คลี่แผนร้อน “ปฏิรูปพลังงาน” ….เบื้องลึกบอนไซ ปตท.-กฟผ.

0
402
ยังคงเป็นประเด็นสุดร้อนตลอดห้วงขวบเดือนที่ผ่านมา 
กับเรื่องที่มีรายงานที่อ้างเป็นผลศึกษาของ “คณะกรรมการปฏิรูปแห่งชาติด้านพลังงาน” ที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)แต่งตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.แผนและขั้นตอนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 ที่มีเนื้อหาพุ่งเป้าไปสู่การลดบทบาทการผูกขาดการดำเนินธุรกิจของบริษัทปตท.จำกัด(มหาชน)และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) โผล่ออกมาจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 7 พ.ย.2560 แบบไม่มีปี่มีขลุ่ยและไม่รู้ว่าหน่วยงานใดเป็นผู้นำเสนอ   
ก่อนที่ นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว.กระทรวงพลังงานจะออกมายอมรับในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมาว่าได้ส่งเอกสารดังกล่าวไปยัง ปตท.และกฟผ.เพื่อศึกษาบทบาทผลกระทบที่จะมีต่อองค์กรแล้ว โดยให้ดำเนินการศึกษาและตอบกลับภายในวันที่ 31 มี.ค.2561 นี้  พร้อมทั้งยืนยัน แนวทางการบริหารจัดการด้านพลังงานตามรายงานดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะทำให้ราคาพลังงานโดยเฉพาะค่าไฟฟ้าต่ำลง
หลายฝ่ายแสดงความกังวลว่า แนวทางปฏิรูปพลังงานที่มีการแจกจ่ายในที่ประชุม ครม.นัดดังกล่าว และกำลังถูกขับเคลื่อนอยู่เวลานี้ ใช่ยุทธศาสตร์ชาติที่ทุกฝ่ายกำลังเพรียกหาแน่หรือ? การปฏิรูปนโยบายด้านพลังงานของชาติที่ถือเป็นกลไกสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จำเป็นต้องลดบทบาทการดำเนินธุรกิจของกฟผ.และปตท. ถึงขั้นจะต้อง “บอนไซ” องค์กรลงด้วยกระน้ันหรือ?
เปิดรายงานร้อน“ปฏิรูปเครื่องพลังงาน”  
ในรายงานที่อ้างว่าเป็นผลศึกษาของ“คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน” ดังกล่าว ระบุว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา การจัดหาแหล่งพลังงานไฟฟ้าไม่ได้คำนึงถึงภาระต้นทุนค่าไฟฟ้าของประเทศ ดังจะเห็นได้จากการจัดหาไฟฟ้าพลังงานชีวมวลและแสงอาทิตย์ที่มีต้นทุนสูงลิ่ว หรือความพยายามนำเข้าไฟฟ้าราคาแพงจากเพื่อนบ้านอย่างโรงไฟฟ้าสตรึงมนัม เกาะกง และพยายามส่งเสริมให้กฟผ.นำเข้าแอลเอ็นจีเองอีก 1.5 ล้านตันเท่ากับส่งเสริมการผูกขาดกลายเป็นภาระของประเทศ
นอกจากนี้ ยังมีการอนุญาตให้ปตท.สร้างคลัง LNG หรือทำสัญญาจัดหาและนำเข้า LNG ระยะยาวโดยไม่มีการแข่งขัน หรืออนุมัติให้ กฟผ.เข้้าไปร่วมลงทุนโครงการชีวมวลที่จะเป็นการแย่งซื้อเชื้อเพลิงจากเอกชน
ขณะที่ต้นทุนด้านพลังงานโดยเฉพาะค่าไฟฟ้านั้นกว่า 70% ถูกผูกขาดโดยปตท.ที่เป็นผู้นำเข้าก๊าซธรรมชาติ โดยที่กระทรวงพลังงานและคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.)ไม่ได้ทำหน้าที่เปิดเสรีอย่างแท้จริง!
นอกจากนี้ยังมองว่าการลงทุนต่าง ๆ ของกฟผ.ทั้งโรงไฟฟ้าและระบบสายส่ง ล้วนเป็นไปในลักษณะ Cost Plus ผลักภาระไปให้ภาคอุตสาหกรรมและประชาชนแบกรับ ส่งผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม (รายละเอียดตามตาราง)
ขณะที่แนวทางการบริหารจัดการด้านพลังงานนั้นได้ระบุให้ กฟผ.หยุดรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนใหม่ๆ และควรยกเลิกการก่อสร้างระบบสายส่งไฟฟ้าที่จะรองรับโรงไฟฟ้ากระบี่และเทพาที่ต้องลงทุนอีกกว่า 60,000 ล้านบาท รวมทั้งระงับการดำเนินโครงการชีวมวลของกฟผ.ทั้งหมด เพื่อไม่ไปแข่งขันกับเอกชนที่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่แล้ว
ที่สำคัญยังมีการเสนอให้แยกกิจการผลิตไฟฟ้า และระบบสายส่งออกจากกันเพื่อลดบทบาทผูกขาดของ กฟผ.ลงอีกด้วย!
พลังงานปัดวุ่นลดบทบาท “กฟผ.-ปตท.”
ขณะที่ นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว.พลังงาน ที่ก่อนหน้าได้แถลงข่าวยอมรับว่า ได้ส่งรายงานผลการศึกษาฉบับดังกล่าวไปยัง ปตท.และกฟผ.เพื่อให้ศึกษาผลกระทบและแสดงความคิดเห็นกลับมายังกระทรวงพลังงานภายในวันที่ 31 มี.ค.61 นี้ โดยยืนยันว่าแนวทางการบริหารจัดการด้านพลังงานตามรายงานดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะทำให้ราคาพลังงานโดยเฉพาะค่าไฟฟ้าต่ำลง 
แต่ในการแถลงข่าวครั้งล่าสุด รมว.พลังงานยืนยันว่า รัฐบาลไม่มีนโยบายลดบทบาทสองหน่วยงานรัฐวิสาหกิจทั้ง 2แห่ง ตรงกันข้ามรัฐยังย้ำให้ร่วมกันทำหน้าที่รักษาและเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลั งงานของประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการดำเนินงานด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานที่สำคัญ ได้แก่ท่อส่งก๊าซธรรมชาติ  สายส่งไฟฟ้า รวมถึงสถานีสถานีรับก๊ าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) และโรงไฟฟ้าหลักๆ ที่จำเป็นในการสร้างเสถี ยรภาพของระบบไฟฟ้าของประเทศที่ยังคงอยู่ภายใต้การบริหารจัดการการใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานอย่างเป็นธรรม
ทั้งนี้บทบาทการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าหลักที่จำเป็นยังเป็นหน้าที่ของ กฟผ. และการจัดหาก๊าซธรรมชาติที่ จำเป็นก็ยังเป็นหน้าที่หลักของปตท.ตามผลการศึกษาที่เหมาะสม ส่วนการผลิตไฟฟ้าและการจัดหาก๊าซธรรมชาติที่นอกเหนือจากที่จำเป็น เพื่อประกันความเสี่ยงและสร้างความมั่นคงเพิ่มเติม จะเปิดให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในระบบที่มีการแข่งขัน โดยให้ทั้ง 2 หน่วยงาน ปตท. และ กฟผ.สามารถร่วมแข่งขันด้วยได้ในพื้นฐานเท่าเทียมกัน
สำหรับส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ เช่น สถานีแอลเอ็นจีที่จะเป็นการลงทุ นของ ปตท. และ กฟผ. หรือโดยภาคเอกชนรายอื่นๆ ต้องเป็นการพิจารณาอย่างรอบคอบ  เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และไม่ให้เกิ ดผลกระทบต่อความมั่นคงด้านพลั งงานของประเทศ ขณะเดียวกันการบริหารจั ดการภายในองค์กรของ กฟผ. และ ปตท. เพื่อรองรับบทบาทหน้าที่ด้านความมั่นคงของระบบพลังงานนของประเทศจะมีการปรับปรุ งเปลี่ยนแปลงอย่างไร ขึ้นอยู่กับทั้ง 2 หน่วยงาน
 
คณะกรรมการปฏิรูปชิ่งหนีเผือกร้อน      
ส่วน นายพรชัย รุจิประภา ประธานกรรมการปฏิรูปประเทศ ด้านพลังงาน เผยว่า คณะกรรมการฯด้านพลังงานได้จัดทำแผนแม่บทแล้วเสร็จแล้ว และจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ด้านเศรษฐกิจในภาพรวม เพื่อจัดทำแผนในภาพรวมพร้อมกับคณะกรรมการปฏิรูปในด้านต่างๆ ในวันที่ 22 ม.ค.นี้ และคาดว่าที่ประชุมจะพิจารณาแล้วเสร็จในวันที่ 24 ม.ค. จากนั้นจะจัดส่งให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ20 ปีเพื่อนำไปจัดทำข้อสรุปในขั้นตอนสุดท้ายในเดือน ก.พ. ก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)ในเดือน มี.ค. เพื่อเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)พิจารณาก่อนประกาศใช้เพื่อเป็นแผนปฏิรูปประเทศไทยใน หรือยุทธศาสตร์ชาติในเดือน เม.ย.นี้
สาระสำคัญของแนวทางการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน(โรดแมป)ในระยะ  5 ปี(ปี 2561 – 2565) จะดำเนินการปฏิรูปใน 6 ด้านครอบคลุม 17 ประเด็นซึ่งมั่นใจว่าแนวทางการปฏิรูป ฯจะสร้างผลประโยชน์ด้านพลังงาน ที่ประชาชนและประเทศจะได้รับอย่างแท้จริง ทั้ง 6 ด้าน มีดังนี้ 
1.สร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการพลังงานของประเทศ ปฏิรูปใน 3 ประเด็น ได้แก่  การปฏิรูปองค์กรด้านพลังงานเพื่อให้มีองค์กรที่สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ , พัฒนาศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติเพื่อให้มีฐานข้อมูลด้านพลังงานที่ทันสมัย ถูกต้อง ได้รับความเชื่อถือ และ การมีธรรมาภิบาลและมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชนและผู้ประกอบการอย่างเท่าเทียมกันเพื่อนำไปสู่การลดข้อขัดแย้งในสังคมและนำไปสู่การยอมรับของประชาชนในนโยบายพลังงานและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานของประเทศ
2. พัฒนาด้านไฟฟ้าเพื่อรักษาเสถียรภาพและสร้างความมั่นคงพลังงานประเทศ ปฏิรูปใน 3 ประเด็น คือการ ปรับแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าใหม่ที่คํานึงถึงความสมดุลรายภาค และเพิ่มความมั่นคงของระบบไฟฟ้าสำหรับจุดที่มีความเสี่ยงและมีความสำคัญต่อประเทศ ,ส่งเสริมการแข่งขันในกิจการไฟฟ้า และส่งเสริมกิจการไฟฟ้าเสรีที่ใช้พลังงานทดแทนที่ผลิตและซื้อขายไฟฟ้ากันเองภายในชุมชน  และ  ปรับโครงสร้างการบริหารกิจการไฟฟ้าโดยบูรณาการหน่วยงานกิจการไฟฟ้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการไฟฟ้าและการลงทุนของประเทศ
3. ด้านปิโตรเลียมและปิโตรเคมีมุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติและสร้างฐานเศรษฐกิจใหม่จากปิโตรเคมี ปฏิรูปใน 2 ประเด็น อาทิ ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติ โดยสร้างโอกาสให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้า LNG ของภูมิภาคและส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติและ การพัฒนาปิโตรเคมี ระยะที่ 4  เพื่อสร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีจากฐานการผลิตปัจจุบันในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก  
“ผมเห็นว่าประเทศไทยกินบุญเก่าหมดแล้วคือผลประโยชน์ที่ได้จากโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกหรืออีสเทิร์นซีบอร์ดดังนั้นจึงต้องสร้างบุญใหม่เพื่อประโยชน์แห่งอนาคตคือโครงการปิโตรเคมีระยะที่4 ที่หากเกิดขึ้นสำเร็จจะก่อให้เกิดการลงทุนมูลค่า 300,000 ล้านบาทเพื่อเป็นการต่อยอดให้กับอุตสหากรรมทุกประเภท”
4. การสนับสนุนพลังงานทดแทนเพื่อส่งเสริมการแข่งขันและสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ปฏิรูปใน  4 ประเด็น คือการ ปฏิรูประบบบริหารจัดการเชื้อเพลิงไม้โตเร็วสำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวล , ส่งเสริมการนำขยะไปเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้า , ส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์รูฟอย่างเสรี และ (4) ปฏิรูปโครงสร้างการใช้พลังงานภาคขนส่งเพื่อสร้างกรอบและโครงสร้างการใช้พลังงานภาคขนส่งที่เหมาะสมกับประเทศ อันนำไปสู่ การกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องทั้งด้านเกษตร การลงทุนอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ โรงกลั่น และยานยนต์  
5. อนุรักษ์และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุนพลังงานของประเทศ ปฏิรูป อาทิ การ ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในกลุ่มอุตสาหกรรม, การใช้ข้อบัญญัติเกณฑ์มาตรฐานอาคารด้านพลังงาน  6. กำหนดทิศทางการพัฒนา การลงทุน และการใช้เทคโนโลยีใหม่ในการพัฒนาด้านพลังงานของประเทศ ปฏิรูปใน 2 ประเด็นคือ  การส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย และ การส่งเสริมเทคโนโลยีระบบการกักเก็บพลังงาน
 
บทสรุปแห่งความย้อนแย้ง
สำหรับ Logistics Tims แล้ว หากทุกฝ่ายจะได้ย้อนกลับไปศึกษาเนื้อหาในรายงานของคณะกรรมการปฏิรูปฯ ที่ระบุมูลเหตุที่ต้อง “ยกเครื่อง” ปฏิรูปนโยบายด้านพลังงานของประเทศ โดยระบุว่า เพราะการจัดหาแหล่งพลังงานไฟฟ้าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ไม่ได้คำนึงถึงภาระต้นทุนค่าไฟฟ้าของประเทศ ดังจะเห็นได้จากการจัดหาไฟฟ้าพลังงานชีวมวลและแสงอาทิตย์ที่มีต้นทุนสูงลิ่ว หรือความพยายามนำเข้าไฟฟ้าราคาแพงจากเพื่อนบ้าน อย่างโรงไฟฟ้าสตรึงมนัม เกาะกงและพยายามส่งเสริมให้กฟผ.นำเข้าแอลเอ็นจีเองอีก 1.5 ล้านตันเท่ากับส่งเสริมการผูกขาด กลายเป็นภาระของประเทศ 
คำถามก็คือ ใครหรือเป็นผู้นำเสนอนโยบายบริหารพลังงานของประเทศอันแสนจะ“บิดเบี้ยว” ข้างต้น โดยเฉพาะความพยายามจัดซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าสตรึงมนัม เกาะกงกว่า 2,400 เมกะวัตต์ไปถึง 50 ปีที่อ้างเพื่อรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษ “อีอีซี” ในราคาแพงลิบลิ่วถึงหน่วยละ10 บาทเศษ แถมยังลากเอากฟผ. ให้ต้องสร้างสายส่งอีกร่วมแสนล้านไปด้วยอีก
ทั้งหลายทั้งปวงก็ล้วนเป็นการ “ชงเอง-ตบเอง” โดยรัฐมนตรีพลังงานในรัฐบาลคสช.นั่นแหล่ะหาใช่ใครอื่น จะโทษเป็นผลงาน “สุดอัปยศ” ของนักการเมืองในอดีตหรือ? ก็ในเมื่อรายงานเองระบุชัดทั้งหลายทั้งปวงล้วนเป็นผลงานที่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ที่ล้วนอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาลคสช.ชุดนี้!
มันสะท้อนให้เห็นว่าแม้แต่คณะกรรมการปฏิรูปฯที่คสช.ตั้งขึ้นมายังทนความ “อดสู” การดำเนินนโยบายด้านพลังงานของประเทศไม่ได้ จนถึงขั้นจัดทำรายงาน“ตราหน้า”ผลงานรัฐมนตรีพลังงานของรัฐบาลตนเองหรือไม่! 
ยิ่งได้พิจารณาเนื้อหาของรายงานฉบับดังกล่าว เรายิ่งไม่อยากจะเชื่อว่านี่คือรายงานศึกษาแนวนโยบายการบริหารจัดการพลังงานของประเทศในระยะยาวที่มาจากมันสมองของผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น“กูรู”ที่ล้วนคว่ำหวอดอยู่ในวแวดวงพลังงาน
เพราะเนื้อหาที่เผยแพร่ออกมา เต็มไปด้วยช่องโหว่ สับสน และความย้อนแย้ง อย่างที่ระบุว่า “ควรระงับการดำเนินโครงการชีวมวลและแสงอาทิตย์ของกฟผ.ทั้งหมดเพื่อไม่ให้เกิดการลงทุนซ้ำซ้อน แย่งซื้อเชื้อเพลิงกับเอกชนที่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่แล้ว หรือควรศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของกฟผ.ว่าสูงกว่าของภาคเอกชนหรือไม่ และควรตรวจสอบค่าผ่านท่อของ ปตท.ที่เก็บจากผู้ใช้ในส่วนต่างๆ ฯลฯ”
นี่คือบทสรุปแห่งนโยบายการบริหารจัดการพลังงานของประเทศในระยะยาวกระน้ันหรือ? หากในท้ายที่สุดรัฐบาลและคณะรัฐมนตรี หลวมตัวไฟเขียวให้กับแผนปฏิรูปพลังงานสุดโต่งดังกล่าว มันจะไม่กลายเป็นการบอนไซกิจการรัฐเพื่อประเคนผลประโยชน์ไปให้กลุ่มทุนเอกชนหรอกหรือ?  
แม้แต่ในรายงานของคณะกรรมการปฏิรูปฯเอง ที่ออกมาเปิดเผยล่าสุด ก็ยังมีความย้อนแย้งให้เห็นอยู่ อย่างประเด็กในเรื่องของการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการพลังงานของประเทศ ที่ระบุจะต้องมี การปฏิรูปองค์กรด้านพลังงาน เพื่อให้มีองค์กรที่สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั้น หมายความว่าที่ผ่านมาบทบาทคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานหรือ กกพ.นั้นไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือ”ห่วยแตก” หรืออย่างไร  
หรือแม้แต่ พัฒนาศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติเพื่อให้มีฐานข้อมูลด้านพลังงานที่ทันสมัย ถูกต้อง ได้รับความเชื่อถือนั้น เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่าที่ผ่านมาข้อมูลสารสนเทศด้านพลังงาน ไม่ว่าจะมาจากสำนักงานนโยบายพลังงาน หรือ แม้แต่สถาบันปิโตรเลียมที่รมต.พลังงาน เคยดำรวตำแหน่งผผู้อำนวยการอยู่นัี้น ขาดความเป็นกลาง ข้อมูลสารสนเทศที่มีขาดความน่าเชื่อถือ?  
ทางสองแพร่ง “บรรษัทรสก.-นโยบายพลังงาน”
นอกจากนี้ ก่อนหน้านี้เมื่อปลายปี 2560 รัฐบาลโดยกะทรวงการคลังก็เพิ่งยก “ร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาการกำกับรัฐวิสาหกิจ พ.ศ….”หรือ “ร่างพรบ.บรรษัทรัฐวิสาหกิจ” ที่ถูกนำเสนอไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)ที่มีเนื้อหายกระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจให้เหมาะสมกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป  
มีหลักการที่ให้ที่การจัดตั้ง “คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.)” เพื่อกำหนดนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจอย่างมีประสิทธิภาพมีแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนารัฐวิสาหกิจให้สอดคล้องแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและยุทธศาสตร์ชาติ 
ที่สำคัญหากร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านการพิจารณาของ สนช.ยังจะมีการจัดตั้ง “บรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ” เพื่อทำหน้าที่รับโอนหุ้นรัฐวิสาหกิจทั้ง 11 แห่งมูลค่ากว่า 6 ล้านล้านบาทมาอยู่ใต้ชายคา อาทิ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน),บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน),บริษัท ขนส่ง จำกัด ,บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด,(มหาชน)บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน),บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เป็นต้น
ในเวลานั้นรัฐบาล และกระทรวงการคลังต่างดาหน้าออกมายืนยันด้วยกฎหมายฉบับนี้จะทำให้การกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจปลอดการเมืองแทรกแซงครอบงำ และยืนยันไม่ได้กรุยทางไปสู่การแปรรูปขายทิ้งกิจการรัฐ แต่มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อปฏิรูปและยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจให้มีความพร้อมในการแข่งขันเชิงพาณิชย์ โดยที่ทุกหน่วยงานทั้งกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) สภาพัฒน์และรัฐบาลเองต่างก็ขานรับกันเป็นปี่เป็นขลุ่ยว่า “นี่คือกฎหมายที่จะสร้างอนาคตให้กับรัฐวิสาหกิจอย่างแท้จริง”
แต่แนวทางการปฏิรูปนโยบายด้านพลังงานที่กำลังถูกผลักดันออกมาอย่างเป็นรูปธรรมข้างต้น กลับ“ย้อนแย้ง”สิ่งที่รัฐบาลและกระทรวงการคลังดำเนินการไปก่อนหน้า การดำเนินนโยบายที่พุ่งเป้าไปสู่การ “บอนไซ”ธุรกิจของ 2 หน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ถือเป็น “โมเดล” ที่ทุกรัฐวิสาหกิจอยากเดินตาม มันคือแผนบริหารจัดการด้านพลังงานของประเทศที่ทุกฝ่ายเพรียกหากระน้ันหรือ?
เราไม่อยากคิดว่ามี “ไอ้โม่ง” หรือกลุ่มทุนใดอยู่เบื้องหลังแผน “บอนไซ”รัฐวิสาหกิจด้านพลังงานของประเทศที่ว่านี้ แต่ด้วยพฤติกรรมแห่งความย้อนแย้งที่เห็น และผลพวงของแผนปฏิรูปด้านพลังงานดังกล่าวหากถูกขับเคลื่อนไปจนถึงขั้นประกาศใช้เป็นแผนแม่บทพลังงานของประเทศในระยะยาว ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าล้วนแต่ “เอื้อประโยชน์”ให้กลุ่มทุนพลังงานโดยตรง 
เมื่อสองหน่วยงานรัฐวิสาหกิจถูกจำกัดบทบาท ตัดแขนขา ห้ามดำเนินกิจการอันเป็นบทบาทที่ถนัดขององค์กรแล้ว ใครหรือจะได้ประโยชน์ไปเต็มๆ หากไม่ใช่กลุ่มทุนทางการเมืองหรือกลุ่มทุนผลประโยชน์ที่แอบแฝงอยู่หลังนโยบายอัปยศนี้  บอกตามตรงมันอดคิดไม่ได้จริงๆ!!!