สรท. เผยมูลค่าส่งออกเดือน ม.ค. ขยายตัว 17.6% สูงสุดรอบ 5 ปี

0
114

นางสาวกัณญภัค ตันติพิพัฒนพงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) แถลงส่งออกเดือนมกราคม 2561 มีมูลค่า 20,101 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัว 17.6% (ขยายตัวสูงสุดในรอบ 5 ปี 2 เดือน) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) ในขณะที่การนำเข้าในเดือนมกราคม 2561 มีมูลค่า 20,220 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัว 24.3% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน (YoY) การนาเข้าในรูปของเงินบาทมีมูลค่า 664,643 ล้านบาท ขยายตัว 7.7% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน (YoY) ส่งผลให้ เดือนมกราคม 2561 ประเทศไทยขาดดุลการค้า 119 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 12,132 ล้านบาท (ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2)  ทั้งนี้ การขาดดุลดังกล่าวมีสาเหตุจาก การนาเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบในปริมาณมาก ซึ่งถือเป็นการใช้ประโยชน์จากการแข็งค่าของเงินบาท และเพื่อเป็นการควบคุมต้นทุนและส่งเสริมศักยภาพภาคการผลิตในระยะยาว

อย่างไรก็ตาม สภาผู้ส่งออก ยืนยันเป้าการส่งออกที่เติบโต 5.5% ภายใต้สมมติฐานค่าเงินบาท 31.5 (± 0.5) บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ โดยมีปัจจัยบวกประกอบด้วย 1. การขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของโลกและประเทศคู่ค้าหลัก เช่น จีน ญี่ปุ่น สหรัฐ และ CLMV เป็นต้น และ ประเทศคู่ค้าศักยภาพ เช่น เอเชียใต้ รัสเซียและ CIS 2. การเพิ่มขึ้นของการนาเข้าเครื่องจักรเพื่อเพิ่มผลิตภาพของการผลิตในระยะยาว ร่วมกับการเร่งนาเข้าสินค้าทุนเพื่อเป็นช่วยการลดต้นทุนในช่วงที่ค่าเงินบาทแข็ง 3. ทิศทางราคาน้ามันที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตร และราคาของสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ามัน ปรับราคาสูงขึ้น และทาให้กลุ่มประเทศผู้ค้าน้ามันมีกาลังซื้อเพิ่มขึ้น

สำหรับปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการส่งออกไทยที่ต้องเร่งแก้ไข และต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ประกอบด้วย 1) ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่ยังคงมีแนวโน้มอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้น โดยตั้งแต่ต้นปี 2561 ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ~2.88% เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ 2) มาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ และการตอบโต้ของประเทศคู่ค้าที่มีความเข้มข้นมากขึ้น โดยเฉพาะนโยบาย America First ซึ่งปัจจุบัน มีสินค้ากว่า 4 ประเภทของไทยที่ได้รับผลกระทบแล้ว อาทิ การเพิ่มภาษีนาเข้าเครื่องซักผ้า แผงพลังงานแสงอาทิตย์ เหล็กและอลูมิเนียม ยางรัด และมีแนวโน้มจะเพิ่มรายการสินค้าขึ้นในอนาคต 3) ปัญหาด้านโลจิสติกส์การค้าระหว่างประเทศ อาทิ การขาดแคลนตู้สินค้า ความแออัดของท่าเรือกรุงเทพ การจราจรเข้าสู่ท่าเรือแหลมฉบัง เป็นต้น

ขณะที่ประเด็นที่อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกและต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ประกอบไปด้วย 1) นโยบายหรือมาตรการภาครัฐที่ประกาศเพิ่มเติม ก่อให้เกิดต้นทุนส่วนเพิ่มให้กับผู้ประกอบการในภาคการผลิตเพื่อส่งออก แทนที่จะเป็นการสนับสนุน อาทิ ภาษีเศษซากชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และนโยบายประกันราคาสินค้าทุนพื้นฐานบางชนิดทาให้เป็นการเพิ่มต้นทุนของผู้ประกอบการ เช่น การประกันราคาข้าวโพดที่เป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตอาหารสัตว์ เป็นต้น และ 2) การรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจ อาทิ CPTPP เป็นต้น ที่ไทยไม่ได้เข้าร่วม อาจทาให้สูญเสีย/เสียเปรียบทางอำนาจทางการค้าในระยะยาว และกลุ่มเศรษฐกิจ EAEU ซึ่งเป็นกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ที่ไทยต้องให้ความสำคัญ

ทั้งนี้ สภาผู้ส่งออก มีข้อเสนอแนะที่สำคัญประกอบด้วย 1) ภาครัฐควรติดตามมาตรการกีดกันทางการค้า หรือ NTB อย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งหารือผู้ประกอบการและกำหนดมาตรการช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง รวมถึงให้คาปรึกษาแนวทางแก้ไขปัญหา ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น การตั้งกาแพงภาษีนาเข้าสูงของสหรัฐฯ จากนโยบาย American first เป็นต้น 2) ภาครัฐต้องการกับดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ เป็นไปในทิศทางเดียวกับภูมิภาค ไม่ให้แข็งค่ากว่าคู่ค้าและคู่แข่งสำคัญเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบโครงสร้างต้นทุนสินค้าและวัตถุดิบ ในช่วงที่ค่าเงินมีความผันผวน โดยเฉพาะกลุ่มที่มีการใช้วัตถุดิบภายในประเทศสูง และสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ประกอบการ SME รวมถึงเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงเครื่องมือประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนผันผวน 3) รัฐควรมีมาตรการในระยะสั้นเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการจากมาตรการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ