ค่าระวางเรือขาลง กลับเหนื่อยค่าเอฟที : วิศิษฐ์ ลิ่มลือชา

0
100

“ค่าเอฟปรับเพิ่มขึ้น กระทบผู้ประกอบการเอสเอ็มอีภาคการผลิต การส่งออก ต้องแบกรับต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นมาก อยากให้ทบทวน”

โค้งสุดท้ายส่งออกไทยได้เวลา “Talk OFF” สยายปีกกว้างเหยียบคันเร่งเต็มสูบอีกครั้ง หลังเร่งไม่ขึ้นจากพิษไวรัสสายพันธุ์ใหม่ “โหด เร็วแรง ทนอึด นาน” โควิด 2019 ฟาดแรงแทบล้มประดาตาย

กลายเป็น Effect ลูกใหญ่พุ่งตรงเป้าตรงต่อภาคส่งออก ภาคขนส่งสินค้า ลุกลามบานปลายทุกประเทศต่างๆทั่วโลก เกิดภาวะขาดคนทำงานลุกลามถึงปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน ภาพเช่นนี้ยังไม่เคยปรากฏในหน้าประวัติศาสตร์ส่งออกมาก่อน

ในช่วงปลายปี 65 นี้ สถานการณ์ส่งออกแนวโน้มตัวเลขที่เริ่มส่งสัญญาณในทิศทางบวกมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงรุมเล้ากระทบส่งออกอาทิ ราคาพลังงาน หลังเจอภาวะสงครามระหว่างรัสเชีย- ยูเครน ตลาดน้ำมันดิบทั่วโลกราคาพุ่งแรงแตะระดับ 80-90 ดอลลาร์สหรัฐ เกิดภาวะเงินเฟ้อในหลายประเทศไม่เว้นแม้แต่สหรัฐอเมริกา

วิศิษฐ์ ลิ่มลือชา นายกสมาคมผู้ผลิตสินค้าอาหารสำเร็จรูป เปิดเผยกับLogistics time ถึงภาวการณ์ส่งออกหลังากนี้ว่า ส่งออกของแต่ละประเทศเริ่มดีขึ้น แต่ละประเทศกลับมาเดินหน้าเต็มที่แล้ว หลังจากก่อนหน้านี้มีปัญหาท่าเรือแต่ละแห่งเกิดปัญหาขาดคนดูแล อันเกิดจากวิกฤตโควิด19 ปัจจุบันเริ่มทำงานมีการหมุนเวียนระบายตู้คอนเทนเนอร์จากประเทศต่างๆเหล่านั้นได้ดีขึ้นตามลำดับและเชื่อว่ากำลังกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ประกอบกับค่าระวางเรือที่ปรับลดลงจะเห็นแนวโน้มจาก 10,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อตู้ 40 ฟุต จะปรับลดลงมาประมาณ 6,000-8,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อตู้ 40 ฟุต 

ภาพรวมกลุ่มสินค้าส่งออกของประเทศเป็นไปแบบเติมโตอย่างต่อเนื่อง แต่เป็นไปเติมโตลดลง อย่างบางเดือนอัตราเติมโต 20% แต่เดือน ก.ย.ที่ผ่านมา เติมโตเหลือ 7.8 % ดังนั้นอัตราส่งออกใน 9 เดือนแรกอัตราส่งออกเติมโต 10.6% คาดการณ์แนวโน้มอัตราเติมโตค่อยๆลดลง ดังนั้น คาดว่าอัตราการเติมโตส่งออกทั้งปี 65 อยู่ที่ 8%

วิศิษฐ์ กล่าวว่า หากประเมินจากปัจจัยเสี่ยงธุรกิจการส่งออกขณะนี้ อย่างกรณีเงินเฟ้อที่ส่งผลกระทบต่อประเทศนำเข้าสินค้าราคาแพงขึ้น ผู้บริโภคก็มีอำนาจจับจ่ายใส่สอยลดลง แต่ประเทศที่ใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจผู้บริโภคในประเทศอาจจะพอมีกำลังซื้อก็จะไปต่อได้ ประเทศเหล่านี้จะใช้นโยบายการปรับขึ้นดอกเบี้ยแรงๆ โดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐ การกระทำแบบนี้เพื่อให้คนใช้จ่ายน้อยลง แต่อาจกระทบอีกด้านหนึ่ง นั่นคือส่งผลทำให้เศรษฐกิจประเทศชะลอตัวทำให้เศรษฐกิจถดถอย

วิศิษฐ์ ลิ่มลือชา

“ดังนั้น เท่ากับผลส่งกระทบต่อการส่งออกของไทย หากสินค้าไทยส่งออกไปยังตลาดประเทศเหล่านั้น ส่วนการส่งออกสินค้าไทยไปยังกลุ่มยุโรปขณะนี้ภาพรวมทิศทางก็เริ่มอ่อนแรง และอ่อนแรงกว่าส่งออกประเทศสหรัฐ”

ถัดมาปัจจัยเสี่ยงกรณีเงินเฟ้อของประเทศไทย ซึ่งจะแตกต่างจาก 2 ประเทศดังกล่าวข้างต้น ประเทศไทยยังอยู่ในภาวะเศรษฐกิจกำลังจะฟื้นตัวไม่อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขึ้นแรงเหมือนกับสหรัฐ หากปรับขึ้นดอกเบี้ยเมื่อไหร่ผลกระทบตามมาทันที นั่นคือ เกิดปัญหาหนี้สูญเนื่องจากที่ผ่านมา รัฐใช้นโยบายช่วยเหลือประชาชนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยสนับสนุนให้กู้เงินเพิ่ม นี่คือภาพความแตกต่างกันมากมายระหว่างเศรษฐกิจสหรัฐกับไทย

ปัจจัยเสี่ยงสุดท้าย เป็นปัจจัยเสี่ยงแง่ลบชัดเจนมากที่สุด นั่นคือราคาพลังงานที่ปรับแพงขึ้น เมื่อราคาพลังงานตลาดโลกขยับราคาเพิ่มขึ้นผู้ประกอบการธุรกิส่งออกได้รับผลกระทบแน่นอน ทำต้นทุนที่ปรับเพิ่มขึ้นกระทบต่อต้นทุนทุกๆด้าน ค่าการขนส่งสินค้า การผลิต ไฟฟ้า

ประเด็นค่าเงินบาทที่อ่อนค่ามีผลกระทบต่อการนำเข้าสินค้า แต่เราผู้ส่งออกกลับมองว่า ทิศทางเงินบาทอ่อนค่าควรเป็นไปแบบสมดุลกับประเทศคู่แข่งมากกว่า”

สำหรับภาคการท่องเที่ยวที่มองค่าเงินบาทขณะนี้ไม่ต้องการให้ค่าเงินแข็งค่า เพราะค่าเงินบาทอ่อนค่านั้นเป็นผลดีต่อการท่องเที่ยว เท่ากับช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศอีกทางหนึ่ง รวมถึงค่าเงินบาทอ่อนยังกลายเป็นปัจจัยหนุนต่อนักลงทุนต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศง่ายขึ้น

“ปัจจัยลบกระทบส่งออกเวลานี้กระทรวงพลังงานควรมีนโยบายเพื่อการแก้ปัญหา การนำเข้าพลังงานในภาวะเงินบาทอ่อนค่า ที่ผ่านมา รัฐใช้นโยบายดูแลเรื่องราคาพลังงานในส่วนการตรึงราคาน้ำมันดีเซลไมเกิน 35 บาทต่อลิตร ซึ่งส่วนตัวมองว่าสามารถทำได้ดีขอชื่นชม

“แต่เรื่องพลังงานไฟฟ้า ค่าเอฟปรับเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบผู้ประกอบการเอสเอ็มอีภาคการผลิต การส่งออก ต้องแบกรับต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นมาก หน่วยงานที่กำกับดูแลค่าเอฟทีควรพิจารณาทบทวนเรื่องนี้ ”