บทเฉพาะกาล กม.ภาษีใหม่ 2 ปีแรกจะได้รับการยกเว้น

0
368

 

หมายเหตุ: รายการวิทยุ “ จุดประกาย ขยายประเด็น” ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) ออกอากาศระบบ FM. 92.5  เมกะเฮิรตซ์และ AM. 891 กิโลเฮิรตซ์ ออกอากาศทุกวันอังคารพฤหัสบดี ในช่วงระหว่างเวลา 09.10  –  10.00  นาฬิกา ดำเนินการรายการโดย หนึ่งนุช บุญมาวงศ์ และทรงพล ชูเวช ได้เชิญ พรศิลป์  พัชรินทร์ตนะกุล  นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย สัมภาษณ์สดในรายการประเด็น “เพชรบูรณ์โมเดล ต้นแบบจัดการ ข้าวโพด ทั้งระบบ ”  เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2560

ในที่สุดพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2561 ก็ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในวาระ 2 และ 3 ไป เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมา หลังจากก่อนหน้านี้ถูก “สังคายนาใหญ่” ในคณะกรรมาธิการ หลังจากนี้ร่างกฎหมายดังกล่าวคงรอประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เพื่อให้กฎหมายมีผลบังคับใช้ทันทีปี 2563

อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังยืนยันว่า  การปรับแก้ไขเนื้อหาอันเป็นจุดอ่อนในร่างเดิมให้หมดไป ไม่ใช่เพื่อมุ่งรีดรายได้เข้ารัฐ  แต่เป็นไปเพื่อ “ลดความเหลี่ยมล้ำทางสังคม”

แต่กระนั้น หากคลี่เนื้อหาสาระในกฎหมายฉบับนี้  ประชาชนผู้ที่มีดินและสิ่งปลูกสร้างควรเตรียมตัวรับมืออย่างไร วันนี้ “จุดประกาย ขยายประเด็น” ได้รับเกียรติจาก   ผศ.ดร.ศิริญญา   ดุสิตนานนท์    หัวหน้าสาขาวิชาตลาดทุน การเงิน และภาษี  มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  เข้ามาพูดคุยในรายการ

Q :  สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ ที่ประชาชนควรรับทราบ มีอะไรบ้าง

A :  อันดับแรก ตัวพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เมื่อมีผลบังคับใช้ก็จะมีผลยกเลิกกฎหมายภาษีที่จัดเก็บในปัจจุบันคือกฎหมายภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่เดิม  ในส่วนของผู้เสียภาษีฉบับนี้รวมถึงบุคคลธรรมดา และนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงผู้ที่ครอบครองที่ดินที่เป็นทรัพย์สินของรัฐด้วย เช่น ผู้เช่าที่ดินของรัฐ ก็จะมีภาระเสียภาษีตัวใหม่นี้  ความหมายของภาษีที่ดินจะรวมถึงที่ดินที่เป็นน้ำ ภูเขา  ดังนั้น สนามกอล์ฟจะเป็นเสมือนที่ดินด้วย

หลักการจัดเก็บภาษีจะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำหน้าที่ผู้จัดเก็บภาษีที่ดิน ไม่ใช่กรมสรรพากร  โดยกำหนดให้พนักงานสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เจ้าของที่ดินจะต้องอำนวยความสะดวกให้ หากขัดขืนจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท  อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรระวังหากไม่ให้ไม่ปฏิบัติตามกรณีการยื่น หรือแจ้งเอกสารที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอันเป็นเท็จ จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท

สำหรับการประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะพิจารณาตามสัดส่วนการใช้ประโยชน์จริง  กรณีอาคารพาณิชย์ 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นร้านขายของและชั้นบนเป็นที่อยู่อาศัย เจ้าหน้าที่จะประเมินพื้นที่ชั้นล่างเป็นพาณิชยกรรมจะเสียภาษีในส่วนของพาณิชยกรรม  ส่วนชั้นบนจะเสียภาษีในอัตราของที่อยู่อาศัย   กรณีผู้มีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ต่างเจ้าของกัน  คนที่เป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างจะเป็นคนเสียภาษีสิ่งปลูกสร้าง   และคนที่เป็นเจ้าของที่ดินก็จะเสียภาษีที่ดิน

ขณะเดียวกัน  ตามกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับนี้จะมีส่วนที่ยกเว้นในส่วนของ 50 ล้านบาทแรก ให้กับบ้านหลังหลัก แต่สำหรับผู้ที่มีชื่อเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างจะมีบ้านอยู่อาศัย แต่ที่ดินไม่ใช่ของเรา บ้านก็จะได้รับการยกเว้น  10 ล้านบาทแรก  และกรณีที่มีการค้างชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างก็ไม่สามารถทำการจดทะเบียนสิทธิ์ ทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ได้  หรือไม่อาจโอนขายได้ ดังนั้น ต้องทำให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อน

Q  :  การจัดแบ่งที่ดินและการเสียภาษีที่ดินเป็นอย่างไรบ้าง

A  :  ก็มีจะการแบ่งที่ดินออกเป็น ที่ดินรกร้างว่างเปล่า ก็จะเสียภาษีในอัตราสูงสุด รองลงมาเป็นพื้นที่พาณิชยกรรม ที่อยู่อาศัย และเกษตรกรรม ในส่วนเกษตรกรรมจะเสียภาษีอัตราต่ำที่สุด  ตามกฎหมายภาษีฯฉบับนี้จะกำหนดเพดานอัตราภาษีในส่วนของทิ่ดินพาณิชยกรรมเพดานภาษีสูงสุดอยู่ที่ 1.2 % คือ จ่ายภาษี ล้านละ 1.2 หมื่นบาท ที่อยู่อาศัยเพดานภาษีไม่เกิน 0.3 % หรือล้านละ 3 พันบาท เกษตรกรรมเพดานภาษีไม่เกิน 0.15% หรือล้านละ 1,500 บาท

แต่อย่างไรดี มีบทเฉพาะกาลกำหนดของกฎหมายฉบับนี้ มีการลดหย่อนภาษีให้ 2 ปีแรก ซึ่งเป็นส่วนที่ประชาชนควรจะทราบ  โดยกฎหมายจะมีผลบังคับใช้หลังวันที่ 1 มกราคม 2563  ยังมีช่วงยกเว้นในช่วง 2 ปีแรก  จะมีอัตราลดลง  เช่น กรณีของพาณิชยกรรม ซึ่งกำหนดภาษีสูงที่สุดถึง 50 ล้านบาทจะเสียภาษีอยู่ที่ 3% หรือ 50 ล้านบาทจะเสียภาษีอยู่ 1.5 แสนบาท  ส่วนที่ดินรกร้างว่างเปล่าจะเสียภาษีอยู่ที่ล้านละ 3 พันบาท ต่อปี  เช่นกรณีที่ดินรกร้างว่างเปล่า 50 ล้านบาท จะเสียภาษีประมาณ 1.5 แสนบาท แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้ก็จะเสียภาษีเพิ่มขึ้น 3% เพดานจะไม่เกิน 3%  ดังนั้น หากเราถือครองที่ดินรกร้างว่างเปล่าไว้สัก 10 ปี ภาษีจะพุ่งไปอยู่ที่ 6 แสนบาท

ประเภทที่ดินเกษตรกรรม กรณีมีมูลค่าสูงถึง 75 ล้านบาท เสียภาษีอยู่ที่ 0.01% กรณีที่ดินมีมูลค่า 50 ล้านบาทจะเสียภาษีปีละ 5 พันบาท แต่ในช่วง 3 ปีแรก ถ้าเป็นบุคคลธรรมถือครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใช้ประโยชน์ด้านเกษตรกรรม จะได้รับยกเว้นภาษี   แต่ถ้าพ้น 3 ปีไปแล้วจะเป็น 50 ล้านบาทแรกที่ได้รับยกเว้น นี่เป็นในส่วนที่ดินเกษตรกรรม

Q : สำหรับบ้านพักอาศัย มูลค่าบ้านหลักไม่เกินไม่เท่าใด ถึงได้รับการยกเว้น

A  :  ถ้าเป็นบ้านหลังหลักไม่ได้แปลว่า เป็นบ้านหลังแรก  บ้านหลังหลักเป็นบ้านที่เราใช้ชื่อลงไปในทะเบียนบ้าน  จะได้รับยกเว้น 50 ล้านบาท รวมถึงที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง  ส่วนบ้านหลักที่สอง จะเริ่มคิดตั้งแต่บาทแรก  อัตราภาษีตั้งแต่ 0.2% หรือล้านละ 200 บาท ถ้าบ้านมีราคา 50 ล้านบาทก็จะเสียภาษี 1 หมื่นบาท

Q : ถ้าเกิดนาย ก.เป็นเจ้าของที่พักอาศัยหลายหลัง  นาย ก.ควรจะบริหารจัดการอย่างไร

A  :  ก่อนอื่นพยายามใช้สมาชิกในครอบครัวให้เป็นประโยชน์ที่สุด  อยากแนะนำให้ลงชื่อของบุตรเป็นเจ้าของบ้านแต่ละหลัง  แต่ละคนก็จะได้รับยกเว้นภาษีในส่วนของกรณีบ้านหลังละ  20 ล้าน 30 ล้าน เป็นต้น หรือกรณีนาย ก. มีความกังวลว่าลูกจะขายทรัพย์สิน ก็อาจจะจดทะเบียนเป็นสิทธิอาศัย หรือสิทธิเก็บกินก็ได้  อยากแนะนำให้เป็นสิทธิเก็บกิน เพื่อให้ตัวบ้านสามารถไปให้เช่าได้

Q : กรณีที่ดินรกล้างว่างเปล่าจะบริหารจัดการอย่างไรดี

A  :   ในช่วง 3 ปีแรกจะมีการบรรเทาภาษี   คือ 2 ปียังมีอัตราภาษีไม่สูงมาก  ถ้าเรายังอยากเก็บที่ดินนี้เอาไว้ก็ยังมีช่องทาง ดำเนินการวางแผนก็คือ  อันดับแรกสามารถทำเป็นที่อยู่อาศัยได้ ก็จะเซฟอัตราภาษีไปได้มากทีเดียว  อันดับที่สอง ใช้ทำเป็นที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม  เช่นทำนา ทำไร เลี้ยงสัตว์น้ำ กรณีนี้ก็ต้องดูกฎหมายลูกที่จะออกมากำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าเป็นที่ดินเกษตรกรรม

ทั้งหมดนี้จะใคร่อยากแนะนำว่า  ถ้าที่ดินที่เราไม่ใช้ประโยชน์ในอนาคตแล้ว ควรพิจารณาขายที่ดิน เพราะหลังจากตัวกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ แน่นอนว่าซับพลายจะพ้นพอสมควร เพราะว่า ประชาชนอาจไม่มีกำลังเสียภาษีในส่วนนี้ แต่อาจจะยังมีประชาชนที่พอมีกำลังซื้ออยู่มาก เมื่อกฎหมายมีผลบังคับจะมีที่ดินให้เลือกซื้อกันอีกเป็นจำนวนมาก