ภัยแล้งกระหน่ำอ้อยปี63 /64 โรงานน้ำตาลร่วมอุ้มเกษตรกร

0
698

“อ้อย” พืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่มีเกษตรปลูกกันมากในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาเป็นภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคกลาง  ส่วนภาคใต้ไม่มีเกษตรกรปลูกอ้อย   

ขณะที่การเก็บเกี่ยวอ้อยของเกษตรกรทำได้ 2 วิธี วิธีแรก คือ การตัดอ้อยสด และสองคือ วิธีการเผาอ้อยก่อนเก็บเกี่ยว  หรือที่เรียกกันว่า “อ้อยไฟไหม้”  และการจ้างแรงงานเผาอ้อยก่อนตัดทำให้สามารถตัดอ้อยได้ง่าย ไม่ต้องเสียเวลาลอกกาบใบอ้อย 

 อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมา การเก็บเกี่ยวผลผลิตอ้อยมีปัญหาขาดแคลนแรงงาน   ส่งผลให้แรงานมีอำนาจต่อรองในการตัดอ้อยไฟไหม้เพิ่มขึ้น    อีกทั้งยังมีปัญหาเครื่องจักรจัดเก็บผลผลิตอ้อยมีราคาสูงขึ้น   

เช่นเดียวกับ  ปี 2563นี้   การเก็บเกี่ยวกับอ้อยไฟไหม้ประจำฤดูกาลผลิตปี 2563/64 ที่มีปัญหา   และจะมีแนวทางแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างไร   ในมุมมองของโรงงานอุตสาหกรรมผลิตน้ำตาล 

 สิริวุทธิ์  เสียมภักดี รองประธานกรรมการบริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด ( TSMC) เปิดเผยกับ LOGISTICS TIME ถึงภาพรวมการเก็บเกี่ยวผลผลิตอ้อยประจำฤดูกาลผลิต 2563/64 ว่า  การเก็บเกี่ยวผลผลิตอ้อยในฤดูกาลหน้าคาดว่าจะประสบปัญหาภัยแล้ง  ซึ่งจะส่งผลทำให้การเก็บเกี่ยวอ้อยได้ปริมาณอ้อยลดลงคาดว่าจะอยู่ที่ 70 -75 ล้านตัน เมื่อเทียบช่วงเดียวกันกับปีที่แล้วที่น้อยกว่า  อีกทั้งอ้อยยังมีปัญหาเนื่องจากราคาน้ำตาลในตลาดลดต่ำลงเลื่อยๆ จึงส่งผลให้รายได้น้ำตาลไม่เป็นไปที่ควรจะเป็น  ดังนั้น ฤดูกาลหน้าราคาอ้อยอาจจะค่อยไม่ดีมากนัก 

ข้อแตกต่างระหว่างอ้อยไฟไหม้กับอ้อยเก็บสด  ซึ่งอยากให้คำนึงถึงปัจจัยเกี่ยวข้อง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของอ้อยเป็นสิ่งสำคัญ   หากได้อ้อยที่ดีหมายอ้อยสะอาดที่มีค่าความหวานก็จะทำให้ราคาอ้อยสูงขึ้น เพราะสามารถผลิตเป็นน้ำตาลมากขึ้น 

 “ ดังนั้น หากเก็บอ้อยสดจะได้คุณภาพอ้อยที่มีคุณภาพหรือได้น้ำตาลมากขึ้น แต่ถ้าเป็นอ้อยไฟไหม้มีการเผาใบอ้อยคุณภาพอ้อยจะลดต่ำลง โรงงานอุตสาหกรรมต้องรีบหีบอ้อยให้ทันเวลา เพราะอ้อยไฟไหม้จะหีบเป็นน้ำตาลได้น้อย  เนื่องจากจุลินทรีต่างๆจะไปกินน้ำตาลที่อยู่ในตัวอ้อย ทำให้ผลิตเป็นน้ำตาลน้อยลงกลายเป็นโมลาด คุณภาพน้ำตาลไม่ดีเท่าที่ควร  จึงไม่ส่งเสริมให้ชาวไร่อ้อย เก็บเกี่ยวอ้อยในลักษณะเผาอ้อยหรืออ้อยไฟไหม้  เราอยากได้อ้อยสดมากกว่าเผา”

 นอกจากนี้  การตัดอ้อยสดยังมีปัญหาอยู่ที่ใบอ้อยมันคม การตัดจึงยาก ต้องใช้เวลานานต้องระวังไม่ใบอ้อยที่ความคมอาจจะบาดมือถ้าไม่ระวัง การตัดอ้อยจะล่าช้ามาก   ซึ่งแตกต่างจากการเผาสามารถทำได้เร็วกว่าไม่มีความคมของใบอ้อย  ขณะเดียวกัน  ในส่วนของค่าแรงงานตัดอ้อย  หากตัดอ้อยเป็นมัดๆก็จะได้อีกราคาหนึ่ง  โดยการตัดอ้อยสดเฉลี่ยการตัดอ้อยสดอยู่วันละ 1 ต้นต่อ 1 คน  แต่การตัดอ้อยไฟไหม้จะตัดได้ปริมาณเยอะกว่าเฉลี่ยอยู่ 3-4 ตันต่อวันต่อ 1 คน ค่าแรงก็จะได้เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 1 เท่าตัว 

ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่คนตัดอ้อยลดน้อยลง ทางออกจึงจำเป็นต้องจัดหาเครื่องจักร ด้วยการใช้รถตัดอ้อย  เพื่อให้สามารถตัดอ้อยได้ทันตามกำหนดส่งโรงงานอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลต่อไป 

สิริวุทธิ์ กล่าวถึงการตัดอ้อยสำหรับเกษตรกรชาวไร่อ้อยว่า  การตัดอ้อยต้องคำนึงถึงจุดคุ้มทุน โดยต้องตัดอ้อยให้ได้ปีละเฉลี่ยอยู่ที่ 25,000 ตันอ้อยต่อปี  ซึ่งรถตัดอ้อยแต่ละคันอยู่ที่ 12-15 ล้านบาทต่อคัน  ที่ผ่านมา รถตัดอ้อยสามารถตัดอ้อยไม่ถึงจุดที่กำหนดดังกล่าวข้างต้น   เนื่องจากรถตัดอ้อยตัดอ้อยอยู่ที่ 18,000 – 20,000 ตันอ้อยต่อปีเท่านั้น   ดังนั้น การใช้รถตัดอ้อยจึงถือว่าไม่คุ้มกันกับการลงทุนในการใช้รถสำหรับตัดอ้อย  อย่างไรก็ดี สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งหากใช้รถตัดอ้อยนั่นคือ แปลงปลูกอ้อยจะต้องเป็นแปลงใหญ่ไม่เลี้ยวไม่กลับหัวกลับท้าย 

ส่วนทางออกอยู่การทำอย่างไรจะรวมแปลงอ้อยชาวไร่ที่แปลงปลูกอ้อยติดๆกันรวมกันทำเป็นอ้อยแปลงใหญ่  เพื่อให้ประหยัดต่อการใช้รถตัดอ้อย  หากไม่อาจรวมแปลงได้ก็จะเกิดปัญหาการใช้รถตัดอ้อยดังกล่าว

 โรงงานอุตสาหกรรมรับซื้อผลผลิตอ้อยจากเกษตรชาวไร่ ราคาการซื้อระหว่างอ้อยสดกับอ้อยไฟไหม้แตกต่างกันหรือไม่  คำตอบคือ อ้อยตัดสดจะได้ราคาที่ดีกว่าอ้อยไฟไหม้  และที่ผ่านมา เราพยายามเชิญชวนให้ชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดมากที่สุด  แต่เกษตรรายใดที่ขายอ้อยไฟไหม้ก็จะถูกตัดตันละ 30 บาท  เพราะเงินที่ได้อีก 70% ไปจ่ายให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดสด เงินที่เก็บมาได้จะเก็บมาเฉลี่ยให้กับคนที่เก็บอ้อยสด ไม่มีการเอาแบ่ง 70 หรือ 30 นี่คือหลักการกว้างๆ เพื่อให้ราคาอ้อยสดแตกต่างกับราคาอ้อยไฟไหม้ และเพื่อให้เป็นแรงจูงใจในการตัดอ้อยสดป้อนให้กับโรงงานหีบอ้อย 

ส่วนพื้นที่ปัจจุบันที่เป็นแหล่งปลูกอ้อยส่วนมากเกษตรกรนิยมปลูกอ้อยในภาคอีสาน รองลงมาเป็นภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคกลาง  ส่วนภาคใต้ไม่มีเกษตรกรปลูกอ้อย

การปลูกอ้อยปีนี้ ภาคอีสานปีนี้เจอปัญหาภัยแล้งมากที่สุด ความจริงปัญหาภัยแล้งเกิดขึ้น 2 ปีติดต่อกัน  ภัยแล้งส่งผลให้ต่ออ้อยจะมีอายุยาวเพื่อที่จะผลิตอ้อยได้อีก   ปีที่แล้วอ้อยต่อได้รับความเสียหายไปเยอะมาก  แต่พอมีฝนตกก็ประสบปัญหาพันธุ์อ้อยไม่มีทำให้พื้นที่ปลูกอ้อยหดหายไปพอสมควร นี่เป็นผลเหตุหนึ่งแม้ว่าจะขณะจะมีฝนตกแล้วก็ตาม  แต่ก็ไม่อาจจะทำให้ผลผลิตอ้อยเพิ่มสูงขึ้นเหมือนกับปีที่ผ่านๆมา   อีกทั้งการหาพันธุ์อ้อยก็หายากมาก  อย่างไรก็ตาม การเตรียมรับมือปริมาณอ้อยลดลง นั่นคือเราหรือโรงงานหีบอ้อยได้มีการพูดคุยกับชาวไร่อ้อย

 “โรงงานอุตสาหกรรมฯจะผลักดันราคาอ้อยให้ขยับปรับสูงขึ้นด้วยการร่วมมือกัน  อีกทั้งอยากให้ผลิตอ้อยเพิ่มสูงขึ้น จากเดิมผลผลิตอ้อยไร่ละประมาณ 7-8 ตันเป็น ไร่ละ 10-12 ตัน การเพิ่มผลผลิตก็อาศัยเทคโนโลยี ตลอดจนการจัดหาพันธุ์อ้อยที่ดีนำมาเพาะปลูกในครั้งต่อไป    หากทำให้ดังกล่าวจะส่งผลให้เกษตรกรชาวไร่มีรายได้เพิ่มขึ้น นี่คือส่วนที่ทางโรงงานอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลกำลังผลักดันส่งเสริมชาวไร่อ้อย  นอกจากนี้ ทำอย่างไรให้ค่าขนส่งลดต้นทุนค่าขนส่งอ้อยมายังโรงงานหีบอ้อย การตัดอ้อย 

          “การที่เราได้มีโอกาสพัฒนาร่วมกับชาวไร่อ้อย ลดการเผาอ้อย ทำให้เปอร์เซ็นต์ผลิตน้ำตาลไปได้ ก็ช่วยๆกัน” สิริวุทธิ์ กล่าวทิ้งท้าย