จากรถตู้โดยสาร…ถึงอูเบอร์ 

จ่อ “พระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรก” จริงๆ สำหรับ นายสนิท พรหมวงษ์” อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.)กระทรวงคมนาคมยามนี้ เพราะในขณะที่บรรดาผู้ประกอบการแท็กซี่สาธารณะที่กำลังไล่อาละวาดฟาดงวงฟาดหาง ลังถูกแท็กซี่ผ่านแอพพลิเคชั่น “อูเบอร์และแกร็บ” เข้ามาเบียดตลาดแถมยังให้บริการดีกว่า เพราะตอบโจทย์ผู้ใช้บริการในโลกยุคดิจิทัลนี้ได้หมด

0
311
จ่อ “พระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรก” จริงๆ 
สำหรับ นายสนิท พรหมวงษ์” อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.)กระทรวงคมนาคมยามนี้ เพราะในขณะที่บรรดาผู้ประกอบการแท็กซี่สาธารณะที่กำลังไล่อาละวาดฟาดงวงฟาดหาง ลังถูกแท็กซี่ผ่านแอพพลิเคชั่น “อูเบอร์และแกร็บ” เข้ามาเบียดตลาดแถมยังให้บริการดีกว่า เพราะตอบโจทย์ผู้ใช้บริการในโลกยุคดิจิทัลนี้ได้หมด 
แต่แทนที่กรมขนส่งทางบกจะหันไปสำรวจตัวเอง หันไปไล่เบี้ยปรับปรุงบริการรถแท็กซี่ในระบบที่กรมกำกับดูแลอยู่ ทำไมผู้คนเขาถึงเอือมระอาพากันหันไปใช้บริการ“อูเบอร์”กันนัก ก็กลับมาตั้งชุดเฉพาะกิจไล่จับไล่ล่า “อูเบอร์” อย่างเอาเป็นเอาตาย มีการส่งสายล่อซื้อจับกุม “อูเบอร์” ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัดกันขนานใหญ่ พร้อมยืนยันว่า การให้บริการของแท็กซี่ผ่านแอพจะ อูเบอร์ หรือแกร็บถือว่าผิดกฎหมายพ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 ทั้งสิ้น เพราะเป็นการนำรถมาใช้ผิดประเภทที่ได้จดทะเบียนไว้และกฎหมายในประเทศไทยยังไม่รองรับ 
จึงไม่แปลกใจเลยที่ผู้คนในสังคมต่างตั้งคำถามเอากับปฏิบัติการหลุดโลกกระทรวงคมนาคมและกรมขนส่งทางบก เหตุใดไม่คิดล่อซื้อแท็กซี่มิเตอร์ที่ปฏิเสธรับผู้โดยสาร หรือโกงมิเตอร์ที่ระบาดท่ัวบ้านท่ัวเมืองแต่กลับไปล่อซื้ออูเบอร์ที่เข้ามาเติมเต็มในสิ่งที่ภาครัฐเองก็จนปัญญาจะกำกับดูแลแก้ไขปัญหาให้มันสะเด็ดน้ำไปได้
จึงก่อให้เกิดคำถามแล้วรัฐบาลจะเพรียกหานโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0” ขับเคลื่อนสังคมให้เข้าสู่ยุคดิจิทัลไปทำไม หากหน่วยงานรัฐยังคงกอดกฎหมาย “ไดโนซอรัส” ของตนเอาไว้อย่างเหนียวแน่นเช่นนี้
ขณะที่ผลงานความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหารถตู้โดยสารสาธารณะ ที่นายกฯสั่งให้ ขบ.งัดมาตรการสุดเข้มข้นจัดการกับปัญหาหมักหมมมานาน นับตั้งแต่เกิดเหตุโศกนาฎกรรมรถตู้โดยสาร สายกรุงเทพ-จันทบุรี ที่โชว์เฟอร์คนขับควงกะจนหลับในก่อนเหิรข้ามเกาะไปประสานงากับรถกระบะที่แล่นสวนทางมาบนถนนสายบ้านบึง-แกลง จนก่อให้เกิดโศกนาฎกรรมไปถึง 25 ศพในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2560 ที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ ก็ยังไม่สะเด็ดน้ำ 
ครั้งนั้นถนนทุกสายต่างกระตุ้นให้รัฐเร่งจัดกการกับปัญหารถตู้โดยสารนี้อย่างจริงจัง เจ้าหน้าที่ทหารจากมณฑลทหารบกต่างๆ ผนึกความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ขนส่งทุกจังหวัด พาเหรดลงพื้นที่ตรวจสภาพรถตู้กันเอิกเกริก จนถึงขั้นที่กระทรวงคมนาคมเตรียมชงนายกฯงัด ม.44 ล้างบางรถตู้โดยสารและหันไปปลุกผีเอารถโดยสารขนาดเล็กหรือ “ไมโครบัส” ขนาด 20 ที่นั่งมาให้บริการแทน จากแผนงานเดิมที่ตั้งเป้าให้ทยอยเริ่มปรับเปลี่ยนตั้งแต่ปี 2562-2564 แต่ยังไม่ทันที่ขนส่งจะโม่งแป้งอะไรให้เป็นรูปธรรม ดูเหมือนแผนการปรับเปลี่ยนรถโดยสารขนาดเล็ก ไมโครบัสอะไรที่ว่าจะยัง “ยึกตื้นติดกึก ยักลึกติดกัก” ไม่ไปไหน!
ล่าสุดนายกฯถึงกับงัด ม.44 ส่ังจัดระเบียบรถตู้โดยสารสาธารณะอีกครั้ง กำหนดให้รถตู้โดยสารห้ามบรรทุกผู้โดยสารเกิน 13 คน พร้อมทั้งต้องติดตั้งอุปกรณ์ส่วนควบ เซฟตี้ต่างๆ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่ขนส่งกำหนด รวมทั้งติดตั้งเครื่องควบคุมความเร็ว GPS ด้วย  ในส่วนของผู้ประกอบการนั้นยังต้องควบคุมพนักงานขับรถโชวเฟอร์ หรือพนักงานเก็บค่าโดยสารให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การโดยสารอย่างเคร่งครัด หากเกิดกรณีอุบัติเหตุร้ายแรงอีกจะต้องมีการไล่เบี้ยลงโทษผู้เกี่ยวข้องทั้งในส่วนของผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่กำกับดูแลด้วย
ถือเป็นการแก้ลำความล้มเหลวในการ Implementation นโยบายกำกับดูแลบริการขนส่งสาธารณะที่ได้รับเสียงปรบมือเซ็งแซ่ แต่ก็ให้ระวังชะตากรรมของอธิบดีกรมขนส่งทางบกจะจบลงที่ทำเนียบเอา!!! 
เนตรทิพย์