พรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย เชิญปลูกข้าวโพดขาดอีก 3 ล้านตัน

0
565

ต้นทางคือ วัตถุดิบที่เราข้าวโพด ซึ่งเรายังขาดอยู่ เพราะฉะนั้นเชิญชวน เราต้องทำธุรกิจนี้ให้สำเร็จสำคัญที่สุดคือ เกษตรกร เข้าร่วมโครงการกับกระทรวงเกษตรฯ ปีนี้ยังขาดอยู่อีก

โครงการสานพลังประชารัฐข้าวโพดหลังนา  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้การสนับสนุนเกษตรกรปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา โดยมีธนาคารเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ให้การสนับสนุนสินเชื่อเพื่อปัจจัยการผลิตให้เกษตรกรไร่ละ 2,000 บาท ดอกเบี้ย 0.01%เป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยกำหนดพื้นที่ดำเนินการนำร่องใน 33 จังหวัด ที่มีเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด    ขณะเดียวกัน กระทรวงเกษตรฯได้ประสานกับภาคเอกชนให้รับซื้อข้าวโพดจากเกษตรในราคาที่เป็นธรรม

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา  กรมส่งเสริมการเกษตร ยังได้เดินหน้าเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อย่างต่อเนื่อง แต่รูปแบบในการบริหารจัดการโครงการปรับเปลี่ยนไป เพื่อรองรับผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่จะมีมากขึ้น สำหรับพื้นที่เป้าหมาย 2.8 ล้านไร่ ใน 33 จังหวัด ถือเป็นพื้นที่ศักยภาพที่สามารถปลูกข้าวโพดได้ ตามหลัก zoning by agri map และลดความเสี่ยงเนื่องจากมีน้ำเพียงพอ

พรศิลป์  พัชรินทร์ตนะกุล  นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ผู้รับซื้อข้าวโพดตามโครงการนี้ เปิดเผยว่า   ในช่วงนี้ปริมาณผลผลิตข้าวโพดออกมาเยอะ โดยเริ่มออกผลตั้งแต่เดือนเมษายน  ซึ่งเป็นข้าวโพดชุดใหญ่ 75% ของทั้งหมดในฤดูปกติประมาณ 5 ล้านตันข้าวโพด ข้าวโพดจะทยอยออกอีกในช่วงปลายปี  ผู้ผลิตอาหารสัตว์ก็รับซื้อข้าวโพดทั้งหมด   ขณะเดียวกัน ความต้องการยังไม่เพียงพอ พื้นที่ปลูกข้าวโพดในประเทศรวมแล้ว 5 ล้านตันต่อปี  แต่ความต้องการอยู่ที่ 8 ล้านตัน

“ ดังนั้น  ยังขาดปริมาณข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อยู่อีก 3 ตัน เพื่อผลิตอาหารสัตว์ให้กับปศุสัตว์  ประเภทไก่ หมู  นอกจากนี้ การผลิตข้าวโพดเป็นอาหารสัตว์บางส่วนส่งออกไปต่างประเทศ  ซึ่งเป็นห่วงโซ่ทอดยาวออกไป ”

นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ยืนยันปริมาณผลผลิตข้าวโพดในประเทศว่า ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ ส่งผลทำให้ที่ผ่านมาต้องนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ แต่เชื่อมั่นโครงการสานพลังประชารัฐเพื่อส่งเสริมการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนาของรัฐบาลจะช่วยสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่เกษตรกร พร้อมประสานโรงงานอาหารสัตว์ร่วมเปิดจุดรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการในพื้นที่เป้าหมาย 33 จังหวัด เพื่อสร้างความมั่นใจว่ามีตลาดรับซื้อที่แน่นอนและได้ราคาที่เป็นธรรม
ในการรับซื้อข้าวโพดในพื้นที่ต่างๆ เราจะคำนึงถึงคุณภาพมาตรฐานความชื้นน้ำหนักควรอยู่ที่ 14.5 %คือมีน้ำอยู่ 14.5 % จะให้เป็นศูนย์เลยคงจะไม่ได้  สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ตกลงรับซื้อข้าวโพดจากเกษตรกรราคากิโลกรัมละ 8 บาท  เกษตรกรบางรายอาจจะยังไม่ปรับความชื่นก็ถูกปรับลดราคาข้าวโพดลงไป  ทั้งหมดเป็นมาตรฐานเกี่ยวกับการรับซื้อข้าวโพดตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดเอาไว้ ที่มีตารางกำหนดชัดเจนเกี่ยวกับปรับราคาขึ้นลงเท่าไหร่  โดยองค์ประกอบด้านความชื่นข้าวโพดเป็นตัวกำหนด

“ บางคนอาจจะเข้าใจผิดถ้าความชื่นยังจะไปตัดราคาข้าวโพดเกษตรกรได้อย่างไรเป็นการเข้าใจผิด  ภาครัฐกำหนดราคาไม่ใช่ผู้ซื้อเป็นผู้กำหนดราคารับซื้อข้าวโพดยุติธรรมขอให้สบายใจได้   ประการสำคัญความต้องการข้าวโพดอยู่ที่ 8 ล้านตัน แต่ผลผลิตทั้งหมดขณะนี้มีเพียง 5 ล้านตัน ส่วนที่เหลือจะทำอย่างไร  ส่วนตัวก็อยากให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดที่ยังไม่เข้าโครงการข้าวโพดหลังนามาเข้าโครงการอีก   สมมติพื้นที่ปลูกข้าวไร่ละ 1 ตัน รัฐบาลตั้งเป้าให้ปลูกข้าวโพดถึง 2 ล้านไร่ปีนี้ แต่ขณะนี้ทำได้อยู่เพียง 7 แสนไร่   เมื่อปีที่แล้ว เรามีพื้นที่ปลูกอยู่ที่ประมาณ 4 แสนไร่  ใจผมจริงๆ อยากให้เกษตรปลูกข้าวโพดให้ได้ 2 ล้านไร่  มิฉะนั้น จะต้องนำเข้าวัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศสูญเสียเงินตราไปเปล่าๆ ”

พรศิลป์ กล่าวอีกว่า  พื้นที่นาทั้งประเทศมีทั้งหมดประมาณ 50-60 ล้านไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่น่าเป็นจำนวนมากมาย ส่วนหนึ่งคิดว่าสามารถนำมาเป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพดได้ แต่บางพื้นอาจจะไม่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม พื้นที่ที่เหมาะสมปลูกข้าวโพดมีอยู่แล้ว เพียงแต่เกษตรกรยังไม่เข้าใจยังไม่คุ้นชินกับการปลูกข้าวโพด ปลูกแล้วไม่ทราบจะขายใด  ทั้งนี้ ขอยืนยันคนซื้อมีอยู่แล้วรับซื้อข้าวโพดจากเกษตรกรแน่นอนในราคาที่ตกลงกันเป็นธรรม อีกทั้งสมาคมเม็ดพันธุ์ข้าวโพดก็ยินดีช่วยเหลือ ซึ่งเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอาจจะไม่คุ้นชิน สมาคมเม็ดพันธุ์ยินดีให้ความรู้วิธีการปลูกข้าวโพด

 ยืนยันสมาคมพร้อมผู้รับซื้อข้าวโพดทั้งหมด

“ ฉะนั้น เกษตรกรเพียงแต่เข้าร่วมโครงการข้าวโพดหลังนากับกระทรวงเกษตรฯ เท่านั้น โดยมีกรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ เป็นต้น ทุกอย่างจะดำเนินการโดยอัตโนมัติ   ทุกฝ่ายรัฐบาล เกษตรกร เอกชน เข้ามาช่วยเหลือจึงเรียกว่า “ ประชารัฐ”  หากต่างทำเองปลูกเองอาจจะสุ่มเสี่ยง เว้นแต่เกษตรกรรู้วิธีการปลูกข้าวโพด  ที่ผ่านมา พื้นที่ทำนาแล้วหันมาปลูกข้าวโพดหลับนามีเพียงบางส่วนที่ทำการปลูกข้าวโพดหลังนาอยู่แล้ว แต่มีน้อยอยู่ยังมีความต้องการอีก ”

อย่างไรก็ดี  ปีนี้การปลูกข้าวโพดเราคิดคำนวณคร่าวๆ เราอาจจะสามารถผลิตได้ประมาณ 6 ล้านตันข้าวโพด  ซึ่งเท่ากับยังขาดข้าวโพดอีก 2 ล้านตัน  ถ้ายังผลิตไม่ได้จะกระทบต่อการส่งออกอาหารสัตว์ไปต่างประเทศ  ทางแก้ไขก็ต้องนำเข้าสินค้าที่ทดแทนได้มาจากต่างประเทศ    นั้นคือการนำเข้าข้าวสาลีจากต่างประเทศราคาเท่าไรก็ต้องซื้อเพราะไม่มีของ เพื่อนำมาทดแทน

สำหรับโครงการข้าวโพดหลังนานี้จะมีต่อเนื่องในปี 2562 ปีหน้า เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกร เราทำความเข้าใจเกษตรกรทำทั้งปี  การสนับสนุนสินเชื่อรัฐให้การสนับสนุนเงินทุนไม่ต้องเป็นห่วง มีการประกันภัยพืชผล 1600 บาทต่อไร่ ทุกอย่างครอบคลุมทั้งหมด เพียงแต่ขอเชิญชวนเกษตรกรเข้าร่วมโครงการเท่านั้นเอง  “อยากฝากเกษตรกรว่า ธุรกิจนี้เป็นเป็นธุรกิจห่วงโซ่ ปลายทางคือเราส่งไปแข่งขันกับตลาดต่างประเทศ  ต้นทางคือ วัตถุดิบที่เราข้าวโพด ซึ่งเรายังขาดอยู่ เพราะฉะนั้นเชิญชวน เราต้องทำธุรกิจนี้ให้สำเร็จสำคัญที่สุดคือ เกษตรกร เข้าร่วมโครงการกับกระทรวงเกษตรฯ ปีนี้ยังขาดอยู่ และหวังว่าปีหน้าจะครบ 3 ล้านไร่  ปีนี้ได้แค่ 7 แสนไร่ ยังขาดอีกมาก  สินค้าที่ผลิตได้มีคนรับซื้อแน่นอน”