สแกนเนียลิสซิ่งฯ ชูกลยุทธ์ “ยืดหยุ่น” เจาะสินเชื่อรถใหญ่

0
656

ย้อนหลังกลับไปสู่ห้วงเวลารุ่อันรุ่งโรจน์ของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ที่มียอดขายรถทะยานสูงแตะ 1 ล้านคันต่อปี ไม่ใช่แค่เพียงค่ายรถต่างๆเท่านั้นที่หน้าชื่นตาบานกับผลกำไรพอกพูนขึ้นเป็นกอบเป็นกำ ภาคธุรกิจไฟแนนซ์ก็ไม่น้อยหน้าเช่นกัน ยิ่งยอดขายรถทะลุทะลวงมากขึ้นเท่าไหร่ สินเชื่อรถยนต์ก็ยิ่งเบ่งบานตะไทเช่นเดียวกัน

แต่ฉับพลันที่โดนพิษเศรษฐกิจขาลงเล่นงาน ยอดขายรถของแต่ละค่ายก็ออกอาการ “สาละวันเตี้ยลง” ตามงวงล้อเศรษฐกิจ อีกฟากฝั่งธุรกิจไฟแนนซ์และห่วงโซ่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องก็พลอยติดร่างแหอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขณะที่สินเชื่อรถเพื่อการพาณิชย์ขนาดใหญ่ก็ไม่ต่างกัน เมื่อก่อนไฟแนนซ์ของแบงก์พาณิชย์ทั่วไปอาจมองข้ามหัวสินเชื่อเซ็กเม้นต์นี้ไป เพราะมัวแต่มุ่งเน้นตลาดเล็กเป็นหลัก แต่พลันที่ตลาดรถใหญ่ขยายตัวมากยิ่งขึ้น ผนวกกับตลาดรถเล็กถึงจุดพีคสุด ส่งผลแต่ละไฟแนนซ์ก็เริ่มเบนเข็มทิศเจาะตลาดรถใหญ่มากขึ้น ฟากฝั่งค่ายรถต่างๆก็แก้ลำด้วยการเปิดบริษัทไฟแนนซ์เป็นแบรนด์ของตัวเอง เพื่อต่อยอดธุรกิจและเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของลูกค้า

 

%e0%b8%84%e0%b8%b8%e0%b8%93%e0%b8%aa%e0%b8%96%e0%b8%b2%e0%b8%9e%e0%b8%a3-%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%93%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%9a%e0%b8%b9%e0%b8%a5%e0%b8%a2%e0%b9%8cช่นเดียวกับ “ค่ายสแกนเนีย” ที่ถือเป็นเบริษัทแรกของไทยที่มีการเปิดบริการสินเชื่อเช่าซื้อรถขนส่งเพื่อการพาณิชย์ขนาดใหญ่ แต่ทว่า กลยุทธ์ในการทำตลาด จุดเด่น กลุ่มเป้าหมาย และโปรโมชั่นจะเป็นอย่างไรนั้น “นายสถาพร  กรรณพิบูลย์” ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท สแกนเนีย สยาม ลิสซิ่ง จำกัด จะเป็นผู้ไขลานประเด็นดังกล่าว

สืบเนื่องจาก สแกนเนีย สวีเดน ได้ประกาศชัดเจนที่จะเติมเต็มศักยภาพในการต่อยอดธุรกิจในตลาดรถใหญ่ในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนอย่างจริงจัง ทำให้เกิดบริการสินเชื่อเช่าซื้อรถใหญ่ ซึ่งเป็นการขยายการบริการด้านสินเชื่อของสแกนเนีย เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าในประเทศและเป็นบริษัทแรกของไทยที่มีการเปิดบริการสินเชื่อเช่าซื้อรถใหญ่ โดยบริษัท สแกนเนีย สยาม ลิสซิ่ง จำกัด ก่อตั้งมาแต่ปี 2008 แต่ก่อนเราขึ้นตรงกับขึ้นตรงกับสแกนเนียไฟแนนซ์สวีเดน แต่พอเศรษฐกิจเอเชียเติบโตและขยายตัวไปมากยิ่งขึ้น ประกอบกับเพื่อเป็นการปลดล็อคความคล่องตัวในการบริหารจัดการด้านความเหลื่อมล้ำเรื่องเวลาระหว่างยุโรปกับเอเชีย ทำให้บริษัทแม่ที่สวีเดนมาจัดตั้งเป็นเป็นสแกนเนียไฟแนนซ์เอเชียที่ประเทศมาเลเซีย ซึ่งดูตลาดใน 6 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย ไต้หวัน ฮ่องกง เกาหลีใต้ จีน และประเทศไทย

ปรารภแรกที่ “สถาพร  กรรณพิบูลย์” ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ Logistics Time และระบุอีกว่าพัฒนาการสินเชื่อรถใหญ่เมืองไทยไปไกลมาก เดิมทีเกือบทุกค่ายรถก็จะจัดไฟแนนซ์ที่เป็นแบรนด์ของตัวเองให้กับลูกค้าโดยตรง แต่ระยะต่อมาตลาดรถใหญ่ขยายตัวมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากไฟแนนซ์ในแต่ละค่ายรถที่มีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ธนาคารพาณิชย์ต่างๆก็เบนเข็มทิศทางการตลาดเจาะกลุ่มตลาดรถใหญ่มากยิ่งขึ้น สืบเนื่องแต่เดิมแบงก์เน้นเจาะกลุ่มตลาดรถเล็กเป็นหลัก แต่พอตลาดรถเล็กเข้าสู่จุดที่อิ่มตัว ทำให้ธนาคารเริ่มเปลี่ยนทิศทางขยายเจาะกลุ่มตลาดรถใหญ่เพิ่มมากขึ้น

“ต้องยอมรับว่าแบงก์ข้างนอกมีความพร้อมมากกว่า ทำให้เขาเลือกเฉพาะลูกค้าชั้นดี เคสไหนที่ไม่แน่ใจหรืออาจเกิดความเสี่ยงก็ไม่ยอมปล่อย แต่ในส่วนของสแกนเนีย ซึ่งเราเน้นดูแลลูกค้าที่ซื้อรถสแกนเนียของเราเป็นหลัก เคสไหนที่ความเสี่ยงพอรับได้ เราก็จะยอมปล่อย ไม่ได้หมายความว่าลูกค้าต้องมีโปรไฟล์ธุรกิจที่ดีเลิศ โดยเราจะดูว่าลูกค้ามีพื้นฐานประสบการณ์การทำธุรกิจและมีลูกค้าอยู่ในมือชัดเจนมากน้อยแค่ไหน ขณะที่แบงก์จะดูที่เครดิตลูกค้าเป็นหลัก อีกแง่มุมหนึ่งแบงก์เขาจะขอดูที่ดิน หรือหลักทรัพย์อื่นๆ เพื่อเป็นหลักประกัน แต่เรามีเพียงตัวรถอย่างเดียวเป็นหลักประกัน โดยมาตรฐานเงินดาวน์ของเราขั้นต่ำอยู่ 10% ระยะเวลาการผ่อน 5 ปี ส่วนลูกค้ารายใหญ่จะพิจารณาเป็นกรณีไป แต่ก็ต้องขึ้นกับช่วงจังหวะของแคมเปญอีกด้วย  

นอกจากนี้ นายสถาพร ยังกล่าวอีกว่าสแกนเนียมีจุดเข็งตรงที่เรามีแบรนด์ของตัวเอง อนุมัติไว และบริการด้านการเงินที่ยืดหยุ่นกับธุรกิจของลูกค้า ถึงวันนี้เราปล่อยพอร์ตสินเชื่อไปแล้วกว่า 350 ล้านบาท ส่วนหนี้ NPL อยู่ที่ 2.5 % เท่านั้น ตั้งเป้าการปล่อยสินเชื่อ 50 % ของยอดขายรถสแกนเนียทั้งรถบรรทุกและรถโดยสาร

“เรามีความเชี่ยวชาญในการจัดการเงินทุนที่ยืดหยุ่น และมุ่งเน้นการให้บริการที่เหมาะสมกับความต้องการของธุรกิจขนส่ง อีกทั้งยังขยายความคุ้มครองทางด้านประกันภัยสำหรับรถสแกนเนีย ตัวถัง หางพ่วง อุปกรณ์ติดตั้งสำหรับเครื่องยนต์และส่วนดัดแปลงอื่นๆของรถ เราพร้อมมอบข้อเสนอที่ดีที่สุด ซึ่งต่างจากธนาคารหรือบริษัทประกันภัยแบบดั้งเดิม เพราะเราเข้าใจถึงความต้องการและการใช้งานเกี่ยวกับยานพาหนะของลูกค้าอย่างแท้จริง ด้วยข้อเสนอที่ออกแบบได้อย่างเหมาะสมดุลกับธุรกิจของลูกค้า ทำให้คาดการณ์ต้นทุนและบริหารความเสี่ยงล่วงหน้าไปพร้อมกันตลอดอายุการใช้งานยานพาหนะของลูกค้า เราพร้อมดูแลลูกค้าทุกอย่างแม้แต่เรื่องเอกสารที่ซับซ้อนเพื่อให้ลูกค้าพร้อมกับการสร้างธุรกิจให้ก้าวไกล”

อย่างไรก็ดี คุณสถาพร สรุปปิดท้ายว่าตอนนี้เรามีแคมเปญสำหรับรถบัส ภายใต้ชื่อBalloon Payment ซึ่งเป็นทางเลือกของลูกค้าในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว โดยระยะแรกลูกค้าจะจ่ายน้อยมากที่ 2-3 % เท่านั้น แต่หลังจากนั้นไปอีก 3-4 ปี ซึ่งเวลานั้นเราคาดว่าเศรษฐกิจจะพลิกฟื้นดีขึ้น จากนั้นลูกค้าค่อยไปจ่ายก้อนใหญ่อีกที่ 20-30 % ทั้งนี้ แคมเปญนี้เป็นการตอบโจทย์ให้ผู้ประกอบการได้เป็นเจ้าของรถได้ง่ายขึ้น