เอสซีจี คว้ารางวัล Thailand Green and Smart Mining Award 2019 ปักหมุด ..ต้นแบบการบริหารจัดการเหมือง

0
125

            ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่รับผิดชอบต่อสังคม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการใช้ทรัพยากรคุ้มค่าสูงสุด ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี คว้ารางวัลแห่งความภูมิใจ “Thailand Green and Smart Mining Award 2019”   แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยการนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) หรือ การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ และคุ้มค่าสูงสุดมาใช้ในทุกขั้นตอนของการบริหารจัดการเหมือง เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชนอย่างยั่งยืน ภายใต้สิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ที่ดีของสังคมไทย แสดงถึงความสำเร็จในการบริหารจัดการทำเหมืองที่รับผิดชอบต่อสังคม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

             หากย้อนปูมหลังถึงที่มาที่ไปในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการของเอสซีจี   อะไรเป็นกุญแจดอกสำคัญที่นำไปสู่ผลสำเร็จคว้ารางวัล “ Thailand Green and Smart Mining Award 2019” กระทั่งตอบโจทย์ธุรกิจสมัยใหม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่บต้องยอมรับว่าทั่วโลกล้วนตราหนักและให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ โดยหยิบยกขึ้นเป็นประเด็นของการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศไปแล้ว    

                ชนะ  ภูมี Vice President – Cement and Construction Solution Business ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างบริษัท  เอสซีจี  จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยว่า จากเจตนารมณ์ของธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างเอสซีจีที่มุ่งประกอบกิจการเหมืองหินปูนที่รับผิดชอบต่อสังคมและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม    เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ส่งผลให้ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี ได้รับรางวัล Thailand Green and Smart Mining Award 2019 จากกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

               “ นับเป็นต้นแบบ (Best Practice) ในการบริหารจัดการเหมืองในกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) อีกทั้งเหมืองหินปูนทุกเหมืองของเอสซีจียังได้รับ EIA Awards ระดับยอดเยี่ยม และ Green Mining Awards มาอย่างต่อเนื่อง อันเป็นไปตามเกณฑ์การรับรางวัล Thailand Green and Smart Mining ที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” 
             สำหรับพิธีมอบรางวัลดังกล่าวได้รับเกียรติจาก พล เอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้มอบรางวัลเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา   ซึ่งจัดขึ้นในงาน “มิติใหม่เหมืองแร่ไทย ครั้งที่ 2 : ก้าวใหม่จากนโยบายสู่การปฏิบัติ” ภายในงานยังจัดให้มีการเสวนาในหัวข้อ “ก้าวใหม่ของเหมืองแร่ไทยสู่ Green and Smart Mining” โดยผู้บริหารเอสซีจี ซิเมนต์ ได้ร่วมเสวนา   เพื่อแสดงวิสัยทัศน์ในการทำเหมืองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูเหมือง การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy

               นอกจากนี้ ในงานยังมีพิธีประกาศเจตนารมณ์การเป็นเหมืองแร่ที่มีธรรมาภิบาล และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของกิจการเหมืองแร่ไทย ครั้งที่ 2 ด้วย

ยึดตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน

               ชนะ กล่าวว่า   ตลอดระยะเวลาที่ประกอบกิจการ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี ตระหนักและให้ความสำคัญในการดำเนินธุรกิจด้วยแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยการนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ของเอสซีจี อีกทั้ง ได้ให้ความสำคัญกับการทำเหมืองหินปูนให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมน้อยที่สุด หลักการสำคัญ คือการปฏิบัติงานตามการประเมินวงจรชีวิตของเหมือง ซึ่งเป็นการประเมินผลกระทบครอบคลุมในทุกขั้นตอนของการทำเหมือง และหินปูนที่ผลิตจากเหมืองนำไปใช้ประโยชน์ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน รวมทั้ง ดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่กำหนดในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง”
             นอกจากนี้ ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี ยังยึดหลักในการบริหารจัดการเหมืองตามนโยบายของเอสซีจีอย่างเคร่งครัด โดยใช้เครื่องจักรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ออกแบบเหมืองเพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมแบบ Semi-Open Cut Mining ซึ่งหากมองจากภายนอก ภูเขาจะยังคงทัศนียภาพเดิมตลอดไป และมีการฟื้นฟูสภาพพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพโดยจัดตั้งคณะทำงานฟื้นฟูเหมืองเพื่อสานต่อภารกิจฟื้นฟูป่า มีการพัฒนาความองค์ความรู้เรื่องการฟื้นฟูเหมืองด้วยตนเองจนเกิดเป็นคู่มือการฟื้นฟูเหมืองเพื่อเผยแพร่ความรู้ให้ผู้ที่สนใจ

                รวมทั้ง  ยกระดับการดำเนินงานฟื้นฟูเหมืองจนเกิดผลสำเร็จด้านความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่เหมืองหินปูนอย่างน่าพอใจ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนชนิดพันธุ์ไม้และสัตว์ป่าที่เข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ฟื้นฟู เพิ่มความสมบูรณ์ในระบบนิเวศเขาหินปูนอย่างยั่งยืน