คมนาคมแย้มหลังปิดพระรามสี่โมเดล ดึงระบบ AI ควบคุมจราจร

0
86

ภายหลังจากกระทรวงคมนาคมเปิดโครงการพัฒนาระบบการจัดการจราจรบนถนนพระรามที่ 4 หรือโครงการพระราม 4 โมเดล เมื่อวันที่ 18 พ.ย.62 หรือในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา เพื่อการกำหนดรูปแบบการบริหารจัดการแก้ปัญหาจราจรที่ยั่งยืน

ล่าสุดวันนี้ (25 เม.ย.66) นายมนตรี เดชาสกุลสม ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานปิดโครงการพระรามสี่โมเดล (RAMA4 Modal-Traffic Data for Tomorrow) โดยนายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม มอบหมายให้ นายมนตรี เดชาสกุลสม ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน “ปิดโครงการพระรามสี่โมเดล (RAMA4 Modal-Traffic Data for Tomorrow) “ ร่วมกับนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

โดยมี นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร พลตำรวจตรี จิรสันต์ แก้วแสงเอก รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล รองศาสตราจารย์ จิตติศักดิ์ ธรรมาภรณ์พิลาศ รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้แทนสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมพิธี ณ โรงแรม ดิ โอกุระ เพรสทีจ กรุงเทพฯ

นายมนตรี กล่าวว่า โครงการพระรามสี่โมเดลเป็นโครงการที่ขยายผลจากความสำเร็จของโครงการสาทรโมเดล ที่ได้ดำเนินการจัดช่องจราจรพิเศษ จัดการจราจรหน้าโรงเรียน บริหารควบคุมสัญญาณไฟจราจร และมาตรการอื่น ๆ โดยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมได้พัฒนาการบริหารจัดการจราจรที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมทางหลวง (ทล.) พัฒนาและเริ่มใช้ระบบไฟสัญญาณแบบแปรผันตามปริมาณจราจรแบบปรับเปลี่ยนอัตโนมัติ (Adaptive Signal Control) ที่ประมวลรอบไฟสัญญาณแบบอัตโนมัติตามปริมาณรถในแต่ละทิศทาง เพื่อกำหนดไฟเขียว ไฟเหลือง และไฟแดงให้เหมาะสมกับปริมาณจราจรในช่วงนั้น ๆ โดยใช้ CCTV หรือ Radar ตรวจจับยานพาหนะ

ปัจจุบันได้ปรับปรุงให้สามารถรองรับระบบไฟสัญญาณสำหรับคนเดินเท้าในบริเวณทางแยกที่ใช้ระบบไฟสัญญาณแบบแปรผันตามปริมาณจราจรแบบปรับเปลี่ยนอัตโนมัติร่วมด้วย นำร่องติดตั้งระบบตรวจจับการฝ่าฝืนสัญญาณไฟแดง (Red Light Violation Camera) นำร่องเทคโนโลยี LiDAR (Light Detection and Ranging) เพื่อใช้คำนวณและติดตามยวดยาน และการตรวจวัดสภาพการจราจรแบบ Real Time เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประมวลผล นอกจากนี้ ได้จัดตั้งศูนย์บริหารจัดการจราจรและอุบัติเหตุ (Highway Traffic Operations Center: HTOC) เพื่อเป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการจราจรและอุบัติเหตุบนโครงข่ายทางหลวง โดยนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการจราจร เพื่อใช้ในการวิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรและอุบัติเหตุ รวมถึงการส่งเสริมข้อมูลที่สังเคราะห์สู่ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในหลายมิติและช่องทาง นอกจากนี้ ได้สนับสนุนการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุบนทางหลวง

ในระยะต่อไป ทล. อยู่ระหว่างการศึกษาแนวคิดต่อยอดการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ร่วมกับเทคโนโลยียานยนต์ไร้คนขับ (Autonomous Vehicles) สำหรับการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างรถยนต์รุ่นใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการจราจรบริเวณทางแยกและทางสายหลักเพื่อลดระยะเวลาติดขัดให้น้อยลง รวมถึงการส่งเสริมความปลอดภัยกับผู้ใช้รถใช้ถนนด้วยเทคโนโลยี

นายมนตรี เดชาสกุลสม กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงคมนาคมยินดีที่ได้ร่วมสนับสนุนการดำเนินงานของโครงการพระรามสี่โมเดล ซึ่งเป็นโครงการนำร่องในการนำวิธีการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่จากหลากหลายแหล่งข้อมูลมายกระดับการบริหารจัดการจราจรให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น และแสดงให้เห็นว่าความร่วมมือประสานระหว่างหน่วยงาน ทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูล การสร้างการมีส่วนร่วมในการทำงาน และแนวทาง Socio Engineering Approach ล้วนแต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการจราจรได้เป็นอย่างดี และหวังว่าจะสามารถนำแนวทางบริหารจัดการข้อมูลของพระรามสี่โมเดลมาบูรณาการร่วมกับข้อมูลในระบบที่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมมีอยู่ ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาความรู้ในการนำวิทยาการใหม่ ๆ