วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 2, 2024

ตัดเกรดรัฐลงทุนเร่งด่วนด้านคมนาคมปี 60 (แค่)สอบผ่าน…ลุ้นตัวโก่งล้างท่อปี 61

หลังฉายหนังตัวอย่างเรียกเรทติ้งทันทีเปิดม่านฟ้าปีศักราชใหม่ 2560 เกี่ยวกับกับลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งระยะเร่งด่วนปี 2560 (Action Plan) ปูพรมลงทุนอย่างทะลุทะลวงรวม 36 โครงการครอบคลุมทั้งระบบราง บก น้ำ และอากาศ วงเงินเฉียด 9 แสนล้านบาท หวังเสกปีไก่ให้เป็นปีไก่ทองสนองเดชด้านการก่อสร้าง ตลอดถึงการขยายอานิสงส์ให้ห่วงโซ่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องอื่นๆได้พึ่งพาใบบุญ พอหนังฉายจริงใกล้จะจบเรื่องกลับทำเอาคอหนังบู๊แอคชั่นผิดหวังไปตามๆกัน พร้อมกับถูกตั้งคำถามแทงใจดำรัฐบาลเข้าเต็มเปาว่าไหนบอกจะปูพรมลงทุนสุดลิ่มทิ่มประตูตามแบบฉบับ “เร็ว แรง ทะลุนรก” แต่เอาเข้าจริงแล้วเมกะโปรเจ็กต์ที่รัฐบาลยกให้เป็น “พระเอก”ในเรื่องกลับแสดงไม่สมบทบาทให้สมจริงสมจัง หรือแม้แต่เมกะโปรเจ็กต์ในระดับ...

ภาษี e-Commerce ทางออกของปัญหาการค้าออนไลน์ จริงหรือ..?

การขายของออนไลน์ หรือ e-Commerce เป็นช่องทางการขายที่มีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน โดยสามารถทำได้ง่าย เปิดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ที่สำคัญยังสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้รวมเร็วและในปริมาณที่มากอีกด้วย ผนวกกับยังมีระบบการชำระเงินแบบ e-Payment ที่สะดวกทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ ซึ่งเมื่อดูมูลค่าของการทำธุรกรรมของธุรกิจออนไลน์ จะเห็นได้ว่ามีมูลค่าการค้าขายที่สูงถึงหลักหลายล้านบาทเลยทีเดียว จากเหตุปัจจัยดังกล่าวจึงทำให้ภาครัฐออกมาตรการในการจัดเก็บภาษีอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อไม่ให้เกิดช่องโหว่ในการขายของที่ผิดกฎหมาย จึงทำให้ทางกรมสรรพากรได้จัดทำกฎหมายภาษีธุรกิจออนไลน์ (e-Commerce) ยื่นเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อทำให้การค้าขายออนไลน์เข้ามาสู่ระบบ และตรวจสอบได้มากขึ้น ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ ตลาดดอทคอม (Tarad.com) และนายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย สะท้อนมุมมองเรื่องของการจัดเก็บภาษี...

หลังจากที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ได้มีมติเห็นชอบรับหลักการพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. … ซึ่งจะนำมาบังคับใช้แทนพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 ตามที่กระทรวงการคลังได้มีการเสนอมา โดยทางคณะกรรมการวิสามัญจะพิจารณาทบทวนรายมาตราอีกครั้ง แต่เมื่อมาพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่นี้ ยังมีปัญหาคลุมเครือไม่ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่รัฐจะออกกฎหมายจัดเก็บภาษีประเภทใดประเภทหนึ่ง ควรศึกษาและสำรวจผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึง ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้ทางมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้จัดทำการศึกษาวิจัยตามโครงการศึกษาประเด็นกฎหมายและการประเมินผลกระทบของร่าง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีต่อประชาชนขึ้น...

ถึงเวลาวัด KPI ผู้ให้บริการขนส่งทางราง…?

ตามแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565 ที่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งการให้เร่งรัดดำเนินการเพื่อผลักดันประเทศไทยสู่การเป็น “ไทยแลนด์ 4.0”  ขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ประเทศก้าวข้ามกับดักของประเทศรายได้ปานกลางหรือ Middle Income Trap นอกจากจะพัฒนาในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานแล้ว รัฐบาลยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ที่เป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญที่จะส่งเสริมการค้าการลงทุน อีกทั้งยังช่วยทำให้เศรษฐกิจของประเทศมีการปรับตัวที่ดีขึ้นอีกด้วย ดร. สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI ) ได้กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการเมกะโปรเจ็กต์ขนาดใหญ่ ภายใต้แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทยว่า ถือได้ว่ามีความคืบหน้าเป็นไปตามแผนที่ทางรัฐบาลได้วางกรอบไว้ อยู่ในระดับที่น่าพอใจ โดยโครงการพื้นฐานทางด้านคมนาคม หากจะแยกออกมาให้ชัดเจนก็สามารถแบ่งได้เป็น รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง รถไฟฟ้าในเขตเมือง และมอเตอร์เวย์ 2 สายทางได้แก่ เส้นทางบางประอิน-นครราชสีมา...

ส่องเส้นทางค่ายรถใหญ่“ญี่ปุ่น-จีน-ยุโรป”ผ่านมุมมอง “ประมุขสิบล้ออาเซียน”

  บนเส้นทางสายรถบรรทุกในไทยมีหลากหลายค่ายจากหลากหลายสายพันธุ์เปิดศึกกลยุทธ์การตลาดหวังแบ่งเค้กก้อนโตในไทยดุเดือดต่อเนื่องทุกปี ยิ่งตลาดเพิ่มผู้เล่นมากขึ้นเท่าไหร่ก็ยิ่งเพิ่มอุณหภูมิการปล่อยกลยุทธ์การตลาดแข่งขันดุเดือดเข้มข้นจากบรรดาค่ายรถใหญ่มากขึ้นเท่านั้น ทั้งการเปิดตัวรถรุ่นใหม่ที่มาพร้อมกับสมรรถนะอันยอดเยี่ยม เปี่ยมด้วยเทคโนโลยีสุดล้ำ ชูธงประหยัดเชื้อเพลิงเป็นเลิศ ช่วงชิงความโดดเด่นด้านความคุ้มค่าการลงทุนในราคาสบายกระเป๋า รวมถึงการโชว์จุดแข็งด้านบริการหลังการขาย ทั้งนี้ เพื่อกรุยทางสู่เป้าหมาย “ดูดพลังซื้อ”จากผู้ประกอบขนส่งเมืองไทยสุดลิ่มทิ่มประตู! แต่ทว่า บนเส้นทางสายรถบรรทุกภายใต้กลยุทธ์การตลาดของทุกค่ายทุกสายพันธุ์นั้น ย่อมมีความเหมือนและแตกต่างกันไปตามครรลองและอัตลักษณ์ของแต่ละยี่ห้อท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในแต่ยุคแต่ละสมัย  Logistics Time  ถือโอกาสส่องเส้นทางค่ายรถใหญ่ทั้งสายพันธุ์“ญี่ปุ่น-จีน-ยุโรป”ว่าค่ายไหนสายพันธุ์อะไรจะ “รุ่งหรือร่วง?” ผ่านมุมมองสุดเอ็กซ์คลูซีพของประมุขสิบล้ออาเซียนอย่าง “คุณยู เจียรยืนยงพงศ์” ประธานสหพันธ์การขนส่งทางรถบรรทุกแห่งอาเซียน (ATF) อีกหนึ่ง “กูรู” สิงห์รถบรรทุกเมืองไทย ดังนี้ ค่ายรถจีนจ่อถึง...

ตลาดน้ำมันเครื่องรถใหญ่ แข่งดุ!! เน้น “เทคโนโลยีสมัยใหม่” ชิงเค้กก้อนโต

               สถานการณ์การใช้น้ำมันหล่อลื่น ในภาคขนส่ง โดยเฉพาะในส่วนของรถบรรทุกขนาดใหญ่ จะเห็นได้ว่าสัดส่วนการใช้งานมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยเฉพาะในปี 2560 สืบเนื่องมาจากการเปิดการค้าเสรีอาเซียน รวมไปถึงการเชื่อมโยงทางด้านการตลาดและการลงทุนไปยังกลุ่มประเทศ CLMV อันได้แก่  กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม ซึ่งเป็นแหล่งลงทุนที่สำคัญของผู้ประกอบการไทย ที่เชื่อมต่อกับไทยทางบกและเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจไทย    ...

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล กับระเบียงเศรษฐกิจ EEC “รัฐต้องตีโจทย์ให้แตก!”

“โจทย์วันนี้รัฐต้องการรักษาฐานนักลงทุนเดิม ก็ต้องต่อบีโอไอให้เขา หรือหากต้องการกระจายความเจริญไปยังภูมิภาค  ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก EEC ก็อาจไม่ใช่คำตอบเพราะมันกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่เดิมที่อิ่มตัวแล้ว” ขณะที่ถนนทุกสายต่างเฝ้ารอโครงการลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ของภาครัฐ ที่น่าจะถือเป็นความหวังเดียวของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยยามนี้ หลังเครื่องยนต์ขับเคลื่อนอื่นๆไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภาคการส่งออก(Export) การลงทุนของภาคเอกชน(Investment)และการจับจ่ายใช้สอยของภาคประชาชน (Consummation)  รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผลักดันการลงทุนขนาดใหญ่ใน “โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก” (Eastern Economics Corridor Development-EEC) ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบร่างพ.ร.บ.พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. … ครอบคลุมพื้นที่ จ.ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ที่เรียกย่อๆ ว่า “พ.ร.บ.อีอีซี.” เพื่อให้เกิดการลงทุนรอบใหม่ในภาคตะวันออกที่คณะกรรมการกฤษฎีกาอยู่ระหว่างปรับปรุงร่างกฎหมาย และคาดว่าจะเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในเดือนมิถุนายนนี้ ระหว่างที่ยังคงรอกฎหมายดังกล่าวอยู่ รัฐบาล...

ยุทธศาสตร์โลจิสติกส์ไทย เน้นขนส่งสินค้ามากกว่าคน

ในปัจจุบันระบบการขนส่งหรือระบบโลจิสติกส์ มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการ รวมไปถึงยังมีความสำคัญต่อกี่พัฒนาประเทศเป็นอย่างยิ่ง ประเทศไทยเองก็ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบโลจิสติกส์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการพัฒนาเพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ ยิ่งทำให้ประเทศไทยต้องเร่งพัฒนาระบบโลจิสติกส์ให้สามารถเชื่อมโยงทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน  ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ภาครัฐ ได้มีการกำหนดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ เพื่อใช้เป็นแม่แบบในการพัฒนาศักยภาพระบบโลจิสติกส์ของไทยให้มีความก้าวหน้าทันอารยะประเทศ พร้อมรองรับนโยบาย Thailand 4.0 รศ. (พิเศษ) ดร.จักรกฤษณ์ ดวงพัสตรา ผู้อำนวยการสถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายถึงภาพรวมของการพัฒนาระบบโลจิสตกิส์ของประเทศไทยในอนาคต ให้ Logistics time ฟังว่า เมื่อเอ่ยถึงการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ คงต้องไปดูในส่วนของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์...

DHL แหกกฎ ‘รูปแบบเดิมๆ’ ชูธง “ส่งถึงที่” สยายปีกรับอีคอมเมิร์ซบูม!

นับวันพฤติกรรมผู้บริโภคยิ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วหลัง Digital Disruption เข้ามามีอิทธิพลต่อวิถีชีวิต เป็นอานิสงส์เบิกทางให้ “ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ”ในไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดด เห็นได้ชัดจากผลการสำรวจมูลค่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซในไทยของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) พบว่านับตั้งแต่ปี 56 เป็นต้นมา มูลค่าอีคอมเมิร์ซในไทยมีมูลค่าสูงต่อเนื่อง และปี 59 พุ่งกระฉุดกว่า 12 % มูลค่ารวมสูงกว่า 5 หมื่นล้านบาท ยิ่งเมื่อมัดรวมกับการเติบโตของ SMEs ที่ปัจจุบันมีมากถึง 2.7 ล้านผู้ประกอบการ...

เกาะติดตลาดรถบรรทุกปี 60 หวังอานิสงส์ลงทุนรัฐ

 จากสภาวะเศรษฐกิจของไทยในช่วงปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่ามีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้น สืบเนื่องมาจากการการใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นมาตรการเร่งรัดเบิกจ่ายการลงทุนขนาดเล็ก รวมไปถึงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ที่เริ่มเห็นภาพเป็นรูปธรรมมากขึ้น ส่งผลให้ค่ายรถใหญ่ต่างได้รับอานิสงค์จากมาตรการดังกล่าว สามารถเพิ่มยอดขายมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา                                ...