้นตอนลงทะเบียนใช้เวลาประมาณครึ่งวัน       

ด้าน ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย  อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า    โครงการเราชนะที่แนะนำควรทำแบบเดียวคนละครึ่ง เพราะเห็นความสำเร็จได้ชัดเจน  ทั้งผู้ซื้อ ผู้ขายโอนเงินผ่านโทรศัพท์มือถือทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ  แม้กระทั่งพ่อค้า แม่ค้าข้างทาง  ในร้านค้าตลาดได้รับความสะดวก ดังนั้น จึงเป็นที่มาข้อแนะนำจากม.หอการค้าไทยให้ทำ เราชนะแบบเดียวกับ คนละครึ่ง   นอกจากนี้  เป้าหมายโครงการนี้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ  โดยนำเงินภาษีประเทศมามอบให้คนไทยส่วนหนึ่งที่ประสบความเดือดร้อน 

ทั้งนี้ โจทย์เราชนะ คือการดูแลระบบเศรษฐกิจประเทศช่วยเหลือคนที่ประสบความเดือดร้อน   วิธีทำให้ประสบความสำเร็จต้องเอาเงินให้ประชาชนใช้จ่ายและกระจ่ายทั่วถึงทุกคนในสังคม   โดยซื้อสินค้าในประเทศไม่ใช่ซื้อสินค้านำเข้า และต้องใช้จ่ายเงินถี่ๆ เหมือนชีวิตประวันจำไม่เก็บเงินสดไว้   การโอนเงินสัปดาห์ละ 1,000 บาท คนก็เอาออกมาใช้จ่ายผ่านร้านค้า การทำแบบนี้ทำให้ระบบเศรษฐกิจถูกกระตุ้นสัปดาห์ละ 31,000 ล้านบาท ถือว่าได้กระต้นเศรษฐกิจสูง

วิธีการโอนเงิน ผ่านแอปฯแบบคนละครึ่ง ทั้งคนซื้อ คนขาย  นั่นคือฐานการจ่ายเงินได้เร็วที่สุดเป็นฐานข้อมูลทางสถิติที่ดีต่อการใช้เงินของรัฐในการวางแผนการใช้จ่ายเงินของประชาชนนำเงินไปซื้อของตลาดในจังหวัด หรือซื้อของข้ามจังหวัด  สถิติเหล่านี้นำไปประเมินความสำเร็จของการใช้นโยบายคือการใช้ภาษี เอื้อประโยชน์ของประเทศในอนาคต  อย่างไรก็ตาม อุปสรรคอาจจะมีบ้างสำหรับประชาชนที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์น้อยมากเทียบกับคนส่วนใหญ่ก็ต้องปรับแก้ปัญหานี้ไปคิดว่าควรทำอย่างไร

เมื่อถามว่า ผู้ใช้สิคนลิทธิคนละครึ่งบางคนบ่นไม่สะดวก ร้านค้ามี 1.1 ล้านรายทั่วประเทศ ผู้ใช้สิทธิมี 15 ล้านคน สัดส่วนแตกต่างกันมากไม่ Balance บางครั้งรอคิวนาน  ผศ.ดร.ธนวรรธน์ กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่า  เราดูเรื่องเดียวกันกับคน 10  คน บางคนมองในเชิงบวก เพื่อแก้ไข  บางกลุ่มอาจจะมองเชิงลบ ทำไม แย่อย่างนี้    “ส่วนตัวอาจมองในเชิงบวก ที่ผ่านมา นึกไม่ถึงเหมือนกันว่า แม่ค้าในตลาดมีโปรแกรม คนละครึ่ง และใช้โอนเงินได้จริง

“ส่วนโครงการเราชนะต้องแก้ไขอุดช่องว่างนั่นคือ  ควรเป็นหน้าที่ของรัฐอาจจะต้องทำงานในเชิงรุก  โดยการขอให้ธนาคารกรุงไทย  หรือหน่วยงานของ เพื่อให้บริการประชาชนที่เป็นพ่อค้า แม่ขาย ซึ่งสนใจโครงการรัฐบาลสามารถติดต่อทะเบียนผ่านหน่วยงานระดับจังหวัด อำเภอ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) กำนัน ให้หมู่บ้านต่างๆได้ รวมทั้งการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น “ถุงเงิน”  เพื่อเพิ่มจำนวนฐานร้านค้า พ่อค้า แม่ ในแต่ละจังหวัดให้เพิ่มมากขึ้น”

ปัจจุบันนี้เรามีโทรศัพท์มือถือประมาณ 90 ล้านเลขหมาย   คนไทยมีโทรศัพท์ที่น่าจะใช้แอพฯได้ อย่างน้อยลองรับ 3 G 4G  พ่อค้า แม่ขายที่มีความสามารถทำงานเชิงรุกของตัวเอง คือ ขอให้ลงทะเบียนกับธนาคารกรุงไทย และดาวน์โหลดแอพฯได้  อาจจะมีกลุ่มหนึ่งที่ไม่สามารถดาวน์โหลดแอพฯได้   ถ้าเราเป็นคนขายของ ภาครัฐเองจะต้องบอกที่กลาง เพื่อให้ประชาชนสามารถดาวน์โหลดที่บ้านและระบบตรวจทำได้

“ส่วนนี้รัฐและประชาชนจะต้องทำงานร่วมกัน ว่าจะแก้ไขอย่างไร  ไม่มีนโยบายไหนสมบูรณ์ 100% แต่ต้องปรับแก้ไข พ่อค้า แม่ค้าที่เข้าไม่ถึงอยากเข้าร่วมโครงการ แต่ไม่มีโทรศัพท์มือถือสิ่งนี้รัฐควรหาทางแก้ไข ถ้ารัฐเอาระบบธนาคารมาใช้เป็นไปได้ไหม  ส่วนของร้านค้า เพื่อประโยชน์ธุรกิจต้องปรับตัว 

“ถามว่า เราชนะทำไม ไม่โอนเป็นเงินสด  ตามหลักการของภาษี บางคนเสียภาษี  บางคนไม่ได้เสียภาษ๊  และเงินเหล่านี้ไม่ใช่เงินสวัสดิการรัฐ    เพราะคนที่จ่ายภาษีไม่ได้สิทธิส่วนนี้  คนที่มีฐานรายได้เกินกว่า 3  แสนบาทต่อปี หรือมีรายได้มาก  เช่น ข้าราชการ จะไม่ได้รับสิทธิ “เราชนะ”  ฉะนั้น เงินส่วนนี้เป็นเงินภาษีประชาชนมาดูแลภาพรวมของสังคม คือดูแลเศรษฐกิจของประเทศ   โดยดูแลความเดือดร้อนประชาชนส่วนหนึ่ง  คนที่ไม่ได้รับเงินควรเสียสละเพื่อส่วนรวม ขณะเดียวกัน เงินที่รับก็ใช้ได้ตามกฎหมาย แต่เป็นเงินดิจิทัล เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงวิกฤติโควิด รอบใหม่”