บขส. ผ่อนปรนเท่าที่จำเป็น คุมเข้ม Social Distancing

0
164

หลังรัฐบาลประกาศเคอร์ฟิวทั่วประเทศ สกัดพิษโควิด-19  บขส. หยุดเดินรถทุกเส้นทางทั้งหมด ห้ามบุคคลทั่วราชอาณาจักรออกนอกเคหสถาน​ (เคอร์ฟิว) ระหว่างเวลา 22.00 – 04.00 น. ตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย.63 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง ประกอบกับบางจังหวัดประกาศปิดเมือง และต้องใช้มาตรการเว้นระยะห่าง Social Distancing

             ส่งผลให้ บขส. ไม่สามารถจัดรถให้บริการประชาชนได้ทุกเส้นทางทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย.63 เป็นต้นไป จึงขอให้ผู้โดยสารที่ซื้อตั๋วล่วงหน้าไว้แล้ว ขอคืนตั๋วโดยสารหรือเลื่อนการเดินทาง ได้ที่ เว็บไซต์ transport.co.th ได้ตั้งแต่วันที่ 5 เม.ย.63 เป็นต้นไป ยกเว้นการรับ-ส่งพัสดุภัณฑ์ของ บขส. ที่ต้องขนส่งเครื่องอุปโภคบริโภคให้แก่ประชาชน ยังเปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 05.00-20.30 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 1490 เรียก บขส. ตลอด 24 ชั่วโมง

             ล่าสุด  รัฐบาลยังต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉินอีก 1 เดือน หรือสิ้นสุดวันที่ 31 พฤษภาคม  พร้อมกับมีมาตรการคุมเข้มโควิด-19  ต่อไป   และจัดให้มีมาตรผ่อนปรนคู่ขนานกับการ”ล็อกดาวน์” 4 ทุ่มถึงตึ 4 ทั่วประเทศ    ขณะที่ ด้านการคมนาคมขนส่ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังคงมาตรการทางสาธารณสุข เพื่อเฝ้าระวังป้องกันเชื้อโรคโควิด- 19  อย่างเคร่งครัด  แต่อย่างไรก็ตาม ในเดือนพ.ค. จะมีมาตรการผ่อนปรนบ้าง  เช่น การรถไฟฯ เพิ่มขบวนเดินรถไฟบริเวณชานเมือง  เครื่องบินกลับมาเปิดบินให้บริการเฉพาะเส้นทางบินภายในประเทศเท่านั้น  

               เช่นเดียวกับ  การให้บริการของ  บขส. การเดินรถในเดือน พ.ค. นี้ จะมีการปรับเส้นทางเดินรถ  เพื่อบริการประชาชนเดินทางในแต่ละเส้นทางอย่างไรบ้าง 

                  จิรศักดิ์  เยาว์วัชกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) เปิดเผยว่า  มาตรการป้องกันเชื้อโควิด-19 บขส.ให้พนักงานบางส่วน work form home   ก่อนหน้า บขส. ก็หยุดให้บริการในหลายเส้นทาง เพื่อป้องการเชื้อแพร่ระบาด  ส่วนในเดือน พ.ค. นี้บริษัท บขส.มีแผนเปิดเส้นทางการเดินรถ โดยมี 3 แผนงานการเดินรถ บขส. นั่นคือ  เปิดรถบางส่วนเท่าที่จำเป็น  เปิดเดินรถบางส่วน และเปิดเดินรถเต็มที    อย่างไรก็ตาม การเปิดแผนส่วนไหนบางก็ต้องดูนโยบายและพิจารณาดูสถานการณ์ประกอบด้วย

แผน บขส.ควบคู่มาตรการ “ ล็อกดาวน์”

           “ จนถึงขณะนี้ชัดเจนแล้วว่า ในเดือนพฤษภาคม รัฐบาลต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉินอีก 1 เดือนและประกาศใช้เคอร์ฟิว 4 ทุ่มถึงตี 4   นั่นหมายถึง เงื่อนไขที่ 1 ช่วงเคอร์ฟิว บขส.ไม่อาจเปิดใช้บริการได้  ปกติรถบขส.ประมาณ 80% ออกเดินรถเวลาเย็น เพื่อถึงสถานีปลายทางต่างจังหวัดช่วงเช้า เงื่อนไขที่ 2 ก็ดูจังหวัดปลายทาง หากจังหวัดปลายทางปลด “ล็อกดาวน์ ” แล้ว  รถ บขสก็สามารถเปิดเส้นทางเดินรถไปยังปลายทางในจังหวัดนั้นๆได้  ดังนั้น ทางบริษัท บขส.ต้องพิจารณาถึงเส้นทางเดินรถปลายทางต่างประกอบด้วย เงื่อนไขที่ 3  เราดูจำนวนประชาชนที่มีการอนุญาตให้เดินทางไปยังจังหวัดปลายทางด้วยว่าปริมาณมาก- น้อย แค่ไหน  การจัดการเดินทางให้สำหรับผู้โดยสารทางบขส.พร้อมอยู่แล้ว 

              นอกจากนี้ บริษัท บขส. ยังคำนึงถึงปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับการเดินทางพยายามให้การเดินทาง ดังนี้คือ ปัจจัยแรก ยังยึดหลักการเดินทางให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นเท่านั้น  บขส.ยังยึดหลักการนี้อยู่ในช่วงนี้  แต่เมื่อไหร่สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ บขส.เองยินดีเปิดให้บริการเต็มที่กับประชาชน ปัจจัยที่สอง การเดินทางเข้าสถานีรถ บขส. เราขัดให้มีเจลบริการประชาชน สวนหน้ากากอนามัย หรืออาจจะมีชุดพบพาสำหรับประชาชนเอง  ปัจจัยที่สามก่อนเข้าสถานีเราตรวจวัดอุณหภูมิทุกคน และสุดท้ายการทำความสะอาดสถานี ซึ่งทางบขส.ได้ดำเนินเป็นปกติอยู่แล้ว   

               เส้นทางการเดินรถ บขส.ในทุกเส้นทางเราจะสิ้นสุดในเวลาไม่เกิน 2 ทุ่มให้ถึงสถานีปลายทาง เพื่อเตรียมสำหรับก่อนถึงเวลาเคอร์ฟิว   แต่ขณะนี้จะมีประชาชนเดินทางประมาณ 1,500 คนต่อวัน ใช้รถบขส. อยู่ 500 เที่ยวต่อวัน การเดินทางเส้นทางสายยาวไม่เกิน 100 เที่ยวต่อวัน นอกจากนั้น รถบขส.จะมีเส้นทางเดินรถระยะทางไม่เกิน 300 ก.ม. พื้นที่รับส่งในเขตรอบๆกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ผู้โดยสารจำเป็นต้องเดินทางทำงานบ้าง

รักษาระยะห่าง Social  Distancing

            อย่างไรก็ตาม  บริษัท บขส.ยังควบคุมผู้โดยสารระห่างทางสังคมหรือระบบ Social  Distancing อย่างเคร่งครัด ทั้งภายในสถานี ตัวรถ อย่างเช่น รถตู้โดยสารนั่งได้ 7 ที่นั่งเต็มที ส่วนรถบัสนั่งได้ 2 แถว หากที่นั่งมี 4 แถวก็นั่งได้ 2 แถวเหมือนกัน  

            “ส่วนราคาตั๋วหรือค่าโดยสารยังจัดเก็บราคาเดิม อัตรารวมค่าโดยสารจะอยู่ที่ 50 % แต่ราคาค่าโดยสารยังเป็นราคา “เดิม” ซึ่งยอมรับว่า ขาดทุน แต่เราต้องให้บริการประชาชน   หากผู้โดยสารท่านใดประสบปัญหาราคาโดยสารแพงกว่าราคาเดิมสามารถร้องเรียนได้เบอร์สายด่วน 1490 หรือร้องเรียนผ่านโซเชียลแจ้งตัวเองให้ชัดเจน และขออภัยประชาชนที่ไม่อาจบริการได้เต็มที   เนื่องจากเราต้องมีภารกิจร่วมกันในการหยุดโรคระบาดให้ได้ก่อน”

              จิรศักดิ์ กล่าวอีกว่า สถานีขนส่งแต่ละพื้นขณะนี้ยังไม่อาจเปิดบริการได้ โดยสถานีบางแห่งยังหยุดให้บริการแต่มีพนักงานเจ้าหน้าที่ให้บริการปกติ สถานี บขส.ที่เปิดบริการอยู่เช่น จ.อยุธยา จ.สระบุรี  รถโดยเฉพาะ รถร่วมบขส.จะทราบดูปริมาณผู้โดยสารหรือประชาชนที่จำเป็นต้องเดินทางในขณะนี้ ทางบริษัทบีบการเดินทางให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น เนื่องจากอยากทำภารกิจหยุดเชื้อโรคให้ได้เร็วที่สุดที่เป็นเป้าหมายสำคัญ 

เปิดสายด่วน 1490 สอบถามก่อนเดินทาง

              สำหรับประชาชนที่จำเป็นจะเดินทางกับรถ บขส.หรือรถร่วม บขส.จะต้องซื้อตั๋วเองไม่อาจเปิดจองล่วงหน้าได้  เพราะการจองตั๋วล่วงหน้าไม่อาจควบคุมปริมาณผู้โดยสารได้   ก่อนจะเดินทางอยากให้เช็กกับสถานีบริการ บขส.สอบถาม 1490 ก่อนว่า เส้นทางไหนบ้างยังเปิดให้บริการหรือไม่     ส่วนการจองตั๋วนั้นเวลานี้ก็ต้องรอให้เหตุการณ์เข้าส่าภาวะปกติก่อน บขส.จึงจะเปิดให้บริการเหมือนเดิม

              ส่วนมาตรการรักษาความสะอาดปลอดเชื้อกับตัวรถบขส.ทั้งรถบัสและรถร่วม บขส.เราก็ดูแลเรื่องทำความสะอาดเป็นประจำอยู่แล้ว  รวมทั้ง กำหนดมาตรการระยะห่าง Social  Distancing ที่ชัดเจน และคนขับรถเราเข้มงวดสูงมาก ภายในตัวรถจะปิดกั้นสัดส่วนของคนขับ  คนขับรถมีการตรวจบ่อยครั้งมาก เป็นการเฝ้าระวังดูแลอย่างเข้มงวด รวมถึงพนักงานของ บขส.ก็ดูแลเข้มข้น ส่วนผู้โดยสารก็ต้องสวมหน้ากากอนามัยป้องกันทุกคน หากไม่มีเราก็ไม่อนุญาตให้เดินทางหรือเข้าสู่บริเวณสถานี บขส. เพียแต่การชำระเงิน เรายังใช้ระบบใช้เงินสดหน้าเคาน์เตอร์

                อย่างไรก็ตาม คาดว่าในช่วงเดือนมิถุนายน นี้น่าจะมีการผ่อนปรน มากขึ้น หรือหากไม่มีช่วงเคอร์ฟิวก็จะสามารถเดินรถได้มากเพิ่มขึ้น  การเดินทางหากจำเป็นจริงก็ขอให้โทร.สอบถามกับ บขส.ก่อน และการเดินทางอยากให้สวมหน้ากากทุกคน เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารและพนักงานทุกคน ในการฝ่าวิกฤตโควิด- 19 ครั้งนี้ไปให้ได้