ดร.ธนิต โสรัตน์ : มติบอร์ดไตรภาคีปรับค่าจ้าง ทำ SME ต้นทุนสูง

0
505

 

กลายเป็นแรงกระเพื่อมสะเทือนไปถึงนายจ้างภาคอุตสาหกรรมทันที    หลังจากที่ประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดไตรภาคี) ชุดที่ 19  เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2561 เคาะอัตราค่าแรงขั้นต่ำปี 2561   ในพื้นที่ 77 จังหวัด มีทั้งหมด 7 อัตรา ปรับขึ้นตั้งแต่ 8-22 บาท  (รายละเอียด ล้อมกรอบด้านล่าง )

นายจ้างภาคอุตสาหกรรม คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร. ออกโรงเปิดโต๊ะแถลงข่าวว่า    การปรับอัตราค่าจ้างครั้งนี้ว่า ส่งผลกระทบต่อต้นทุนค่าจ้างแรงงานและการผลิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภาคเกษตร บริการ และผู้ประกอบการSME ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุด  พร้อมเตรียมยื่นหนังสือให้นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพื่อพิจารณาทบทวนมติบอร์ดไตรภาคี

นายจ้างภาคอุตสาหกรรม คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร. ออกโรงเปิดโต๊ะแถลงข่าวว่า    การปรับอัตราค่าจ้างครั้งนี้ว่า ส่งผลกระทบต่อต้นทุนค่าจ้างแรงงานและการผลิตเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภาคเกษตร บริการ และผู้ประกอบการSME ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุด  พร้อมเตรียมยื่นหนังสือให้นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพื่อพิจารณาทบทวนมติบอร์ดไตรภาคี

ดร.ธนิต  โสรัตน์   รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทยและประธานกรรมการบริหารบริษัท V- SERVE  Group  เปิดเผยกับ “ LOGISTICS TIME ” ว่า  การปรับอัตราค่าจ้างดำเนินการครั้งนี้ กระทำการภายใต้คณะกรรมการค่าจ้างหรือบอร์ดไตรภาคี ซึ่งประกอบด้วยฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้างและรัฐ ฝ่าย 5 คน ที่มีนายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธานนั่งหัวโต๊ะ นอกจากนี้ ยังมีคณะกรรมการไตรภาคีระดับจังหวัดร่วมให้ข้อมูลประกอบด้วย  การทำงานของไตรภาคีจังหวัดจะนำเสนอข้อมูลให้ไตรภาคี

การพิจารณาเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อเดือนสิงหาคม 2560 ที่ผ่านมา  ขณะนั้นไตรภาคีจังหวัดเสนออัตราปรับอยู่ที่ 2 -15 บาทต่อวันและ บางจังหวัด( 10 จังหวัด )ก็ไม่ได้ปรับขึ้น  เพราะเหตุภาวะเศรษฐกิจไม่สู้ดีนัก

ขณะเดียวที่ หลักเกณฑ์พิจารณาขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำคณะกรรมการไตรภาคีจะต้องคำนึงถึงปัจจัยเรื่องเงินเฟ้อประกอบด้วย   ปีนี้เงินเฟ้ออยู่ที่ 1.6 %  เพราะฉะนั้น  การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่เกิน 5 บาท สำหรับในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล   อย่างไรก็ตาม หลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นแนวทางการพิจารณาปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ส่วนจะเคาะตัวเลขออกมาเท่าไหร่ ทุกอย่างควรเป็นไปตามกติกา ซึ่งเป็นกฎหมายใช้บังคับทั่วประเทศ     

“ ทั้งนี้  ผลการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2561 ที่ผ่านมา กลับกลายเป็นว่า  ที่ประชุมบอร์ดไตรภาคี ไม่ได้ใช้หลักเกณฑ์ คือไม่นำผลการพิจารณาของคณะกรรมการไตรภาคีจังหวัด  หลักเกณฑ์เรื่องภาวะเงินเฟ้อ ค่าครองชีพ ประกอบการพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างครั้งนี้แต่ประการใด   มองดูก็อดประหลาดใจไม่ได้  ดูเหมือนจะเพี้ยนๆไป  อนาคตอาจจะก่อเกิดความไม่แน่นอนสูง ”ดร.ธนิตกล่าว

 กลุ่มSME สินค้าแปรรูป เกษตร ยางพารา  ต้นทุนขยับสูง

อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบกับการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกับครั้งที่ผ่านมา หรือการปรับอัตราค่าจ้างประจำปี 2560  แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง  การปรับครั้งนั้นทำการอิงกับค่าครองชีพ และมีบางจังหวัด( 8 จังหวัด) ก็ไม่มีการปรับขึ้นกลับคงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำอยู่ที่ 300 บาทต่อวันต่อไป  แต่การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำครั้งนี้บางจังหวัดก็ไม่น่าจะปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ   แต่พิจารณาก็ปรับขึ้นอย่างเช่น กลุ่ม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้  มีมติปรับขึ้น 20 บาท

“ความเห็นส่วนตัว 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ควรปรับ   เนื่องจากยังมีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้น นักลงทุนที่ไหนจะไปลงทุน  และเท่ากับจะทำให้ฝ่ายผู้ก่อการร้าย  หรือผู้ไม่ปรารถนาดีต่อชาติบ้านเมืองหยิบยกปัญหาเศรษฐกิจกดดันเจ้าหน้าที่ของรัฐได้  การปรับอัตราค่าจ้างยิ่งทำให้ต้นทุนผู้ประกอบการสูง ต้นทุนค่าขนส่งก็สูงอยู่แล้ว  ดังนั้น จึงไม่ค่อยมีนักลงทุนคิดนำเงินไปลงทุนในพื้นที่  3 จังหวัดชายแดนภาคใต้”

ดร.ธนิต กล่าวว่า ส่วนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำครั้งนี้ ซึ่งก็มีมติออกมาแล้วเท่ากับเป็นกฎหมายใช้บังคับทั่วประเทศ 77 จังหวัด แต่ผลกระทบโดยรวม กลุ่มอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับยอดขาย เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมต้นน้ำธุรกิจเกี่ยวกับเหล็ก กระดาษ รถยนต์ กลุ่มเหล่านี้จะไม่ได้รับผลกระทบ    หากแต่กลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ กลุ่มอุตสาหกรรม SME  เนื่องจากจำเป็นต้องใช้แรงงานเป็นจำนวน  แต่การผลิตสินค้าแต่ละชิ้นกลับมีสนนราคาขายต่ำ

ตัวอย่าง เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าแปรรูปสินค้าเกษตร กลุ่มส่งออกอาหารแช่งแข็ง กลุ่มผลิตผลไม้บรรจุกระป๋อง  กลุ่มรับจ้างผลิตรองเท้ากีฬา ยี่ห้อดังๆ กลุ่มสินค้าส่งอออกประเภทการ์เม้นต์ สิ่งทอ  กลุ่มชาวสวนทำการเกษตร ส่งออกยางพารา น้ำตาล  มันสำปะหลัง   กลุ่มต่างๆเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ได้รับผลกระทบทั่วหน้า  เพราะส่งผลทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น

ขณะเดียวกัน ในส่วนของกลุ่มอุตสาหกรรม SME อีกกลุ่ม  ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจจะได้รับผลกระทบไม่มากนัก  เช่น กลุ่มผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ส่งออก  เพราะว่าใช้แรงงานไม่มากต่างจากกลุ่มอุตสาหกรรม SME ที่มีคนแรงตั้งแต่ 200 คนขึ้นไป  เช่นที่มีโรงงานอุตสาหกรรม จ.พระนครศรีอยุธยา ค่าแรงงานเฉลี่ยปีละ 1.2 ล้านบาท   หากเป็นผู้ประกอบการธุรกิจที่กำลังปริ่มๆ น้ำ หรือเรียกว่า กำไรนิดเดียวไปถึงขั้นจะขาดทุน กลุ่มผู้ประกอบการเหล่านี้จะประสบปัญหาความเดือนร้อนทันที  และเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีจำนวนมาก

การปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำครั้งนี้มองอีกด้านหนึ่งอาจจะกลายไปเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมบางกลุ่มธุรกิจ   แม้จะปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแล้วแต่ยังมีกำไร  และรัฐยังลดหยอดภาษีให้อีก  ส่วนตัวมองว่าเมื่อบริษัทมีกำไรก็ควรเก็บภาษีเต็มที

ปัจจุบันอัตราค่าจ้างของเราแตกต่างกับประเทศเพื่อนบ้านค่อนข้างมาก ในอาเซียนประเทศไทยยืนอยู่ในระดับเดียวกับประเทศมาเลเซีย  แต่ไม่นับรวมกับประเทศสิงคโปร์ และบรูไน  ซึ่งเศรษฐกิจไทยยังต้องแข่งขันกับประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย ขณะที่อัตราค่าจ้างไทยแตกต่าง 2 เท่า(อัตราใหม่) เทียมกับเวียดนาม กัมพูชา  เทียมกับอินโดนีเซีย 1.6 เท่า เทียมกับ เมียมมาร์ 2.8 เท่า  คำถามคือ ประเทศเพื่อนบ้านที่พูดถึงไทยเรายังต้องแข่งขันทางธุรกิจ    แต่ในเมื่อดูอัตราค่าจ้างกลับกลายเป็นว่าไทยมีอัตราค่าจ้างกลายเป็นแพงกว่า  ดังนั้น อนาคตจะมีปัญหาอะไรหรือไม่ ทางแก้อาจจะก็ต้องไปพิจารณาทบทวนใหม่หรือไม่ อย่างไร

 ค่าจ้างไม่เท่ากันก่อประโยชน์อุตฯขยายได้ดี    

ดร.ธนิต กล่าวต่ออีกว่า   ส่วนหลักเกณฑ์การปรับอัตราขั้นต่ำผลปรากฏชัดเจนว่า  ปรับไม่เท่ากับ เป็นสิ่งที่ดีมากเห็นด้วยและขอขอบคุณ รัฐบาลที่รับเข้าใจเรื่องนี้   เพราะเศรษฐกิจประเทศต้องกระจายไม่ใช่กระจุกตัว  ผู้ประกอบการภาคเอกชนพูดย้ำต่อเนื่องมาตลอด  แม้ยังฝ่ายลูกจ้าง(บางกลุ่ม)จะยังออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องขอให้รัฐบาลทบทวน  เพราะไม่เห็นด้วยปรับอัตราค่าจ้างไม่เท่ากันก็ตาม  แต่ในหลักการจะยุติของที่ประชุมไตรภาคี   ซึ่งมีปลัดกระทรวงแรงงานนั่งหัวโต๊ะคณะกรรมการค้าจ้างหรือไตรภาคี

กลุ่มลูกจ้างที่ออกเรียกร้องให้ทบทวนมติไตรภาคี  โดยอ้างเหตุผลใดๆก็ตามไม่อาจกระทำการได้  บ้านเมืองมีกฎกติกา และกลุ่มนี้ไม่ได้อยู่กลุ่มไตรภาคี  นโยบายรัฐบาลเป็นอย่างไรจะสั่งการผ่านปลัดกระทรวงแรงงาน หลังจากนี้จะนำเรื่องการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเข้าสู่ ครม.พิจารณาเป็นวาระ”แจ้งเพื่อทราบ ก็เสร็จสิ้นขั้นตอนสามารถใช้เป็นกฎหมายมีผลบังคับสมบูรณ์ใช้บังคับทั่วประเทศ

ย้อนกลับมากรณีอัตราค่าจ้างไม่เท่ากันหรือเท่ากัน    หากเปรียบเทียบต่างประเทศในโลกอย่าง  เช่น ประเทศญี่ปุ่น เมืองโกเบ โอซาก้า ประเทศจีน เมืองโฉ่งชิ่ง เซียงไฮ้ ปักกิ่ง รวมถึง กัมพูชา  เหล่านี้อัตราค่าจ้างจะไม่เท่ากันในแต่ละเมือง   เพราะปัจจัยเศรษฐกิจแต่ในเมืองแตกต่างกัน  และคำตอบการกำหนดอัตราค่าจ้างก็ไม่เท่ากัน เพราะต้องการอุตสาหกรรมขยายตัวออกไป

“ค่าจ้างเท่ากัน”ไม่ตอบโจทย์ลดความเลี่ยมล้ำ

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา บ้านเราเคยมีอัตราค่าจ้างเท่ากัน  ซึ่งเชื่อว่าส่งผลทำให้เกิดช่องว่าง เช่น จังหวัดระยอง ฉะเซิงเทรา ชลบุรี ซึ่งจัดเป็นเมืองอุตสาหกรรมระดับ Top Ten ของประเทศ    แต่ทางภาคอีสานเช่น  จ.กาฬสินธุ์  ร้อยเอ็ด เป็นจังหวัดค่อนข้างยากจนไม่มีอุตสาหกรรม สมัยอดีตเคยดำรงตำแหน่งรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) ทราบดีว่า  ต่างจังหวัดแทบจะไม่มีอุตสาหกรรมเกิดขึ้น    ดังนั้น  การเรียกร้องอยากให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากัน จึงไม่ใช่เรื่องลดความเหลี่ยมล้ำทางรายได้    แต่ผลคือการลงทุนผู้ประกอบการธุรกิจได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะด้านโลจิสติกส์  ต้นทุนค่าขนส่งสินค้า เมื่อมีรถบรรทุกสินค้าจากท่าเรือแหลมฉบังก็ต้องลากรถกลับไป

“ การเรียกร้องทำให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากับทั่วประเทศของฝ่ายลูกจ้างบางกลุ่มนั้นจะไม่ก่อให้เกิดการกระจายรายได้   ซึ่งเป็นเหมือนกับในอดีตเกิดขึ้นแล้ว   แรงงานส่วนมากกระจุตัวในกรุงเทพฯและเมืองอุตสาหกรรมเท่านั้น ”

สำหรับข้อเรียกร้องอัตราจ้างขั้นต่ำที่ต้องปรับให้สูงให้สามารถเลี้ยงคนได้ 3 คน เป็นเรื่องที่เข้าใจผิด อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นค่าแรงแรกเข้า เมื่อทำงานต่อไปค่าแรงจะได้ปรับเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว  ถ้าไม่ได้ปรับขึ้นลูกจ้างก็ลาออก  ขณะนี้ผู้ประกอบการธุรกิจบ้านเราต้องการแรงงานมาก

ข้อสรุปอัตรา ค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี 2561

อัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2561 มีทั้งหมด 7 อัตรา คือ ตั้งแต่ 8-22 บาทโดยมี 3 จังหวัด ได้ขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 330 บาท/วัน ได้แก่ ภูเก็ต ชลบุรี ระยอง และมี 7 จังหวัด ได้ขึ้น เป็น 325 บาท ได้แก่ กรุงเทพฯ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และฉะเชิงเทรา

จังหวัดที่ได้เพิ่มเป็น 320 บาท มี 14 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี สุพรรณบุรี สระบุรี อยุธยา หนองคาย ลพบุรี ตราด ขอนแก่น สงขลา สุราษฎร์ธานี กระบี่ เชียงใหม่ นครราชสีมา และพังงา

จังหวัดที่ได้ขึ้นเป็น 318 บาท มี 7 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี สมุทรสงคราม สกลนคร มุกดาหาร นครนายก กาฬสินธุ์ และปราจีนบุรี

ส่วนจังหวัดที่ได้ขึ้นเป็น 315 บาท มี 21 จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด ประจวบคีรีขันธ์ นครสวรรค์ สระแก้ว พัทลุง อุตรดิตถ์ อุดรธานี นครพนม บุรีรัมย์ สุรินทร์ เพชรบุรี พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ชัยนาท เลย ยโสธร พะเยา บึงกาฬ น่าน กาญจนบุรี และอ่างทอง

จังหวัดที่ได้ขึ้นเป็น 310 บาท มี 22 จังหวัด ได้แก่ สิงห์บุรี นครศรีธรรมราช ตรัง แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน เชียงราย สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร อุทัยธานี ศรีสะเกษ ตาก ชัยภูมิ อำนาจเจริญ แพร่ ราชบุรี ระนอง มหาสารคาม ชุมพร หนองบัวลำภู และสตูล

ขณะที่ จังหวัดที่ได้ขึ้นเป็น 308 บาท  ได้แก่ นราธิวาส ยะลา และปัตตานี ซึ่งจะให้ผลบังคับใช้วันที่ 1 เมษายน 2561