สถาปัตย์ มจพ. สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เซรามิกเพื่อการส่งออก ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม

0
539

อาจารย์สุเทพ จันทน คณบดีคณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) พร้อมด้วยนางแน่งน้อย เวทยพงษ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดพิธีปิดโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิกเพื่อการส่งออกของผู้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคกลาง โดยโครงการนี้เป็นการปฎิบัติตามนโยบาย 4.0 ของรัฐบาลในการสร้างรายได้เข้าประเทศด้วยการส่งสินค้าออกไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศ ณ ห้องแกรนด์พาวิลเลี่ยนชั้น 9  โรงแรมเซนทารา วอเตอร์เกต พาวิลเลี่ยน ประตูน้ำ กรุงเทพฯ

สืบเนื่องจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับกรมวิทยาศาสตร์บริการ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2559 ที่ผ่านมา โดยคณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ ดำเนินการโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิกเพื่อการส่งออกของผู้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคกลาง ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิกของจังหวัดราชบุรี และจังหวัดสมุทรสาคร ให้มีมูลค่าเพิ่ม พัฒนาผู้ประกอบการเซรามิกวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีอาชีพที่ยั่งยืน และสร้างความร่วมมือในการบูรณาการองค์ความรู้ระหว่างหน่วยงานภาครัฐเอกชนและภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการเซรามิก ทั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้สนับสนุนเงินวิจัย คณะผู้รับการสนับสนุนประกอบด้วย อาจารย์สุเทพ จันทน คณบดีคณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ ประธานที่ปรึกษา ดร.ประภัสสร ประเทืองไทย ผู้รับผิดชอบโครงการ ดร.สมใจ มะหมีน ดร.วทัญญ์ บุญสอน นายศุภกร กันตาโพธิ์ นางสาวศิรินทรา อาจเจริญ อริสรา ทิพย์รัตน์ และตัวแทนนักศึกษา และศิษย์เก่าของคณะฯ

 

นางแน่งน้อย เวทยพงษ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยเป็นศูนย์กลางผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกของกลุ่มอาเชี่ยนโดยเฉพาะกลุ่มประเทศ CLMV  ซึ่งได้แก่กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาและเวียดนาม แหล่งผลิตเซรามิกใหญ่ๆ ของไทยมีอยู่ 3 จังหวัดคือลำปาง ราชบุรีและสมุทรสาคร ซึ่งเป็นแหล่งเก่าแก่ดั้งเดิมของอุตสาหกรรมเซรามิกไทย โครงการนี้มีอายุ 10 เดือนตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2560 ในเดือนพฤศจิกายน2559 จนถึงเดือนกันยายน 2560 การพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิกเพื่อการส่งออกของผู้ประกอบการในภาคกลางที่จังหวัดราชบุรีและสมุทรสาครนั้นมีโรงงานผู้ผลิตร่วมโครงการรวม 23 ราย โครงการนี้ กรมวิทยาศาสตร์บริการและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือได้ประเมินแล้วว่าประสบความสำเร็จจะทำให้อุตสาหกรรมเซรามิกของไทย สามารถเพิ่มยอดการส่งออกไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศได้ปัจจุบันตลาดใหญ่ของเซรามิกไทยอยู่ที่สหราชอาณาจักรและประชาคมยุโรป รองลงมาก็คือกลุ่มอาเชี่ยนโดยเฉพาะ CLMV มียอดส่งออกปีละ 790 ถึง 800 ล้านดอลล่าร์อเมริกันหรือ 26,400 ล้านบาท

นอกจากนี้ไทยยังนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกในบางประเภทจากต่างประเทศปีละ 500 ล้านดอลล่าร์อเมริกันหรือ 16,500 ล้านบาท การพัฒนาเซรามิกไทยประเภทถ้วย ชาม โอ่งมังกรของราชบุรี  แก้วน้ำ เครื่องประดับตกแต่งบ้าน หากโรงงานผู้ผลิตเซรามิกมีความรู้เรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์แล้ว อุตสาหกรรมนี้ก็จะเติบโตเป็นมูลค่าของการส่งออกมากขึ้น

ด้าน อาจารย์ ดร.ประภัสสร ประเทืองไทย หัวหน้าผิดชอบโครงการ กล่าวเสริมว่า เป็นการนำองค์ความรู้ใหม่ๆ เทคนิค วิธีการมาถ่ายทอด แก่ผู้ประกอบการทำให้ผู้ประกอบการสามารถนำเทคนิค วิธีการมาพัฒนาด้านการออกแบบและกระบวนการผลิต การสร้างอัตลักษณ์ให้แก่ผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าในผลิตภัณฑ์นั้นๆ ให้มีมากยิ่งขึ้น

สำหรับในการดำเนินโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิกเพื่อการส่งออกของผู้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคกลางในครั้งนี้ ผลิตภัณฑ์เซรามิกของจังหวัดราชบุรี และจังหวัดสมุทรสาคร มีการพัฒนารูปแบบและลวดลายใหม่ๆ อย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้ก็มีความเชื่อมั่นว่า ทางผู้ประกอบการเซรามิกระดับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ของทั้งสองจังหวัด จะมีศักยภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกที่มีคุณภาพ พร้อมทั้งมีการออกแบบเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของตลาดเพื่อการส่งออกได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น

 

ในส่วนของ อาจารย์สุเทพ จันทน คณบดีคณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ กล่าวว่า ผลจากการดำเนินโครงการพัฒนาผลิตภัณฑเซรามิกเพื่อการสงออกของผูประกอบการกลุมจังหวัดภาคกลางนั้น ทำให้ผู้ประกอบการได้รับการถ่ายทอดด้านเทคนิค วิธีการ องค์ความรู้ด้านการพัฒนากระบวนการผลิต และปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์เซรามิก รวมถึงการออกแบบและการทำตลาดของอุตสาหกรรมเซรามิก ซึ่งถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย และที่สำคัญเป็นโครงการที่บูรณาการระหว่างผู้ประกอบการจังหวัดราชบุรี กับผู้ประกอบการจังหวัดสมุทรสาคร อันเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการเซรามิกกลุ่มจังหวัดภาคกลางสามารถออกแบบและพัฒนารูปแบบและลวดลายใหม่ๆ ให้มีความโดดเด่นและแตกต่างกันเพื่อเพิ่มมูลค่าในการส่งออกของประเทศมากยิ่งขึ้น

 

ดร.สมใจ มะหมีน กล่าวเสริมอีกว่า “ทางด้านกระบวนการผลิตและปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ คณะผู้รับการสนับสนุนได้จัดอบรมให้กับผู้ประกอบที่เข้าร่วมโครงการ พร้อมกับการหารือความเป็นไปได้ในด้านการพัฒนาให้คำปรึกษา รวมถึงการออกแบบ และการทำตลาดของอุตสาหกรรมเซรามิกโดยวิธีการนำผลิตภัณฑ์ทั้งหมดในโครงการไปทำการตลาดจำนวน 2 ครั้งได้แก่ งาน BIG-BIH และงาน ASEAN CERAMIC ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ซึ่งบางกลุ่มได้รับการสั่งผลงานในช่วงเวลา 2 เดือนเป็นเงิน 1 ล้านบาท ส่งผลให้เห็นว่าเกิดการต่อยอดการพัฒนา ที่ซึ่งถือว่าเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย และที่สำคัญเป็นโครงการมีการบูรณาการระหว่างผลิตภัณฑ์โอ่งมังกรของจังหวัดราชบุรี กับผลิตภัณฑ์เซรามิกประเภทเบญจรงค์ของจังหวัดสมุทรสาคร อันเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการเซรามิกกลุ่มจังหวัดภาคกลาง สามารถออกแบบและพัฒนารูปแบบและลวดลายใหม่ๆ ให้มีความโดดเด่นและแตกต่างกันเพื่อเพิ่มมูลค่าในการส่งออกของประเทศมากยิ่งขึ้น 

 

 

งานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เซรามิกเพื่อการส่งออกของผู้ประกอบการกลุ่มจังหวัดภาคกลาง เป็นงานที่ตอบโจทย์ด้านการพัฒนาเซรามิก ยกระดับนวัตกรรมเทคโนโลยีในการผลิต และการเพิ่มมูลค่าสินค้าที่สอดรับกับวิถีไทย  สามารถสร้างอาชีพที่ยั่งยืน และสร้างความร่วมมือในการบูรณาการองค์ความรู้ระหว่างหน่วยงานภาครัฐเอกชนและภาคส่วนต่างๆ อย่างรอบด้านที่จะนำความรู้การออกแบบผลิตภัณฑ์ ไปต่อยอดพัฒนาสินค้าของผู้ประกอบการเองให้เกิดความโดดเด่น ต่างแตก และสร้างตลาดใหม่ๆ  ตลอดจนเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการเซรามิกของประเทศไทย