ดูแลครบวงจร “คอมแทรคฟาร์มมิ่ง” จากต้นน้ำ..สู่ปลายน้ำ

0
945

“จุดแข็งทั้ง  5 ประเด็นทำให้ประสบความสำเร็จ  อาจจะดูเหมือนง่าย  แต่ถ้าเกษตรกรฟาร์มเลี้ยงไก่รายใดไม่ปฏิบัติตามก็จะไม่ประสบความสำเร็จได้เช่นกัน”  

คอนแทรคฟาร์มมิ่ง (Contract Farming )  หรือเกษตรพันธสัญญามาปรับใช้กับการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์  ได้นำเข้ามาใช้ในประเทศไทยกว่า 40 ปี ตามนโยบายกรมการค้าภายใน เพื่อให้การจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเป็นธรรม  เกษตรกรมีรายได้แน่นอน ลดปัญหาความเสี่ยงราคาผลิตผลการเกษตรในอนาคต  โดยภาคเอกชนจะเป็นผู้รับความเสี่ยงแทนเกษตรกร

บริษัท ซีพีเอฟ(ประเทศไทย) จำกัด  ซึ่งเป็นหนึ่งในภาคเอกชนผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ของประเทศ   สนใจการทำคอนแทรคฟาร์มมิ่ง พร้อมยอมรับความเสี่ยงแทนเกษตรกร โดยริเริ่มดำเนินโครงการคอนแทรคฟาร์มิ่งมีเกษตรร่วมโครงหลายราย  ปัจจุบันมีเกษตรจำนวนกว่า 5,200 รายทั่วประเทศ

กว่า 40 ปีถึงวันนี้ ซีพีเอฟมีแนวทาวงการบริหารจัดการโครงการคอนแทรคฟาร์มมิ่งให้เป็นไปตามเป้าหมายสอดคล้องกับนโยบายกรมการค้าภายใน เพื่อให้การจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเป็นธรรม เกษตรกรมมีรายได้แน่นอน ลดปัญหาความเสี่ยงราคาผลิตผล  ขณะเดียวกัน ปัญหาอุปสรรคระหว่างดำเนินการ จุดแข็งที่เป็นกุญแจไขทางออกไปสู่ความสำเร็จคืออะไร

ทวีสิน  คุณากรพิทักษ์กุล รองกรรมการผู้จัดการบริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด มหาชน  เปิดเผยว่า   ขณะนี้ระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่งในประเทศไทยมี  3 รูปแบบ นั่นคือ แบบที่ 1  ฝากเลี้ยงหรือประกันรายได้  แบบนี้เกษตรกรจะต้องมีที่ดิน มีแรงงานเพียงพอในการจัดการเลี้ยง และผลผลิตต้องเป็นไปตามเป้าหมายตามบริษัทกำหนด    บริษัทเองจะสนับสนุนพันธุ์สัตว์ อาหาร  วัคซีน และเครื่องเวชภัณฑ์ต่างๆ     ส่วนผลผลิตรายได้เกษตรจะมีมาก- น้อย ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของเกษตรกรเอง

แบบที่ 2 ประกันราคา เกษตรกรจะต้องมีที่ดิน แรงงาน เกษตรกรต้องซื้อพันธุ์สัตว์และเวชภัณฑ์ตามข้อตกลงของบริษัท    ขณะที่บริษัทจะรับซื้อผลผลิตตามราคาที่ตกลงกัน รูปแบบนี้เหมาะสมสำหรับเกษตรกรที่มีศักยภาพมีประสบการณ์   และแบบที่ 3 ประกันตลาด  รับผิดชอบในด้านการลงทุนสร้างฟาร์มและอุปกรณ์ตามรูปแบบที่บริษัทกำหนดหรือรูปแบบที่ได้มาตรฐานสากล แต่รูปแบบนี้มีลดน้อยลง คือการซื้อมาแล้วขายไปในราคาตลาด  ดังนั้น คอนแทรคฟาร์มิ่งจะมี 2 รูปแบบที่มีอยู่ในประเทศไทย  คือ ประกันรายได้ กับประกันราคา

 ดูแลจัดการคอมแทรคฟาร์มิ่งจากต้นน้ำสู่ปลาย

“ สัดส่วนในการดำเนินการขณะนี้ ประกันราคาอยู่ที่ประมาณ 80% และประกันรายได้อยู่ที่ประมาณ20% แต่อย่างไรก็ดี ทั้ง 2 แบบ คุณภาพไม่แตกต่างกัน การจัดการเลี้ยงอยู่บนพื้นฐานที่ดี เป็นไปตามบริษัทถ่ายทอดให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่  เทคโนโลยีการเลี้ยงที่ได้มาตรฐานภายในฟาร์ม เท่ากับเป็นต้นทางนำไปผลิตอาหารที่ดีมีคุณภาพต่อไป”

ทวีสินกล่าวว่า บริษัทให้ความสำคัญกับการผลิตอาหารปลอดภัยตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำมาอย่างต่อเนื่อง  จึงมุ่งเสริมสร้างศักยภาพเกษตรกรในโครงการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรายย่อย หรือคอนแทรคฟาร์มมิ่ง ด้วยการถ่ายทอดเทคโนโลยีและมาตรฐานการผลิตของบริษัท  เพื่อให้การผลิตของเกษตรกร ซึ่งถือเป็นวัตถุดิบต้นทางการผลิตอาหารปลอดภัย  สามารถร่วมกันผลิตและพัฒนาได้ตามมาตรฐานสากลในทุกขั้นตอน รวมทั้งสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดสายการผลิต

บริษัทส่งเสริมให้เกษตรกรมีอาชีพที่ยั่งยืน และมีรายได้ที่แน่นอน มั่นคง จากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจความรับผิดชอบต่อสังคม โดยปัจจุบันเกษตรกรในโครงการคอนแทรคฟาร์มของซีพีเอฟมีจำนวนกว่า 5,200 ราย  โดยครึ่งหนึ่งเป็นเกษตรกรที่ร่วมโครงการมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี และมีเกษตรกรรุ่นแรกๆ ที่เข้าร่วมตั้งแต่เริ่มโครงการฯ เมื่อปี 2518 ที่ปัจจุบันได้ส่งมอบมรดกอาชีพสู่รุ่นลูกรุ่นหลานอีกด้วย

 อาหารไก่เป็น “มังสวิรัติ” ลดกลิ่นไม่พึ่งประสงค์ 

การดำเนินงานฟาร์มเลี้ยงไก่ ที่ผ่านมา ซีพีเอฟจัดบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงตามมาตรฐานสากลให้กับเกษตรกร  อีกทั้ง  ซีพีเอฟจะส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบฟาร์มไก่ เพื่อประเมินเป็นระยะๆ  ส่วนใหญ่ก็ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบเป็นฟาร์มเลี้ยวไก่ได้มาตรฐาน ความสะอาดปราศจากเชื้อโรคและเป็นไปตามกรมปศุสัตว์กำหนด

“ ที่ผ่านมา การดูแลฟาร์มเลี้ยงไก่อาจจะมีปัญหาเรื่องกลิ่นบ้าง   แม้ว่าฟาร์มเลี้ยงไก่เกษตรกรจะเป็นฟาร์มปิดที่มีการถ่ายเทอากาศจากข้างหน้าไปสู่ข้างหลัง  เมื่อไก่มีอายุมากขึ้นมีมูลไก่เพิ่มขึ้นจะมีกลิ่นจากอาหารเลี้ยง การแก้ไขปัญหากลิ่นซีพีเอฟได้แนะนำให้เกษตรกรเปลี่ยนอาหารไก่เป็นมังสวิรัติแทน จากเดิมอาหารไก่เดิมจะให้อาหารไก่จำพวกปลาป่น     การเปลี่ยนแปลงอาหารเลี้ยงไก่เป็นอาหารมังสวิรัติเป็นจำพวกข้าวโพด ถั่ว  ปัญหากลิ่นจากฟาร์มเลี้ยงไก่จะลดลงได้ดีกว่าเดิม

“ ฟาร์มไก่มีปัญหาน้อยมากหรือแถบจะวัดไม่ได้  เนื่องจากสถานที่ตั้งฟาร์มไก่จะสร้างห่างจากชุมชน ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่อยู่ในมุมอับ   โดยซีพีเอฟให้คำแนะนำเกษตรกรทำเลที่ตั้งฟาร์มควรตั้งตรงไหน  ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานฟาร์มสมัยใหม่   ดังนั้น สภาพแวดล้อมบริเวณฟาร์มเลี้ยงไก่เราคำนึงความเหมาะสม ไม่ส่งผลกระทบกับชุมชนและคนเลี้ยง”

สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ที่เข้าร่วมโครงการคอนแทรคฟาร์มมิ่งไก่เนื้อ ตัวอย่างประเภทประกันราคา   รายได้เกษตรกรผู้ไก่เมื่อมีการรับซื้อไก่จากฟาร์มเกษตรกร  หากราคาไก่ขยับราคาขึ้นก็จะรับซื้อไก่ในราคาที่สูงขึ้น คือปรับคาราให้เหมาะสมกับภาวะราคาตลาดทั่วไป  ณ เวลานั้น  หากแต่ราคาไก่ขึ้น – ลง ได้หรือไม่ ตอบว่า ได้เป็นไปตามประสิทธิการเลี้ยงไก่   เกษตรกรเลี้ยงดีไก่ไม่ตาย เติบโตเร็วก็ได้รับเงินเพิ่มมากขึ้น   ปัจจัยทางการตลาดจะไม่ใช่เป็นตัวกำหนดราคาเพียงอย่างเดียว   นอกจากนี้ รายได้เกษตรกรผู้เลี้ยงอาจจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับเกษตรกรระหว่างเลี้ยงไก่ขนาดเล็ก และเลี้ยงไก่ขนาดใหญ่จะไม่เท่ากัน

 5 ประเด็นหลักไขกุญแจสู่ความสำเร็จพ้นจุดเสี่ยง

ทวีสินกล่าวอีกว่า  ด้านการลงทุนทำฟาร์มเลี้ยงไก่   นอกจากเกษตรกรสามารถศึกษาด้วยตัวเองได้แล้ว   ซีพีเอฟก็มีเจ้าหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ    นอกจากนั้น บริษัทยังสร้างความเชื่อมั่นความเชื่อถือในการลงทุนของเกษตรกร โดยทางบริษัทจะพูดคุยกับทางสถาบันการเงิน อย่างเช่น ซีพีเอฟได้ดำเนินการให้กับ “ตะนองเดชฟาร์ม ” ขณะนั้นเป็นช่วงเริ่มต้นจัดทำโครงการคอนแทร็ตฟาร์มิ่ง ที่ จ.นครราชสีมา   กล่าวได้ว่าเวลานั้นทางธนาคารหรือสถาบันการเงินให้ความไว้วางใจกับบริษัทมาก   โดยให้เชิญลูกค้า เกษตรกรให้กับสถาบันการเงิน  การริเริ่มโครงการที่ อ.หนองบุญ และอ.ครบุรี   ในส่วนของคะนองเดชฟาร์ม อาจจะเป็นแหล่งจุดประกายของฟาร์มที่มีมาตรฐาน ซึ่งเลี้ยงไก่กับซีพีเอฟระยะเวลา  12 ปี  เราก็ยังดูแลตลอด 12 ปี และจะดูแลตลอดไป

นอกจากนี้  ซีพีเอฟยังมีโครงการคอนแทรคฟาร์มมิ่งแบบครอบคลุมครบวงจร  คำว่า “ครบวงจร”หมายถึง เราดำเนินการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เริ่มตั้งแต่มีโรงงานอาหารสัตว์ พันธุ์สัตว์ โรงฝักไก่  ไก่เนื้อในโรงฝัก  โรงงานชำแหละ โรงงานแปรรูป  บริษัทดำเนิน โครงการคอนแทรคฟาร์มมิ่ง เขตบางนา กรุงเทพฯ  จ.สระบุรี  และ จ.นครราชสีมา

ทวีสินยัง กล่าวถึงส่วนจุดแข็งการดำเนินงานให้กับเกษตรกรผู้ที่เข้าร่วมโครงการคอนแทรคฟาร์มมิ่งว่า  วันนี้ซีพีเอฟประสบความสำเร็จคือ จากจุดเริ่มต้นตั้งแต่ต้นน้ำสู่ปลายน้ำ  ความสำเร็จดังกล่าวมีอยู่  5  ประเด็น ดังนี้ คือ  ประเด็นแรก การเลี้ยงไก่ วันนี้เราคัดเลือกสายพันธุ์ไก่ที่ดีระดับโลก สามารถให้ผลผลิตที่ดี ต้านทานโรค แข็งแรงต่อสภาพแวดล้อม

 ประเด็นที่สอง คุณภาพอาหารดี โรงงานซีพีเอฟสามารถผลิตอาหารไก่ 1 แสนตันต่อเดือน หรือ 1.2 ล้านตันต่อปี  ภายในโรงงานใช้ระบบออโตเมติกและใช้บุคลากรประมาณ 40 คนต่อ 1 โรงงาน

ประเด็นที่สาม การก่อสร้างฟาร์มที่ดี เป็นฟาร์มระบบเปิด วัสดุก่อสร้างฟาร์มได้มาตรฐานปกป้องกันความร้อน เป็นแบบสมัยใหม่ การให้น้ำเป็นระบบใหม่ทั้งหมด  

 ประเด็นที่สี่ การจัดการที่ดี หมายถึงระบบการตั้งค่าเครื่องควบคุมภายในฟาร์ม การจัดการเครื่องก็ต้องใช้ความรู้ทักษะความสามารถของเจ้าหน้าที่ ซีพีเอฟของเรา เครื่องจักรใช้เลี้ยงไก่ การจัดการที่ดีสำคัญมาก มีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ให้กับเกษตรกร

ประเด็นที่ห้า  การป้องกันโรค สภาพแวดล้อมภายในโรงงานมีระบบกำจัดเชื้อโรคภายในโรงงานมีระบบคัดกรองเชื้อโรคตั้งแต่ประตูโรงงานหรือฟาร์มต่างๆ

“ดังนั้น จุดแข็งทั้ง  5 ประเด็นทำให้ประสบความสำเร็จ เสมือนหนึ่งเป็นกุญแจดอกสำคัญ อาจจะดูเหมือนง่าย  แต่ถ้าเกษตรกรฟาร์มเลี้ยงไก่รายใดไม่ปฏิบัติตามก็จะไม่ประสบความสำเร็จได้เช่นกัน ” ทวีสินกล่าวสรุปทิ้งท้าย