วันอังคาร, พฤษภาคม 7, 2024

Colmunist

เรื่องเล่าจากคอลัมน์นิสต์

จาก ตม. …ถึง Air City Preview

เรื่องของ ตม.ดอนเมือง ที่ทำเอาผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวที่บินข้ามน้ำข้ามทะเลมาเที่ยวเมืองไทย แต่ต้องมาค้างเติ่งรอคิวตรวจตราประทับที่ ตม.ดอนเมือง กันกว่า 4-5 ชม. จนแทบอยากจับเครื่องบินกลับกันไปเลยนั้น  แม้ฝ่ายบริหาร บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.จะโบ้ยส่งเป็นเรื่องสุดวิสัยเพราะสนามบินดอนเมืองนั้นออกแบบมาให้รองรับผู้โดยสารพร้อมกันในขณะนี้ 44 เที่ยวบิน /ชั่วโมงเท่านั้น แต่เวลานี้ทะลักไปถึง 55 เที่ยวบิน/ ชม.แล้ว เมื่อมาเจอกับเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง (ตม.)...

เผือกร้อน “คิงเพาเวอร์”

ระอุแดดขึ้นมาอีกครั้งกับเรื่องของสัมปทานดิวตี้ฟรีของกลุ่มบริษัท คิงเพาเวอร์ ของเจ้าสัววิชัย ศรีวัฒนประภา ประธานสโมสรฟุตบอล “เลสเตอร์ซิตี้” ของอังกฤษที่เคยพลิกประวัติศาสตร์พาทีมเถลิงแชมป์พรีเมียร์ลีกฤดูกาล 2015-2016 ให้คนไทยสุดฟินกันมาแล้ว แต่วันนี้ดูเหมือนธุรกิจแสนล้านของ “เจ้าพ่อดิวตี้ฟรีเมืองไทย” กำลังสั่นคลอนอย่างหนัก หลังมีข่าว นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรองประธานอนุกรรมการศึกษา เสนอแนะมาตรการและกลไกในการปราบปรามการทุจริต สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ที่ไม่รู้ไปกินดีหมีมาจากไหนถึงได้ห้าวเป้งลุกขึ้นมาเป็นโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ประเดิมศาลใหม่ไปแล้ว 2...

ย้อนรอยค่าโง่ทางด่วนบูรพาวิถี

กลายเป็นคดีประวัติศาสตร์ที่ทำให้หน่วยงานรัฐเกือบต้องเสียค่าโง่ “ซ้ำซาก” .... กับโครงการทางด่วนบูรพาวิถี (บางนา-บางประกง) ที่ไม่รู้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) รัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคม ไปทำสัญญากับผู้รับเหมาก่อสร้างกันอีท่าไหน ถึงได้ถูกคู่สัญญาเอกชน (กิจการร่วมค้าบีบีซีดี และกลุ่ม ช.การช่าง) ฟ้องนัวเนียจ่อจะทำให้รัฐต้องเสียค่าโง่ “ซ้ำซาก” ขึ้นมาได้ 15 ปีก่อนถูกกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้างยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหาย จากความล่าช้าในการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างจนทำให้วงเงินก่อสร้างบานปลาย ผู้รับเหมาจึงฟ้องขอชดเชยเอาจาก กทพ. วงเงินรวม 6,200 ล้านบาท และต่อมาคณะอนุญาโตตุลาการที่ทั้งสองฝ่ายแต่งตั้งขึ้น ก็เห็นชอบให้คู่สัญญาฝ่ายรัฐ คือ...

“ไฮสปีดเทรน”สายประชารัฐ

            ย้อนตำนาน 25 ปีรถไฟความเร็วสูง “ไฮสปีดเทรน” เมืองไทย  จากยุคผู้ดีรัตนโกสินทร์ “อานันท์ ปันยารชุน” ถึงไฮสปีดเทรนสายประชารัฐ ยุค “ลุงตู่” กับคำถาม...ที่ยังไร้คำตอบ              ...

มัณฑะเลย์ : เมืองดาวรุ่ง…มาแรงของเมียนมา

เมืองสำคัญในเมียนมา นอกจากกรุงเนปิดอว์ เมืองหลวงปัจจุบัน และย่างกุ้ง อดีตเมืองหลวงที่ยังคงความสำคัญในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศแล้ว “มัณฑะเลย์” ก็เป็นอีกเมืองสำคัญที่มีศักยภาพไม่เป็นรองใครและเป็นหนึ่งในเมืองยุทธศาสตร์สำคัญภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจของเมียนมาปี 2553-2573 โดยมีฐานะเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ การค้า และการคมนาคมขนส่งทางตอนกลางและบนของเมียนมา อีกทั้งยังเป็นเมืองเศรษฐกิจสำคัญอันดับ 2 รองจากเมืองย่างกุ้ง และที่สำคัญ มัณฑะเลย์กำลังก้าวขึ้นเป็น Super Gateway ที่เชื่อมไปยังจีนและอินเดีย ซึ่งเมื่อประกอบกับศักยภาพทางเศรษฐกิจที่เอื้อต่อการลงทุนในธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่อง ธุรกิจโลจิสติกส์ ตลอดจนการเป็นฐานการผลิตสินค้า โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ไม้ สิ่งทอ...

ขว้างงูไม่พ้นคอ?

เหลือบไปเห็นข่าวเล็กๆ ในสื่อเศรษฐกิจตีปี๊บเรื่องที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เตรียมเสนอกระทรวงการคลังปรับปรุงพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 หรือ “พ.ร.บ.พีพีพี” โดยอ้างว่ากฎหมายปัจจุบันยังมีข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคต่อการดึงเอกชนลงทุน ดังนั้น นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี จึงต้องการให้มีการปรับปรุงกฎหมาย เพราะระยะต่อไปรัฐบาลมีแผนลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอีกมากที่จำเป็นต้องเปิดทางให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนเพื่อลดภาระของรัฐในระยะ 5 ปีข้างหน้า ถึง 66 โครงการ วงเงินลงทุนรวมกว่า 1.6 ล้านล้านบาท ซึ่ง 20% ของโครงการลงทุนเหล่านี้...

“บินไทย” กับหนามยอกอก… “นกแอร์”

จากสายการบินแห่งชาติที่เคยเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งประเทศ!  วันนี้ บมจ.การบินไทยกลับตกอยู่ในภาวะ“ระส่ำหนัก” เป็น 1 ใน 7 รัฐวิสาหกิจที่ต้องเข้าสู่การฟื้นฟูกิจการเป็นการเร่งด่วน ด้วยสถานะทางการเงินที่ง่อนแง่น ต้องแบกขาดทุนสะสมตลอด 3 ปีมานี้กว่า 40,000 ล้านบาท  แม้ฝ่ายบริหารบินไทยจะคุยโอ่ผลประกอบการในปี 2559 ที่ผ่านมาทำได้ดีกว่าสายการบินใหญ่ๆในภูมิภาคเดียวกัน มีรายได้จากการประกอบการที่สูงกว่า 200,000 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 180,000 ล้านบาท และมีกำไรจากการประกอบการ 4,071 ล้านบาท...

มหกรรมเจ๊งบันลือโลก!

ก็เป็นอันต้องกลับมานับ 1 กันใหม่กับเรื่องที่นายกฯและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) งัดม.44 ออกคำสั่งคสช.ที่ 14/2560 จัดระเบียบวินัยจราจรสุดเข้มข้นบังคับผู้โดยสารรถยนต์และรถโดยสารต้องคาดเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง ทั้งยังห้ามโดยสารในแค็บและบนกระบะหลังรถปิกอัพทุกชนิดที่ดีเดย์บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายนก่อนช่วงเทศกาลสงกรานต์  แต่หลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจดีเดย์บังคับใช้มาตรการดังกล่าวไปได้เพียงวันเดียวก็ต้องถอยกรูด เมื่อถนนทุกสายดาหน้าถล่มมาตรการของรัฐในครั้งนี้ที่ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้คน จนท้ายที่สุดนายกฯได้สั่งให้เลื่อนใช้มาตรการดังกล่าวออกไปไม่มีกำหนด กับเรื่องที่จั่วไว้เรื่องของรถไฟฟ้า “แอร์พอร์ตลิงค์” โครงการรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีในเมืองที่นับแต่เปิดให้บริการเมื่อปี 2552 มาจะร่วม 10 ปีนั้นยังคง“เจ๊งไม่เป็นท่า”จนวันนี้ก็ยังคงสามวันดี สี่วันกลายเป็นมหกรรมเจ๊งระดับชาติที่การรถไฟยังคงแก้ไม่ตก แม้กระทรวงคมนาคมจะประกาศยกเครื่องกันอย่างไรก็ยังไร้ทางออก เห็นบทเรียนจากโครงการแอร์พอร์ตลิงค์ข้างต้นแล้ว “เนตรทิพย์”อยากฝากเตือนรัฐบาลและคนรถไฟเอาไว้ตรงนี้ อีกโครงการที่จ่อจะเจริญรอยตามก็คือ รถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ...

จากรถตู้โดยสาร…ถึงอูเบอร์ 

จ่อ “พระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรก” จริงๆ  สำหรับ นายสนิท พรหมวงษ์” อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.)กระทรวงคมนาคมยามนี้ เพราะในขณะที่บรรดาผู้ประกอบการแท็กซี่สาธารณะที่กำลังไล่อาละวาดฟาดงวงฟาดหาง ลังถูกแท็กซี่ผ่านแอพพลิเคชั่น “อูเบอร์และแกร็บ” เข้ามาเบียดตลาดแถมยังให้บริการดีกว่า เพราะตอบโจทย์ผู้ใช้บริการในโลกยุคดิจิทัลนี้ได้หมด  แต่แทนที่กรมขนส่งทางบกจะหันไปสำรวจตัวเอง หันไปไล่เบี้ยปรับปรุงบริการรถแท็กซี่ในระบบที่กรมกำกับดูแลอยู่ ทำไมผู้คนเขาถึงเอือมระอาพากันหันไปใช้บริการ“อูเบอร์”กันนัก ก็กลับมาตั้งชุดเฉพาะกิจไล่จับไล่ล่า “อูเบอร์” อย่างเอาเป็นเอาตาย มีการส่งสายล่อซื้อจับกุม “อูเบอร์” ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัดกันขนานใหญ่ พร้อมยืนยันว่า การให้บริการของแท็กซี่ผ่านแอพจะ อูเบอร์ หรือแกร็บถือว่าผิดกฎหมายพ.ร.บ.รถยนต์...

เมื่อรถไฟจะปฏิรูปตัวเอง!

หลังจาก "บิ๊กตู่"งัด ม.44 ปลดฟ้าผ่า วุฒิชาต กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟไป จะเป็นเรื่องของการเซ่นความล่าช้าในการขับเคลื่อนและดำเนินโครงการต่างๆ ของการรถไฟ หรือเซ่นประเด็นเรื่องออื้อฉาวภายในหน่วยงานที่นัยว่าคละคลุ้งไปด้วยกลิ่นอายทุจริตหรือไม่ แต่หลายฝ่ายก็ต้ังความคาดหวังทั้งบอร์ดและฝ่ายบริหารใหม่ของการรถไฟ คงจะต้องพิสูจน์กึ๋นตัวเองอย่างหนักจากควันหลงของ ม.44 หนนี้แน่  ส่วนเรื่องที่คาราคาซังที่คงจะเป็นงานหินของรักษาการผู้ว่ารถไฟคนใหม่ ไม่เพียงจะเป็นการเร่งเครื่องโครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่ 5 สายทางในเฟสแรกที่ยังยักแย่ยักยันไม่ไปไหน และเฟส 2 ที่การรถไฟฯกำลังโม่แป้งอยู่แล้ว ยังมีโครงการพัฒนาจัดประโยชน์โครงการมักกะสัีนคอมเพล็กซ์ พื้นท่ี 497 ไร่นี้อีกโครงการ หลังจากกระทรวงการคลังต้องพับแผนพัฒนาที่ดินมักกะสัน...