สรท.เผยส่งออกปี 59 โต 0.45 % ปี 60 คาดโต 2% ห่วงการเมืองโลกรุนแรงกระทบ!

การส่งออกเดือนธันวาคม 2559 มีมูลค่า 18,164.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 6.23% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน (YoY) ขณะที่มูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทเท่ากับ 640,023.0 ล้านบาท ขยายตัว 5.03% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน (YoY) ส่งผลให้ภาพรวมการส่งออกทั้งปี 2559 มีมูลค่า 215,326.6 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ เติบโต 0.45 %

0
210

 

นายนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือ สภาผู้ส่งออก แถลงข่าวร่วมกับ นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาผู้ส่งออก นายคงฤทธิ์ จันทริก ผู้อ านวยการบริหารสภาผู้ส่งออก และอ.ดร.รติดนัย หุ่นสวัสดิ์ อาจารย์ประจ า คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงสถานการณ์ส่งออกในเดือนธันวาคม 2559 ณ ห้องประชุม 1 สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่ง ประเทศไทย อาคารลุมพินีทาวเวอร์ ถนนพระราม 4 เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2560 ว่า การส่งออกเดือนธันวาคม 2559 มีมูลค่า 18,164.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 6.23% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน (YoY) ขณะที่มูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทเท่ากับ 640,023.0 ล้านบาท ขยายตัว 5.03% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน (YoY) ส่งผลให้ภาพรวมการส่งออกทั้งปี 2559 มีมูลค่า 215,326.6 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ เติบโต 0.45 %

ทั้งนี้ จากทิศทางราคาน้ ามันดิบที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายปี 2016 ส่งผลให้ สรท. คาดว่าสถานการณ์ส่งออกในปี 2560 จะเติบโตได้ประมาณ 2% แต่มีปัจจัยที่ต้องเฝ้าระวังประกอบไปด้วย 1) อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แท้จริงของโลกและประเทศคู่ค้า หลักว่าจะเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้หรือไม่ 2) สถานการณ์ความขัดแย้งและการเมืองระหว่างประเทศจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น ของผู้บริโภคมากน้อยเพียงใด 3) สงครามการค้าและข้อกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะนโยบายของสหรัฐอเมริกาและการ ตอบโต้จากประเทศคู่ค้าหลัก 4) ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดโลก และการแข็งค่าของเงินบาทเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเงิน ของประเทศคู่แข่ง 5) สถานการณ์ราคาพลังงาน และสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก จะมีความยั่งยืนและได้รับผลกระทบจากนโยบายด้าน พลังงานของสหรัฐอเมริกาอย่างไร 6) การลงทุนทางตรงของจีนภายนอกประเทศจะส่งผลในทางบวกและทางลบต่อมูลค่าการส่งออก สินค้าไทยอย่างไร 7) สถานการณ์การค้าชายแดนกับประเทศ CLMV ซึ่งอาจทรงตัว เพราะความล่าช้าในการด าเนินมาตรการแก้ไขปัญหา ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และ 8) ภัยธรรมชาติที่มีความรุนแรงมากขึ้น เป็นต้น

ขณะที่อ.ดร.รติดนัย หุ่นสวัสดิ์ ระบุเศรษฐกิจโลกจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยที่ส าคัญ ได้แก่ ๑) การเมืองระหว่างประเทศที่มี ความไม่แน่นอนสูงจะส่งผลรุนแรงต่อเศรษฐกิจโลก ผ่านการค้าระหว่างประเทศ ขณะที่ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจะเริ่มทยอยเข้าสู่การ ผ่องถ่ายจากนโยบายการเงินสู่นโยบายการคลัง กอปรกับการตกลงลดปริมาณการผลิตน้ ามัน ซึ่งจะส่งผลทางบวกต่ออัตราเงินเฟ้อในปีนี้ ๒) เศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มมีความคึกคักจากการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นหลังจากนายโดนัลด์ ทรัมป์ ได้เข้ารับต าแหน่งประธานาธิบดี กอปรกับตัวแทนพรรครีพับลิกันครองเสียงข้างมากในสภาฯ โดยแนวทางการเปลี่ยนแปลงเป็นไปในทางที่ภาคธุรกิจและผู้บริโภคเห็นชอบ และจะส่งผลให้เศรษฐกิจตั้งอยู่บนการบริโภคที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ในขณะที่การลงทุน การส่งออกและสภาวะเงินเฟ้อ เป็นปัจจัยบั่น ทอนการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวม ให้เหลือเพียงการขยายตัวชั่วคราวในระยะสั้นแต่เพียงเท่านั้น ซึ่งคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งในปีนี้ ท าให้ต้นทุนการลงทุนสูงขึ้น 1% ต่อปี นับจากปลายปี 2015 ซึ่งเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 4 ครั้งนับตั้งแต่วิกฤติการณ์ ประเมินว่าผลของการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะหักล้างนโยบายกระตุ้นการลงทุนของนายทรัมป์๓) เศรษฐกิจของ สหภาพยุโรป จะได้รับผลกระทบจากการเลือกตั้งในเนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และเยอรมัน กอปรกับภาคธนาคารที่อ่อนแอท าให้อัตราการ ปล่อยสินเชื่อชะลอตัว ส่งผลกระทบต่อการลงทุนในภูมิภาค แต่แม้ว่านโยบายการคลังจะเป็นแนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจกระแสหลักใน หลายภูมิภาค แต่ยุโรปไม่สามารถน ามาใช้ได้เนื่องจากข้อจ ากัดในการขาดดุลงบประมาณของแต่ละประเทศสมาชิกตามสนธิสัญญา Maastricht ๔) เศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มเห็นแสงสว่าง โดยมีภาคส่งออก การผลิต บริโภคภายในประเทศ และการท่องเที่ยว เป็นหัวรถจักรดึง เศรษฐกิจฟื้นตัว คาดว่าเศรษฐกิจขยายตัวได้ 1.2 %ต่อปีทั้งนี้ การปรับค่าแรงขั้นต่ า การฟื้นตัวของบริโภคภายในประเทศและราคา น้ ามันที่สูงขึ้น อาจน าอัตราเงินเฟ้อปรับสู่แดนบวกได้อีกครั้งในปีนี้๕) เศรษฐกิจจีนในปี 2017 คาดว่าจะชะลอตัวลงเล็กน้อยสู่ระดับ 6.5% ต่อปี ทุนส ารองระหว่างประเทศของจีนลดลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง สืบเนื่องจากการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ และการชะลอตัว ของภาคอสังหาฯ แม้ว่ารัฐบาลได้ออกมาตรการชะลอเงินทุนไหลออกเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา แต่คาดว่าเงินหยวนจะอ่อนค่าลงอีก ขณะที่ การส่งออกของจีนไปยังตลาดสหรัฐอาจได้รับผลกระทบจากก าแพงภาษีน าเข้ารายสินค้า และ ๖) ค่าเงินภูมิภาคมีแนวโน้มแข็งค่า ขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงต้นปี โดยบาทแข็งค่าขึ้น 1.43% เมื่อเทียบกับเมื่อต้นปีที่ผ่านมา แข็งค่าเป็นอันดับ 1 ในภูมิภาค

ทั้งนี้ ภายใต้สมมติฐานค่าเงินบาทเฉลี่ย 35.25 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ และราคาน้ ามันเฉลี่ยอยู่ที่ 50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อ.รติดนัย คาดการณ์มูลค่าส่งออกไทยปี 2560 มีมูลค่า 218,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเติบโต 1.5% ต่อปี.