วันเสาร์, เมษายน 27, 2024

Colmunist

เรื่องเล่าจากคอลัมน์นิสต์

ปัจจัยสำคัญในการสร้างโอกาสทางการค้าให้แก่ธุรกิจบริการโลจิสติกส์ไทย

ธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ของไทย นับว่าเป็นหนึ่งในธุรกิจบริการที่มีความสำคัญมากต่อเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากเป็นสาขาที่จะเข้ามาช่วยในการเอื้ออำนวยความสะดวกทางการค้าและยังสามารถที่เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ภาคธุรกิจอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี จากฐานข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ แสดงถึงสถานภาพปัจจุบันของธุรกิจบริการโลจิสติกส์ โดยจากสถิติจำนวนนิติบุคคลที่มีการแบ่งหมวดหมู่กิจกรรมทางเศรษฐกิจตามการจัดประเภทมาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศไทยหรือ Thailand Standard Industrial Classification; TSIC ในหมวด H: การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า จะเห็นได้ว่าจากข้อมูลปรากฎเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2559 มีจำนวนนิติบุคคลคงอยู่ประมาณ 25,873 ราย แบ่งเป็นผู้ประกอบขนาดย่อมร้อยละ...

ดังแต่ท่อ…ล้อไม่หมุน!

ยังคงเป็น Talk of the Town สะเทือนไปทั้งลำ กับเรื่องของสินบน “โรลสรอยซ์” บริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์ยักษ์ใหญ่ของอังกฤษ ที่ยอมรับสารภาพกับศาลสูงอังกฤษว่า ได้ติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐ นักการเมืองและพนักงานบริษัทใน 7 ประเทศ เพื่อขายเครื่องยนต์ให้และ ยอมเสียค่าปรับ 671 ล้านปอนด์หรือกว่า 28,500 ล้านบาทให้กับสำนักงานต่อต้านการทุจริต (SFO) ของรัฐบาลอังกฤษแลกกับการไม่ต้องถูกดำเนินคดีอาญาอีกคดี โดยในส่วนของการขายเครื่องยนต์ให้กับการบินไทยนั้น มีการจ่ายสินบน 3 ครั้งรวม...

หักดิบปรับโครงสร้าง ปตท.

กำลังจ่อระอุแดด! กับเรื่องที่ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง) ที่ตอนนี้ไม่ได้ทำหน้าที่แค่ตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐและรัฐวิสาหกิจที่ปิดบัญชีและนำส่งงบดุลรายงานมายังสตง.อีกแล้ว แต่สยายปีกขยายบทบาทไปตรวจสอบไปถึงการกำหนดนโยบายและริเริ่มดำเนินโครงการกันเลยทีเดียว อย่างเรื่องของนโยบายรับจำนำข้าวของรัฐบาลชุดก่อนที่ สตง.จัดทำรายงานวิเคราะห์โครงการละเอียดยิบว่าเต็มไปด้วยจุดอ่อนที่จะก่อให้เกิดการทุจริตเชิงนโยบายตรงไหนอย่างไร แล้วก็ลงไปร่วมสังฆกรรมกล่าวโทษรัฐบาลที่ทำให้ประเทศเสียหายไปหลายแสนล้าน! มาถึงโครงการติดตั้งเน็ตหมู่บ้าน นโยบายหลักของรัฐบาลคสช.ชุดนี้ที่จะติดตั้งอินเทอร์เน็ตไวไฟทุกหมู่บ้านและชุมชนทั่วประเทศวงเงินงบประมาณราว 20,000 ล้านเพื่อให้ประชาชนรากหญ้าก้าวเข้าสู่สังคมดิจิทัลและนโยบายไทยแลนด์ 4.0 แต่แค่ตั้งแท่นกำหนดเงื่อนไขทีโออาร์ก็เจอ สตง.กระตุกเบรกหัวทิ่มทำเอากระทรวงไอซีทีที่ตอนนี้ปรับเปลี่ยนเป็นกระทรวงดิจิทัลไปไม่เป็น ต้องปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการดำเนินโครงการใหม่ยกกระบิ สุดท้ายประเคนไปให้บริษัททีโอทีดำเนินซะให้รู้แล้วรู้แร่ด ทั้งที่ศักยภาพจะทำได้หรือไม่นั้น ส่วนนี้สตง.กลับไม่คิดจะล้วงลูกลงไปศึกษา ล่าสุดมาถึงคิว บริษัทปตท.จำกัด(มหาชน)หรือ PTT ที่กำลังปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งใหญ่ ประกาศจะแยกธุรกิจค้าปลีกและน้ำมันไปจัดตั้งเป็นบริษัทใหม่ ปตท.น้ำมันและค้าปลีก จำกัดหรือ PTTOR เพื่อนำกิจการเข้าจดทะเบียนระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ โดยในระยะแรก ปตท.จะถือหุ้น 100% ใน PTTOR ก่อนจะทยอยลดสัดส่วนการถือหุ้นลงต่ำกว่า 50% โดยจะกำหนดสัดส่วนการถือหุ้นขั้นต่ำไว้ที่อย่างน้อย 45%ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วเพื่อไม่ให้มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ และเพิ่มความคล่องตัวในการแข่งขัน แต่ก็เจอฤทธิ์เดช สตง.กระตุกเบรกหัวทิ่มเข้าให้อีก โดยอ้างว่าอาจทำให้รัฐเสียหาย...

ซีปังเท้าขนานแท้!  

เหลือบไปเห็นข่าวเล็กๆ ชิ้นหนึ่งในสื่อสิ่งพิมพ์ เรื่องที่กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ผู้ชนะประมูลโครงการก่อสร้างและบริหารโครงการรถไฟฟ้า2 สายรวดคือ สายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง มีข้อเสนอที่จะเชื่อมต่อเส้นทางสายสีเหลืองจากรัชดาลาดพร้าวไปยังรัชโยธิน และสายสีชมพูเชื่อมเข้าเมืองทองธานี แต่ก็ถูก คุณพีระยุทธ์  สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กระตุกเบรกด้วยข้ออ้างแม้จะเป็นข้อเสนอที่ดี แต่เป็นเพียงข้อเสนอเพิ่มเติมที่ไม่ได้อยู่ในร่างเงื่อนไขการประกวดราคา ถือเป็นโครงการที่อยู่นอกแผนแม่บทที่อาจมีประเด็นข้อกฎหมายหากจะให้เอกชนเข้ามาดำเนินการ เพราะข้อเสนอนี้เป็นเรื่องใหญ่อีกทั้งยังไม่ได้ผ่านขั้นตอนการศึกษารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม จึงต้องรอให้คณะกรรมการตามมาตร 35 แห่งพ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐพ.ศ....

จากช้อปช่วยชาติ… ถึงเก็บภาษีเน็ตไอดอล-สินค้าออนไลน์

เกินกว่าฟรอยด์จะจินตนาการจริงๆ... สำหรับรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กับมหกรรม “แจก-ช้อปช่วยชาติ” ที่รัฐบาลเข็นกันออกมาจนแทบจะสำลัก!   ไล่ดะมาตั้งแต่แจกเงินผู้มีรายได้น้อยที่ขึ้นทะเบียนคนจนไว้ก่อนหน้า 8.2 ล้านคน ที่จะได้รับแจกเงินกันฟรีๆ ที่รัฐเรียกซะเก๋ไก๋ว่าเป็น “เงินสวัสดิการ” จำนวน 3,000 บาท สำหรับผู้มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อปี และ 1,500 บาท สำหรับผู้มีรายรับ...

จับสายไฟฟ้าลงดิน…ขี้ช้างจับตั๊กแตน!

“ไม่ว่าเราจะทุกข์เศร้าน้ำตานองเพียงใด แต่ประเทศไทยอันเป็นที่รักของพวกเราและของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯในพระบรมโกศต้องดำรงต่อไป อย่าให้การเสด็จสวรรคตครั้งนี้ ทำให้พระราชปณิธาน ที่จะเห็นราชอาณาจักรของพระองค์ มีความเจริญรุ่งเรือง พสกนิกรมีความผาสุกสวัสดี  มีเมตตาและไมตรีต่อกัน ต้องหยุดชะงักลง” ถ้อยแถลงของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้า คสช.ในแถลงการณ์ที่มีต่อประชาชนคนไทยเมื่อค่ำวันที่ 13 ตุลาคม 2559  “เนตรทิพย์” เห็นด้วยอย่างยิ่งกับถ้อยแถลงของนายกฯที่เตือนสติพี่น้องประชาชนคนไทยเราข้างต้นครับ แม้เราจะโศกเศร้าต่อการสวรรคตของ“ในหลวง”ผู้เป็นที่รักและเทิดทูลยิ่งของปวงชนชาวไทยเราอย่างไร แต่ประเทศจะต้องก้าวเดินต่อไป และการสืบสานปณิธานพ่อหลวงคือ การแสดงความจงรักภักดีที่ดีที่สุดในยามนี้ครับ! เช่นเดียวกับเรื่องของนโยบายของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำเอาสายไฟฟ้าและสายสื่อสารโทรคมนาคมทั้งหลายลงใต้ดินภายใน 5 ปี เพื่อปรับทัศนียภาพโดยรวมของท้องถนนให้สวยงาม หลังจากที่ก่อนหน้า นายบิลล์เกตส์ “เจ้าพ่อไมโครซอฟต์”ได้โพสต์ภาพลงบนเฟซบุ๊คสัพยอกเมืองไทยอย่างแสบสันว่า มีระบบการจัดการสายไฟฟ้าที่ยังไม่ดีพอนั้น ที่ต้องหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมากล่าวถึง...

ยิ่งกว่าเข็นครกขึ้นภูเขา !!! การเจรจารถไฟไทย-จีน

หลายคนที่ติดตามผลการเจรจารถไฟไทย-จีน อาจจะเริ่มเหนื่อยหน่ายใจกับความล่าช้า ไม่รู้ว่าเมื่อไรจะได้ข้อสรุปและเมื่อไรจะได้ใช้รถไฟสายนี้ บางคนถึงกับถอดใจว่า ในที่สุดจะถึงขั้นต้องล้มเลิกโครงการรถไฟไทย-จีนสายนี้ไปซะเลยหรืออย่างไร มาจนถึงขณะนี้ การเจรจารถไฟไทย-จีนยังไม่คืบหน้าอย่างที่คาดหวัง ด้วยสารพัดประเด็นปัญหาที่ไม่สามารถจะหาข้อยุติได้ หลายเรื่องที่คิดว่าจะราบรื่นกลับต้องสะดุด ทั้งเรื่องรูปแบบการลงทุน แหล่งเงินลงทุน มาจนถึงวินาทีนี้ ก็ยังไม่สามารถสรุปมูลค่าโครงการที่แท้จริงได้ โดยเฉพาะหลังจากที่ทีมเจรจาของไทยได้ลงไปไล่เรียงดูในรายละเอียดของแต่ละรายการที่ฝ่ายจีนจัดทำ ตลอดจนการเสนอราคาของฝ่ายจีนในรายการต่างๆ กลับพบเจอหลายประเด็นปัญหาที่ต้องขอเจรจาใหม่และไม่อาจจะปล่อยให้ลอยนวลไปได้ งานนี้จึงหนักหน่วงยิ่งกว่าเข็นครกขึ้นภูเขา !!! โดยส่วนตัว ดิฉันเองได้เกาะติดกระบวนการเจรจารถไฟไทย-จีนมาโดยตลอด ตั้งแต่ก่อนจะเริ่มมีการลงนามใน “MOU บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือรถไฟไทย-จีน” เมื่อปลายปี 2557 จนถึงการลงนามใน “กรอบความร่วมมือรถไฟไทย-จีน” (Framework of Cooperation...

เศรษฐกิจจีนเผชิญการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ 9 ประการ

เศรษฐกิจจีนเผชิญการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ 9 ประการ รัฐบาลจีนกำลังตระหนักดีว่า เศรษฐกิจจีนกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ ทั้งจากสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกประเทศ อีกทั้งต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นจากภาวะ New Normal ในอนาคตจากนี้ บทความวันนี้ จึงขอสรุปการเปลี่ยนแปลงทั้ง 9 ประการของจีน ดังนี้ ประการแรก “ยุคการเจริญเติบโตในอัตราสูง” ได้สิ้นสุดลงแล้ว ในอีก 5 ปีข้างหน้า การเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมในจีนจะชะลอตัวลง จีนต้องปรับเผชิญกับความท้าทายใหม่นานัปการ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนมีคำอธิบายที่หลากหลาย ทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน หากยังคงดำเนินการในวิถีทางหรือรูปแบบเดิมๆ...

แกะรอย “รถไฟจีน” : ย้อนพินิจ “รถไฟไทย”

แกะรอย “รถไฟจีน” : ย้อนพินิจ “รถไฟไทย” กระแสความร้อนแรงของโครงการรถไฟไทย-จีน ทำให้มีหลากหลายคำถามผุดขึ้นมา โดยเฉพาะในเรื่องข้อเท็จจริงและสถานะของรถไฟจีนบนโลกใบนี้ บทความวันนี้ จึงจะมาลองไล่เรียงแกะรอย “รถไฟจีน” เพื่อดูว่าพอจะเทียบชั้นกับชาติใดได้บ้าง รวมทั้งการเปรียบเทียบกับรถไฟบนแผ่นดินไทยค่ะ ก่อนอื่นต้องขอออกตัวว่า ดิฉันไม่ใช่วิศวกรและไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านขนส่งโลจิสติกส์ แต่มีประสบการณ์เดินทางไปลัดเลาะนั่งรถไฟในหลายเมืองหลายมณฑลของจีน และบางประเทศในยุโรปและเอเชีย นอกจากนี้ ดิฉันและทีมงานศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน แห่งสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้เดินทางไปลงพื้นที่สัมภาษณ์และสัมผัสข้อมูลภาคสนามในจีนอยู่บ่อยครั้ง ในวันนี้จะลองมาเล่าสู่กันฟัง ในแง่ความยาวของโครงข่ายรถไฟ หลายคนคงได้ยินมาบ่อยแล้วว่า จีนมีขนาดโครงข่ายรถไฟยาวติดอันดับต้นของโลกถึง 121,000...

รถไฟจีน (จะ) เชื่อมโยงเพื่อนบ้านอาเซียน: ปฐมบท

รถไฟจีน (จะ) เชื่อมโยงเพื่อนบ้านอาเซียน: ปฐมบท ช่วงหลายเดือนมานี้ บรรดาสื่อไทยต่างนำเสนอประเด็น “การเมืองว่าด้วยรถไฟไทย-จีน” กันอย่างคึกคัก มีคอลัมนิสต์หลายคนออกมาวิเคราะห์และตีแผ่รถไฟไทย-จีนในประเด็นต่างๆ มีทั้งข้อเท็จจริง และมายา(อ)คติ ต่างต่างนานา แต่เท่าที่ได้ติดตามอ่านและรับฟังประเด็นติติงหรือข้อกังวลเหล่านั้น คิดว่า ก็น่าสนใจดีค่ะ หลายประเด็นมีประโยชน์มากด้วย จึงหวังว่า ทีมเจรจารถไฟไทย-จีนจะนำไปพิจารณาต่อไป และคิดว่า ทีมงานของทางการจีนก็ได้เกาะติดและรับฟังประเด็นเหล่านั้นเช่นกัน โดยส่วนตัว เท่าที่ได้อ่านพินิจวิเคราะห์เอกสาร“กรอบความร่วมมือรถไฟไทย-จีน” (Framework of Cooperation :...