TDRI แนะรัฐเปิดเสรี Duty free

0
307
TDRI แนะรัฐเปิดเสรี Duty Free-Pick up Counter เสริมศักยภาพท่องเที่ยว ดันประเทศไทยเป็นสวรรค์แห่งการช็อปปิ้งอย่างแท้จริง
ผู้สื่อข่าวรายงานถึงการสัมนาวิจัยเรื่อง “สัมปทานดิวตี้ฟรี ก้าวสู่สากล” ที่คณะนิติศาสตร์ ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 8 มีนาคม ที่ผ่านมา เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการให้สัมปทานร้านค้าปลอดภาษีอากร(ดิวตี้ฟรี) ของไทยให้มีศักยภาพสูงสุด เพิ่มทางเลือกและสร้างการแข่งขันที่สมดุลเป็นธรรม กรุยทางให้ประเทศไทยก้าวสู่ Shopping Tourism / Shopping Destination เพราะแต่ละปีมีผู้มาเยือนแบบค้างแรมมากกว่า 32 ล้านคนสูงสุดเป็นอันดัย 9 ของโลก
โดยนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์และนิติศาสตร ์ต่างเห็นสอดคล้องกันว่า ไทยควรเปิดให้มีผู้ประกอบการดิวตี้ฟรีหลายราย ทั้งในสนามบินและร้านค้าในเมือง เพื่อให้เกิดการแข่งขัน มีสินค้าให้เลือกหลากหลาย  กระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยของนักท่องเที่ยว เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศ 
TDRI แนะรัฐเปิดเสรี ดิวตี้ฟรี 
นางเดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า นอกจากจะเปิดให้มีผู้รับสัมปทานดิวตี้ฟรีหลายราย โดยแบ่งตามโลเคชั่นหรือพื้นที่แล้ว  รัฐยังสามารถแยกใ้ห้สัมมปทานตามหมวดหมู่หรือประเภทสินค้า เช่น กลุ่มเครื่องสำอางค์และน้ำหอม ,กลุ่มแฟชั่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นรูปแบบของดิวตี้ฟรีส่วนใหญ่ในต่างประเทศ ต่างจากประเทศไทยที่ปัจจุบันให้สัมปทานรายใหญ่ผูกขาดเพียงรายเดียว 
“การออกแบบการประมูลถือว่าสำคัญที่สุด โดยต้องกำหนดวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายให้ชัดเจนตั้งแต่แรกว่า ต้องการเปิดสัมปทานดิวตี้ฟรีเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทท่าอากาศยานไทย(ทอท.)หรือผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศซึ่งจะมีผลต่อการกำหนดหลักเกณฑ์ประมูล
ทั้งนี้ในต่างประเทศผู้ที่จะดูแลการประมูลจะไม่ใ่ช่ ทอท.แต่จะเป็นหน่วยงานกลางเช่น สำนักรัฐวิสาหกิจหรือกระทรวงการคลัง หรืออาจต้องมีหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องร่วมด้วยทั้งกระทรวงท่องเที่ยว สำนักรัฐวิสาหกิจ กรมศุลกากร กรมสรรพากร” 
ขณะที่นางนวลน้อย ตรีรัตน์ อาจารย์คณะเศรฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การเปิดดิวตี้ฟรีไม่ใช่เรื่องของทอท.เพียงอย่างเดียวแต่เป็นเรื่องของประเทศ ที่จะเกิดผลและเชื่อมโยงในเชิงเศรษฐกิจหลายด้าน ดังนั้นจึงควรเปิดให้มีการแข่งขันอย่างเต็มที่ให้มีผู้ให้บริการหลายราย  อย่าไปกลัวว่าต่างชาติจะเข้ามาแข่งขัน เพราะการแข่งขันจะทำให้เอกชนไทยมีการปรับตัวและพัฒนาจตัวเองให้เข้มแข็ง ผู้บริโภคได้ประโยชน์สูงสุด สุดท้ายทอท.และประเทศก็จะได้ประโยชน์สูงขึ้น
“ในเกาหลีใต้ มีผู้ประกอบการดิวตี้ฟรี 6 รายแข่งขันกัน ปรากฎว่า ยอดใช้จ่ายสินค้าดิวตี้ฟรีในสนามบินอินชอน เฉลี่ยต่อคนสูงกว่าดิวตี้ฟรีสนามบินสุวรรณภูมิถึง 6เท่า รายได้เข้าประเทศในภาพรวมจึงต่ำกว่า นอกจากนี้ยังเห็นว่าควรกำหนดระยะเวลาสัมปทานให้ลดลง ซึ่งการให้สัมปทานในต่างประเทศจะมีอายุเฉลี่ย 5-7ปี  ขณะที่ไทยเริ่มต้นที่ 10ปีและยังมีการขยายเวลาเพิ่มให้ด้วย เพราะการแข่งรอบใหม่จะทำให้มีการปรับตัวและการพัฒนาของผู้ประกอบการ”
ส่วนนายฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่าสมาคมฯ ต้องการเห็นการเปิดการแข่งขันและเป็นธรรม และสมดุลในการเปิดประมูลสัมปทานดิวตี้ ฟรี  และไม่กีดกั้นรายเดิมการศึกษาของสมาคมฯ พบว่าการประมูลสัมปทานดิวตี้ฟรี มี 3 รูปแบบ คือ บริหารพื้นที่รายเดียว,  ประเภทสินค้า และประมูลสถานที่   หรือเป็นการผสมผสาน  ซึ่งทั้ง 3 รูปแบบ ไม่ใช่ข้อสรุปว่าต้องเป็นรูปแบบใด  แต่รูปแบบการประมูลสัมปทาน ต้องอยู่บนพื้นฐานการแข่งขันเป็นธรรมและสมดุล   เพื่อสร้างผลประโยชน์กับประเทศ เจ้าของสัมปทาน และผู้บริโภค แต่ที่ผ่านมาธุรกิจดิวตี้ฟรี ไม่มีการแข่งขัน 
แนะเปิดเสรี Pick up counter
ในส่วนของจุดส่งมอบสินค้าหรือ Pick up counter นั้นทีดีอาร์ไอเสนอว่ารัฐควรให้หน่วยงานกลางเข้ามาบริหารจัดการ ไม่ควรผูกขาดให้รายใดรายหนึ่ง โดยยกตัวอย่างในต่างประเทศนั้นจะกำหนดเป็นกฎหมายให้ผู้ดำเนินการสนามบินต้องเป็นผู้ทำจุดส่งมอบสินค้าที่ให้บริการผู้ประกอบการทุกรายเข้ามาใช้บริการได้  “อย่างในเกาหลีใต้มีผู้ประกอบการดิวตี้ฟรีจำนวน  6 รายปรากฎว่าธุรกิจดิวตี้ฟรีเติบโตเร็วที่สุดถึง 20% ยิ่งแข่งขันมากรายได้ก็มากขึ้น”   
แนะรัฐสังคายนา พรบ.แข่งขันทางการค้า  
นายศักดา ธนิตกุล อดีตคณบดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 ที่ประกาศใช้กว่า 20 ปี ยังไม่มีคดีใดไปถึงศาลอาญา  จึงถูกมองว่าเป็น กฎหมาย “เสือกระดาษ” ที่ไม่สามารถบังคับใช้ได้จริง ดังนั้น พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560  จึงแก้ไขให้บังคับใช้ได้จริง ทั้งบทลงโทษผู้กระทำผิด โดยใช้กฎหมายอาญา โดยการผูกขาดทางการค้าถือว่ามีผลกระทบทางเศรษฐกิจ ซึ่งในต่างประเทศ นักธุรกิจ ที่ทำผิดกฎหมายแข่งขันทางการค้า  จะโดนลงโทษทางอาญา
พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560  มาตรา 4 ได้กำหนดให้ รัฐวิสาหกิจ ที่ทำธุรกิจแข่งขันกับเอกชน อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ฉบับนี้ แต่รูปแบบการให้สัมปทานเอกชนไม่เข้าหลักเกณฑ์นี้ เพราะการให้สัมปทานมีกฎหมายอื่นกำกับดูแลอยู่แล้ว แต่ตามมาตรา 17 (11)  พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า ให้อำนาจคณะกรรมการตาม พ.ร.บ.สามารถเสนอความเห็นและให้คำปรึกษากับรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจเจ้าของสัมปทาน ได้ หากเห็นว่า ทีโออาร์หรือเงื่อนไขในการประมูล เอื่อให้กับรายใดรายหนึ่งหรือส่อผูกขาด เพื่อให้ทุกภาคส่วน ทั้งรัฐวิสาหกิจ ผู้ประกอบการ และผู้บริโภคได้ประโยชน์สูงสุด